กฏทอง 3 ข้อ 'Wazzadu.com'

กฏทอง 3 ข้อ 'Wazzadu.com'

สตาร์ทอัพไดนามิค จะแบบ Routine Workไม่ได้ มีคนเคยพูดถึงซิลิคอนวัลเลย์ว่าไม่เคนมีวันไหนเลยไฟดับ เพราะเขาทำงาน เขาแข่งกันโต

    หลายคนนิยามว่าสตาร์ทอัพที่ดีต้องเริ่มต้นที่ Pain Point และหากไขปัญหาทุกอย่างได้สำเร็จย่อมหมายถึง การปฏิวัติความคิดและธุรกิจแบบเดิมๆลงอย่างราบคาบ
    ซึ่งในวันนี้ บารามีซี่ สามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้วงการวัสดุและตกแต่งบ้าน พร้อมประกาศว่า Wazzadu.com (วัซซาดุดอทคอม)  ก็คือ "Decorative Social Platform" ที่รวมสินค้าวัสดุและสินค้าตกแต่งบ้านที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ขายและผู้ซื้อในยุคดิจิทัล และเชื่อว่ามีความสมบูรณ์แบบที่สุดในเมืองไทยและในเออีซีเลยด้วยซ้ำ
    เชื่อหรือไม่ว่า Wazzadu.com เกิดขึ้นง่ายๆ "จุลเกียรติ (หวก) สินชัยชูเกียรติ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บารามีซี่ กรุ๊ป บอกว่า น่าจะราวๆ 5 ทุ่มของคืนวันหนึ่งเมื่อสองปีที่ผ่านมา  สืบเนื่องจากที่เขาและผองเพื่อนชาวสถาปนิกนั่งถกกันถึงปัญหา"ทำไมไม่มีวัสดุที่สามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่" ซึ่งได้พบเจอในการทำงานอยู่เป็นประจำ
    "เวลานำเสนองานทางด้านสถาปัตย์ให้กับลูกค้าเขาอาจอยากได้ไม้สีแบบหนึ่ง แต่ปรากฏว่าไม้ที่สถาปนิกไปเสนอมีเฉดไม้ที่เข้มกว่า ลูกค้าก็จะบอกว่ามีอย่างอื่นให้ดูไหม ก็ต้องมีโบรชัวร์ไปด้วยบางทีถ้าไม่มีก็ต้องโทรไปหาเซลล์อีก กว่าจะได้ต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ เริ่มต้นเราทำ Wassadu app เวอร์ชั่น 1.0 เพื่อรวบรวมวัสดุ แต่ทำไปทำมามันซัคเซส  และกลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพเฉยเลย"
    แน่นอนว่าความสำเร็จไม่ได้เกิดจากโชคช่วยแต่เป็นเพราะ Wassadu app ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมที่ปฏิวัติการค้นหาสินค้าวัสดุและตกแต่งสำหรับมือโปร และช่วยปิดแก็บปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง ทำให้มีการดาวน์โหลดแอพฯถึงกว่า 50,000 ครั้ง รวมถึงความสำเร็จของแฟนเพจ Wazzadu ที่มีผู้กดไลค์กว่า 270,000 คน บารามีซี่จึงสบช่องทำการพัฒนาต่อยอดเป็นเว็บไซต์ Wazzadu.com (เวอรชั่น 2.0)
    "ในแพลตฟอร์มนี้เป็นทั้งบีทูบีและบีทูซี และต้องบอกว่ากว่าจะทำขึ้นมาเรามีการรีเสิร์ซหนักมาก ซึ่งบารามีซี่มีแผนกวิจัยเป็นของตัวเอง และได้วิจัยอุตสาหกรรมทั้งหมดว่ามันขาดอะไร ดังนั้นไม่ว่าสถาปนิกอยากหาวัสดุอะไร ยูสเซอร์อยากหาไอเดียตกแต่งบ้าน หรือยากได้โซฟา อยากได้กระเบื้องซื้อได้ที่ไหน ในแพลตฟอร์มนี้มีให้ทั้งหมด โดยเราจะเริ่มจากภาพสวยๆจากนั้นก็ลิงค์ไปหาช่าง ไปหาผู้ผลิต สุดท้ายก็ปิดการขายกันได้ ซึ่งมันเอื้อให้ธุรกิจรายย่อยสามารถลืมตาอ้าปากได้"
    สรุปย่อๆ แพลตฟอร์มนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่ช่วยผู้ใช้งานสามารถต่อยอดจินตนาการจากไอเดียสู่การสร้างได้จริงบนจุดยืนว่า Make It Real
    คงมีสตาร์ทอัพเพียงแค่หยิบมือ ที่พอคิดทำอะไรแล้วปัง หรือโดน ทันทีทันใด ถามว่าความสำเร็จที่รวดเร็วปานสายฟ้าเกิดจากองค์ประกอบใดบ้าง ได้รับคำอธิบายว่า ก่อนอื่นต้องจำแนกความต่างระหว่างเอสเอ็มอีกับสตาร์ทอัพ ที่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กเหมือนกันแต่ที่มันไม่เหมือนกันมีอยู่ 2 เรื่อง หนึ่ง ที่มาและเป้าหมาย เอสเอ็มอีส่วนใหญ่อาจมีแพชชั่นไม่มากพอส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ให้ธุรกิจทำ แต่จากข้างต้นที่บอกไว้ว่าสตาร์ทอัพเกิดจากPain Point เริ่มต้นที่ปัญหาแล้วหาทางแก้ไขโดยอาศัยเทคโนโลยีและสองเป็นเรื่องเป้าหมาย ที่เอสเอ็มอีมักมองตัวเองเป็นใหญ่ ธุรกิจต้องกำไร ธุรกิจต้องโต ขณะที่เป้าหมายของสตาร์ทอัพนั้นยิ่งใหญ่ต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิต วิถีโลกไปจากเดิม  
    "สตาร์ทอัพจะสำเร็จหรือไม่วิธีคิดต้องถูกตั้งแต่แรก อีกทั้งธุรกิจที่ทำต้องมีอุปสงค์ขนาดใหญ่ และสอง Scalable สามารถขยายไปต่างประเทศได้ ถ้าธุรกิจรีเทลหากอยากขยายยอดขายจำเป็นต้องเปิดสาขาเพิ่ม แต่นี่ไม่ต้องเลย ยกตัวอย่างไลน์เขาก็มีเซ็นเตอร์กลางที่เดียว แต่ถ้าจะขยายตลาดก็แค่การตลาดอย่างเดียวในประเทศนั้นๆ และสาม ต้องแก้ปัญหาได้ ถ้ามีสามองค์ประกอบส่วนใหญ่มักมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ต้องตั้งไข่ให้ดีตั้งแต่แรก ติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก"
    เขาบอกว่าธุรกิจในช่วงเริ่มต้น Wazzaduอาจจำกัดกลุ่มเป้าหมายแคบๆ เพียงแค่กลุ่มสถาปนิกเท่านั้น แต่ตอนนี้ก็ได้เปิดกว้างให้กับยูสเซอร์ทั่วไป แม้แต่เจ้าของร้านที่ขายที่เจเจหรือตลาดนัดจตุจักรก็มายังมาเปิดเพจขายสินค้าได้ฟรี  
    " หลักคิดของเราก็คือ ให้ทุกคนเปิดเพจส่วนตัว เปิดร้านค้าฟรี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ Commercial ก็ต้องเสียตังค์ เช่นจะ Boost Post หรือจ้างให้เราทำcontent วิธีการจำลองรายได้ของเราก็มาจากเฟสบุ๊ค คือเป็นค่ามีเดียที่มันเป็นเหมือนเครื่องมือการตลาดให้บริษัทใหญ่ๆ หรือเอสเอ็มอีย่อยๆ  ก็ทำได้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นแค่รายได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น  แต่ในอนาคตเราก็จะทำแบบอาลีบาบาด้วยคือมี Transaction Fee เวลาที่มีการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มซึ่งถือว่าต่ำมากเทียบกับจีพีที่เอาไปฝากขายกับรีเทล"
    เมื่อให้นึกย้อนมองถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างทางที่เดินมา  แน่นอนตราบใดที่เป็นของใหม่ ที่คนยังไม่เคยชินก็ย่อมมีความยาก เฟสบุ๊คเองก็หนีไม่พ้นในระยะแรกก็ต้องเจอปัญหาเดียวกัน ที่คนไม่มาเปิดเพจ ไม่มีการแชร์  เหตุผลก็คือไม่รู้จะว่ามีประโยชน์อะไร  
    "เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นเรื่องธรรมชาติ  อุปสรรคที่สตาร์ทอัพต้องพบเจอแทบทุกรายก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมคน สถาปนิกหรือยูสเซอร์ที่เคยไปเดินช้อบในรีเทล หรืออยากได้แจกันใบหนึ่งก็ไปเดินจตุจักร แต่เราเปลี่ยนให้เขามาใช้แพลตฟอร์มของเรา ซึ่งมันหมายถึงเราต้องให้ความรู้เขา มีการทำมาร์เก็ตติ้งอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คนรู้สึกและรับรู้ว่า อ๋อ เดี๋ยวนี้มันมีแบบนี้ ยังไม่พอต้องมีการสัมมนา เดินสายบรรยายเพื่อให้คนเข้าใจการใช้งาน ต้องทำคลิปวิดีโอ ทำสื่อสารเยอะมาก"
    แต่พอเดินมาสักระยะหนึ่งธุรกิจจะพบจุดตัดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้แพลตฟอร์มเขามีความสำเร็จในการใช้งาน  เช่น ขายของได้ จากนั้นพวกเขายินดีที่จะเข้ามาใช้เองโดยที่ไม่ต้องมีการ "ยัดเยียด"  และก็จะมีการบอกต่อเพื่อนให้ลองใช้เพราะว่ามันเวิร์ค กระทั่งกลายเป็นกระแสบอกต่อ
    และหากมองถึงความท้าทายในเวลานี้ เขาบอกว่าเป็นการแข่งขันกับตัวเอง แข่งกับเคพีไอที่ได้ตั้งเอาไว้ แล้วต้องทำอย่างไร
    "ต้องขอบคุณน้องๆในทีม  ซึ่งมาพร้อมกับ Passion สำคัญคือพวกเขาสนุกกับการทำงาน ผมเองจะบอกพวกเขาเสมอว่าเคพีไอเป็นแค่เครื่องมือให้ทำงานอย่างมีทิศทาง  สตาร์ทอัพจะทำงานแบบ Routine Workไม่ได้เพราะมันไดนามิคมาก   ทุกคนต้องรับเงื่อนไขตรงนี้ได้ ต้องมองว่าชีวิตฉันเก๋ ฉันต้องสร้างประวัติศาสตร์อะไรใหม่ๆ มีคนเคยพูดถึงซิลิคอนวัลเลย์ซึ่ง กูเกิล เฟสบุ๊ค และแอปเปิลก็เกิดที่นั่น ว่าไม่มีวันไหนที่ซิลิคอนวัลเลย์ไฟดับ คือทำงานกันทั้งวันทั้งคืนเขาแข่งกันโต"
    สเต็ปต่อไปเป็นอย่างไร จุลเกียรติบอกว่าWazzadu.com ผ่านก้าวที่หนึ่งมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นก้าวที่สอง ซึ่งหมายถึงการเป็นเครื่องมือการตลาดสมัยใหม่ของวงการ ที่ยูสเซอร์ก็สามารถเข้ามาไอเดีย หาของแต่งบ้าน เปิดโพรไฟล์ด้วยตัวเองได้ ธุรกิจรายย่อยเองก็เข้ามาค้าขายตรงนี้ได้  ส่วนก้าวที่สาม คือการก้าวสู่ระดับอินเตอร์ เริ่มจากขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม เมียนมาร์  แล้วขยับสู่จากนั้นก็ไปสู่ภูมิภาค จากนั้นก็ข้ามไปยังโลกอีกฝั่งเช่น ประเทศอเมริกา และทั้งหมดจะอยู่ภายในกรอบเวลาสามปีนับจากนี้

ทีมแกร่งแข่งได้
    ความโดดเด่นของสตาร์ทอัพอีกหนึ่งข้อ ก็คือ ความสำเร็จนั้นเกิดจากทีมเวิร์ค ไม่ใช่เกิดจาก Founderหรือ CEO เพียงลำพัง
    "กลไกของเรา ก็คือความเข้าใจยูสเซอร์ควบคู่ไปพร้อมๆกับเทคโนโลยี  ซึ่งส่วนใหญ่โปรแกรมเมอร์ก็อาจมองในมุมของตัวเองไม่ได้มองในมุมยูสเซอร์ ขณะที่ทีมของเราจะพยายามบาลานซ์ ทีมก่อตั้งของเราจะมีความรู้ทั้งสองเรื่อง คนหนึ่งอาจอิงไปทงฝั่งยูสเซอร์มากๆ อีกคนอาจอิงกับฝั่งเทคโนโลยีมากๆ แต่จะมาเจอกันตรงกลาง ทำให้เราสร้างและทำอะไรได้เร็วกว่าคนอื่น"
    อย่างไรก็ดี บารามีซี่นั้นมีพื้นเดิมเป็นธุรกิจที่ปรึกษาแบรนด์ ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเช่นกัน เขาบอกว่าเรื่องการสร้างแบรนด์มีความสำคัญ และมันไม่ได้หมายถึงทำให้สื่อมวลชนสนใจ เพราะธุรกิจก็จะดังเป็นวูบๆ แต่ต้องอาศัยการดีไซน์ มีการออกแบบโลโก้ความเป็นตัวตนทั้งหมด รวมถึงต้องมีวิชั่น มีจุดยืนที่ชัดเจนตั้งแต่แรก