สุดเจ๋ง!คิดค้น'เกมคลื่นสมอง'จุฬาฯชะลออัลไซเมอร์สำเร็จที่แรก

สุดเจ๋ง!คิดค้น'เกมคลื่นสมอง'จุฬาฯชะลออัลไซเมอร์สำเร็จที่แรก

จุฬาฯ ร่วมเนคเทคพัฒนา "เกมคลื่นสมอง" ช่วยชะลอป่วยอัลไซเมอร์แห่งแรกของโลก คว้าเหรียญทองนวัตกรรมทางสมองระดับโลก

ที่อาคารหอสมุดคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ และผู้อำนวยการรพ.จุฬาลงกรณ์กล่าวในงานแถลงข่าว“เกมคลื่นสมอง...พิชิตอัลไซเมอร์” ว่าศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคร่วมกับภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเกมคลื่นสมองโดยใช้เทคนิคใหม่นำคลื่นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากรองสัญญาณให้ชัดเจนมากขึ้น จนนำมาสู่การต่อยอดเป็นเกมที่ออกแบบเฉพาะเพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มเด็กสมาธิสั้นและผู้สูงอายุที่มีระดับความรู้คิดเสื่อมถอยและผู้ป่วยสมองเสื่อมจนได้รับรางวัลเหรียญทองนวัตกรรมทางสมองระดับโลกจาการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่นิทรรศการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 44 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเทคนิคใหม่นี้ได้มีการจดสิทธิบัตรแล้ว

ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไทยหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ กล่าวว่า นวัตกรรมที่มีการคิดค้นขึ้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำไปใช้ในสถานพยาบาลอื่นๆ ต่อไปในอนาคตได้ในระดับชุมชนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุต่อไปนอกจากนั้น จากการได้พัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้ทางผู้วิจัยได้นำไปต่อยอดสร้างเกมส์สำหรับเด็กสมาธิสั้นเพื่อเป็นการฝึกฝนให้สร้างสมาธิจดจ่อได้ยาวนานขึ้นและผลการศึกษาได้ผลที่ดีมากจนเราสามารถนำมาใช้บริการในโรงพยาบาลได้

พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญชโรจน์ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศคณะแพทยศาสตร์จุฬฯ กล่าวว่า เกมคลื่นสมองที่ร่วมกันพัฒนาเป็นนวัตกรรมนำมาใช้ทางการแพทย์ใน 2 ส่วนคือ 1.ระบบฟื้นฟูระดับความรู้คิดด้วยคลื่นสมองแบบป้อนกลับสำหรับผุ้สูงอายุโดยใช้ในการป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งระบบนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถของสมาธิการจดจ่อและคงสภาพการจดจ่อให้ได้นาน รวมถึงความจำช่วงปฏิบัติงานโดยใช้สัญญาณจากคลื่นสมองเบต้าและอัลฟ่าที่รับจากอุปกรณ์รับที่ผู้ใช้สวมไว้ที่หัวและขยายสัญญาณก่อนคำนวณระดับความจดจ่อและแสดงค่าผ่านโปรแกรมเกมทำให้ทราบถึงระดับสมาธิการจดจ่อและพยายามรักษาสภาวะจดจ่อตลอดการเล่นเกมกิดการเรียนรู้ ทำให้สมาธิจดจ่อเมื่อฝึกในได้ระดับหนึ่งแล้วจะสามารถควบคุมจัดการสมาธิได้ดีขึ้น ทั้งนี้จากการทดสอบประสิทธิภาพของระบบกับผู้สูงอายุที่มีคามรู้คิดบกพร่องระยะแรกและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น พบว่าสามารถเพิ่มอัตราส่วนของคลื่นสมองย่านเบต้าต่ออัลฟาความสัมพันธ์กับความสามารถของความจำและความสามารถของสมองดีขึ้นอย่างชัดเจน 

และ 2.ระบบฝึกสมาธิจดจ่อด้วยคลื่นสมองแบบป้อนกลับในเด็กสมาธิสั้นจากการใช้เกมคลื่นสมองที่พัฒนาขึ้นไปศึกษาในเด็กระดับประถมศึกษาจำนวน 30 คนเป็นเด็กสมาธิดี15คน และสมาธิสั้น15 คนพบว่าลุ่มเด็กที่สมาธิสั้นมีสมาธิจดจ่อความจำได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนและกลุ่มเด็กที่มีสมาธิดีมีความจำดีขึ้นโดยให้เด็กเล่นเกมนี้12 ครั้ง ครั้งละ 5-10นาที

"หลักการง่ายๆของเกมคลื่นสมองนี้จะเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นเฉพาะโดยใช้การบังคับเกมด้วยคลื่นสมองถ้าผู้เล่นมีสมาธิดีก็จะเล่นเกมได้แต่ถ้าสมาธิไม่ดีก็จะเล่นเกมนี้ไม่ได้โดยผู้เล่นจะต้องสวมหมวกที่เป็นอุปกรณ์สำหรับรับคลื่นสมองของผู้เล่นเพื่อใช้บังคับเกมซึ่งผู้ป่วยเล่นจะเห็นเกมอยู่ข้างงหน้าในจอคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถรู้ได้ว่าตนเองสมาธิหรือไม่ถ้าไม่มีเกมก็ไม่เล่นก็จะต้องพยายามปรับการจดจ่อให้มีสมาธิและเล่นเกมได้เมื่อเล่นเกมนี้เสร็จทำให้คลื่นสมองส่วนสมาธิเพิ่มขึ้นมากซึ่งจะส่งผลให้มีสมาธิแลความจำดีขึ้น" พญ.โสฬพัทธ์กล่าว

ยกตัวอย่างเกมชู๊ตลูกบาสที่เป็นเกมพัฒนาขึ้นสำหรับผู้สูงอายุเพื่อชะลอโรคอัลไซเมอร์เมื่อผู้เล่นเกมไม่มีสมาธิก็จะไม่สามารถชู๊ตลูกบาสเข้าแป้นได้หรือเก็บหมีเก็บเหรียญถ้าผู้เล่นไม่มีสมาธิคลื่นสมองก็จะไม่สามารถบังคับให้หมีเดินไปเก็บเหรียญได้แต่หากมีสมาธิดีก็จะทำให้หมีวิ่งได้เร็วซึ่งทั้งหมดบังคับด้วยคลื่นสมองของผู้เล่นที่ส่งผผ่านตัวรับสัญญาณที่สวมไว้บนหัว

"เกมนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสมองเพราะใช้การรับคลื่นจากสมองส่วนของสมาธิมาบังคับเกมไม่ได้ส่งคลื่นอะไรเข้าไปในสมองอย่างไรก็ตามเกมนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเฉพาะเพื่อใช้ในการชะลอโรคอัลไซเมอร์และรักษาสมาธิสั้นไม่ใช่ว่าจะเล่นเกมอื่นๆแล้วจะทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้นด้วยเพราะพบว่าการเล่นเกมบางชนิดทำลายสมาธิซึ่งผู้ที่สนใจใช้บริการค่าใช้จ่ายครั้งละ 200 บาทเล่นได้30นาทีและในอนาคตหวัว่าจะมีการพัฒนาต่อยอดให้มีราคาอุปกรณ์ลดลงและใช้ในบ้าน”พญ.โสฬพัทธ์กล่าว

ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยาผู้อำนวยการหน่วยวิจัยศูนย์เทโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค)กล่าวว่านวัตกรรมระบบฝึกฝนสัญญาณคลื่นสมองแบบป้อนกลับมาใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นผ่านการเล่นเกมทั้งหมด6เกมที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุและเด็กโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มสมาธิให้มากขึ้นและฝึกฝนความจำระยะสั้นโดยใช้สัญญาณจากคลื่นสมองส่งผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณที่สวมบนศรีษะแล้วแปลงสัญญาณเพื่อใช้บังคับเกมเมื่อฝึกฝนได้อย่างดีจะมีสมาธิและความจำดีขึ้น