SCB - ซื้อ

SCB - ซื้อ

กำไรไตรมาส 2/59 ตามคาด

กำไรไตรมาส 4/58 ต่ำคาด 9%

SCB รายงานกำไรไตรมาส 2/59 ที่ 1.28 หมื่นล้านบาท ลดลง 3.0% YoY แต่เพิ่มขึ้น 21.5% QoQ ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าที่เราคาด 4% (แต่สูงกว่า Bloomberg คาด 7%) จากการกลับสำรองผลขาดทุนจากการลงทุนใน SCB Life จำนวน 4.3 พันล้านบาท เป็นรายได้กิจการ หลังผลตอบแทนจากตราสารหนี้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยการพลิกรายการดังกล่าวได้ถูกแบ่งมาเป็นการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯพิเศษในไตรมาสนี้ ทั้งนี้กำไรจากการดำเนินงานที่ไม่รวมสำรองหนี้เสียแตะ 1.94 หมื่นล้านบาท ลดลง 8% YoY และ 10% QoQ ในขณะที่กำไรครึ่งแรกปี 2559 หดตัวลง 11.4% YoY มาอยู่ที 2.34 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 48.2% ของประมาณการปี 2559 ของเรา

ประเด็นหลักผลประกอบการ

ยอดสินเชื่อปรับเพิ่มขึ้น 1.3% QoQ และ 1.5% YoY สอดคล้องกับประมาณการของเรา ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไตรมาส 2/59 อยู่ที่ 3.29% เพื่มขึ้น 6 bps YoY และ 1 bps QoQ โดยสินเชื่อบรรษัทเติบโต 1.3% YoY และสินเชื่อรายย่อย ขยายตัว 1.6% QoQ ในขณะที่ สินเชื่อ SME ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% QoQ การสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯเติบโต 66% YoY และ 70% QoQ มาอยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท สัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.77% จาก 2.64%ในไตรมาส 1/59 ในขณะที่หนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับเพิ่มขึ้น 3.5% มาอยุ๋ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท ส่วนอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญปรับเพิ่มขึ้น 130% ณ สิ้นเดือนมิ.ย. จาก 123% ในไตรมาสก่อนหน้า

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ปรับเพิ่มขึ้น 5% YoY แต่ทรงตัว QoQ มาอยู่ที่ 2.18 หมื่นล้านบาท ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิหดตัวลง 15% YoY และ 13% QoQ มาอยู่ที่ 9.7 พันล้านบาท ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มอยู่ที่ 39.8% ลดลงจาก 35.7% ในไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว และจาก 35.2% ใน ไตรมาส 1/59

แนวโน้ม

SCB น่าจะรายงานกำไรไตรมาส 3/59 ดีขึ้นเล็กน้อย YoY จากสินเชื่อที่เติบโตต่อเนื่อง

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

เราปรับประมาณการสำรองหนี้สูญฯ 2559 ขึ้น 21% มาอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาทเพื่อสะท้อนการใช้กำไรพิเศษมูลค่า 4.3 พันล้านบาทจาก SCB Life ในไตรมาส 2/59 ในการตั้งสำรองฯพิเศษในไตรมาส อย่างไรก็ตามประมาณการกำไรปี 2559 ยังคงเดิม

คำแนะนำ

เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อกำไรปี 2559-60 ของ SCB จากปัจจัย 1) กำไรฟื้นตัวเร็วและมียอดสินเชื่อที่ดีหลังการลงทุนของโครงการภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นผลในครึ่งหลังปี 2559 2)การบริหารจัดการสินทรัพย์ได้ดี (สัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมที่เพียง 2.77% พร้อมมีอัตราส่วน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงถึง 130%) และ 3) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ SCB อยู่สูงถึง 15% ในปี 2559 และ 16% ในปี 2560 เราจึงยังคงแนะนำ “ซื้อ”