สนช.จับมือสปท. ลงพื้นที่ แจงคำถามพ่วงประชามติ

สนช.จับมือสปท. ลงพื้นที่ แจงคำถามพ่วงประชามติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. ลงพื้นที่พบปะประชาชน ที่ จ.นครนายก เพื่อถ่ายทอดผลงาน คำถามพ่วงประชามติ ที่ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 พร้อมด้วยสมาชิก สนช พร้อมด้วยนายคำนูณ สิทธิสมาน ตัวแทนสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และนายไพโรจน์ อาจรักษา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมลงพื้นที่ จ.นครนายก ตามโครงการ "สนช.พบประชาชน" เพื่อรับฟังปัญหาและชี้แจงประชาสัมพันธ์คำถามพ่วงประชามติ ให้กับตัวแทนจากทั้งส่วนราชการรวมไปถึงประชาชนในพื้นที่ จ.นครนายก โดยมีนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ให้การต้อนรับ

นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาประเทศ โดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดิน ตนไม่ได้เข้าข้าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่ปัญหามีความสลับซับซ้อน มีเงื่อนไขที่ต้องใช้เวลาก่อนจะแก้ปัญหาต่างๆของประเทศได้ ซึ่งนายกฯ พยายามแก้ปัญหา จึงเห็นว่าหลายครั้งจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 เพื่อให้งานเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว ส่วนเรื่ององค์กรท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายเกี่ยวกับท้องถิ่นยังอยู่อย่างเดิมทั้งหมด และร่างรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้แตะ รูปแบบที่ออกมาเป็นเพียงข้อเสนอแต่ยังไม่เป็นกฎหมาย ซึ่งเราพร้อมรับฟังทุกความเห็น เพื่อที่คสช.จะได้นำไปประเมินว่าสุดท้ายจะใช้รูปแบบใด

นายคำนูน สิทธิสมาน สมาชิกสปท. กล่าวถึงที่มาคำถามพ่วงประชามติที่ถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ที่ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีว่า การรัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากการรัฐประหารที่่ผ่านมา 13 ครั้ง เพราะจะมีการปฏิรูปประเทศต่อเนื่ิองตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 กำหนด ดังนั้นร่างรัฐธรรมูญที่จะทำประชามติจึงได้บัญญัติเรื่องปฏิรูปประเทศไว้

และเพื่อให้ประเทศหลุดออกจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม จึงต้องมีองค์กรสำคัญติดตามการปฏิรูปประเทศ นั่นคือ รัฐสภา ที่ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. โดยรัฐบาลต้องรายงานผลงานการปฏิรูปแก่รัฐสภาทุก 3 เดือน โดยหลังจากนี้จะมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่อีกครั้ง