'ม.อ.' เรียกคุยอจ. ร่วมกฟผ.ดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินญี่ปุ่น

'ม.อ.' เรียกคุยอจ. ร่วมกฟผ.ดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินญี่ปุ่น

อธิการบดีม.สงขลานครินทร์ เรียกอาจารย์คุย หลังร่วมคณะกฟผ. ดูงานโรงไฟฟ้าถ้านหินญี่ปุ่น ยันไม่สั่งหยุดแสดงความเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (25 พ.ค.) ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ประธานในการประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลจากบุคลากรและอาจารย์ที่เดินทางไปดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินประเทศญี่ปุ่นร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 20 กว่าท่าน จากมหาวิทยาลัยต่างๆ

โดยมีบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากวิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตปัตตานีรวม 7 ท่าน ระหว่าง 14-20 พ.ค.ที่ผ่านมา และให้สำเนาแจ้งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแจ้ง ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งร่วมเดินทางไปกับกฟผ. เพื่อทราบด้วย

หลังจากที่ พล.ต.วิรัชช์ กมลศิลป์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ได้ทำหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง เพื่อขอความร่วมมือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ ตามที่มีกลุ่มมวลชนมีการเคลื่อนไหวและต่อต้าน กรณีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ้านหนินเทพา ในพื้นที่จังหวัดสงขลา
โดยมีกลุ่มแกนนำในพื้นที่, และพื้นที่ใกล้เคียง, กลุ่มข้าราชการ, กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มประชาสังคม หรืออาจจะมีบุคลากรในหน่วยงานของท่านบางคนไม่เข้าใจ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อาจหันไปให้การสนับสนุนให้ความร่วมมือ มณฑลทหารบกที่ 42 จึงขอความร่วมมือจากท่านให้ทำความเข้าใจกับบุคลากร เพื่อให้ทราบถึงวิธีการดำเนินงานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณา หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่าน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ลงวันที่ 21 เม.ย.59 ในขณะที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงวันที่ได้รับหนังสือวันที่ 2 พ.ค. เวลา 13.30 น. ก่อนที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะมอบหมายให้เลขาฯเพื่อนัดหมายการประชุมหารือในวันนี้ (25 พ.ค.) เมื่อวันที่ 10 พ.ค.59 ที่ผ่านมา

ซึ่งการประชุมในวันนี้ มีอาจารย์ที่ร่วมเดินทางไปดูงานที่ญี่ปุ่นกับกฟผ.จำนวน 2 ท่านที่เข้าร่วมการประชุมหารือ ผศ.ดร.อภิรดี แซ่ลิ่ม, ผศ.ดร.ศราวุธ เจ๊ะโซะ, ในขณะที่ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ซึ่งเดินทางไปกับกฟผ.เมื่อวันที่ 14-20 พ.ค.ด้วย และเป็นผู้โพสหนังสือจากผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 จนเกิดกระแสเรียกร้องให้ผบ.มทบ.42 ถอนหนังสือฉบับดังกล่าว ในสื่อออนไลน์ไม่ได้เข้าร่วมประชุม แต่ได้แจ้งกับอธิบการบดีฯว่าติดภาระกิจ

รศ.ดร.ชูศักดิ์ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ เป็นการประชุมหารือเพื่อรับทราบข้อมูลจากบุคลากรที่เดินทางไปดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นการรับฟังข้อมูลเฉยๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตัวผมในฐานะผู้บริหาร จากนักวิชาการและนักจิวัยของม.อ. ส่วนการแสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาทางมหาวิทยาลัยฯจะไม่เข้าไปสั่งหรือบังคับให้หยุด

“แต่ละคนที่แสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการไม่เด้ทำในนามของมหาวิทยาลัยฯ เป็นการทำโดนส่วนตัว เพราะฉะนั้นนักวิชาการเขาก็มีสิทธิ์ในฐานะนักวิชาการของของเองว่าเขามีความเห็นอย่างไร เป็นเรื่องของส่วนตัว ผมได้พูดกับผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่าที่เขาออกไปแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องของตัวบุคคล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยฯ”

ส่วนหนังสือที่ทางผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ส่งมาถึงนั้นก็ไม่ได้ที่การตอบกลับหรือแสดงจุดยืนอะไรกลับไป เพียงแต่เขาส่งมาเราก็รับทราบว่าเขามีเจตนาอะไร ผมก็ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีหนังสือตอบกลับ ในขณะเดียวกันทางทหารเขาก็ไม่ได้มาบอกให้ผมต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ โดยให้เป็นดุลพินิจของมหาวิทยาลัยฯเองว่าจะดำเนินการอย่างไร

ส่วนเจตนาของการส่งหนังของผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ก็ไม่ได้มีการคุยกันในรายละเอียด เพียงแค่บอกทางผบ.มทบ.42ไปว่า ที่ผ่านมานักวิชการเราก็ไปเป็นการส่วนตัว แล้วเขาก็มีเหตุผลของเขาในการแสดงความคิดเห็น เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็น่าจะคุยกันโดยตรงกับนักวิชาการ ส่วนการสนับสนุนและคัดค้านโครงการเป็นเรื่องธรรมดาที่มีฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

“มันเป็นเรื่องธรรมดา ฝ่านหนึ่งอยากสนับสนุน อีกฝ่ายหนึ่งก็คัดค้าน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องไปต่อต้านอะไรกัน เพียงแต่ว่าเมื่อถึงเวลาเราต้องคุยจะต้องคุยกันด้วยเหตุและผล ดูว่าประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับประเทศชาติคืออะไร แล้วก็ตัดสินใจตรงนั้น สุดท้ายแล้วผมคิดคนในพื้นที่เป็นคนตัดสินใจเองว่าเขาควรจะเลือกอะไร”

สำหรับการแสดงท่าทีและจุดยืนของมหาวิทยาลัยฯนั้น รศ.ดร.ชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่มีการแสดงท่าทีหรือจุดยืนอะไรกับหนังสือที่ทางผผู้บัญชาการมณฑลทหารบกส่งมา ทางมหาวิทยาลัยฯเพียงแค่รับทราบข้อมูลแล้วก็เราก็ถือว่าเป็นความเห็นจากฝ่ายทหาร ส่วนฝ่ายเราก็ไม่ได้ไปบังคับบุคลากรของเราว่าต้องปิดปาก หรือหยุดการแสดงความเห็นใดๆ

แต่ทางมหาวิทยาลัยฯจะให้ความรู้ได้ มหาวิทยาลัยฯจะเป็นตัวกลางในการเปิดเวทีได้ แต่ทางมหาวิทยาลัยฯจะไม่บอกว่าจะต้องสร้างหรือไม่สร้าง ไม่ใช่หน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ มหาวิยาลัยฯมีหน้าที่เป็นคนให้ความรู้ได้ และก็บอกถึงข้อดีและบอกถึงข้อเสียที่เราจะต้องระมัดระวังและแก้ไขเท่านั้นเอง

ซึ่งการแสดงบทบาทในฐานะคนกลางหรือเวทีกลางในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพานั้น เคยได้รับการประสานจากสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที ที่เขาจะเชิญผู้ที่ส่วนได้เสียกับโครงการทุกฝ่ายมาร่วม ซึ่งทางม.อ.ก็ยินดีที่จะร่วมจัด โดยกำหนดว่าจะจัดที่ศูนย์ประชุมของม.อ. แต่มาทราบตอนหลังว่าทางกฟผ.ถอนตัว ทางม.อ.ก็เลยไม่เข้าร่วม เพราะว่าการที่จัดเวทีกลางนั้นคนที่มีส่วนได้เสียทุกส่วนต้องเข้าร่วม

ไม่งั้นทางมหาวิทยาลัยฯก็จะถูกมองว่าเอนเอียงไปยังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เรื่องนี้ก็ต้องระมัดระวัง ในเรื่องของความเป็นกลาง เพราะนั้นการที่มหาลัยวิทยาลัยฯจะเข้าไปทำหน้าที่เวทีกลาง ก็ต้องให้ทุกส่วนที่มีส่วนได้เสียเข้าร่วมครบทุกฝ่าย เพื่อแสดงความจริงใจที่จะหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยฯอาจจะให้ใช้สถานที่ เราก็ยินดี
รศ.ดร.ชูศักดิ์ กล่าวว่า ในฐานะที่สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เราให้ความรู้ได้ในโครงการต่างๆ ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆมีอะไรบ้างในเชิงวิชาการณ์ ส่วนการทำความเข้าใจกับพื้นที่ก็ต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เขาจะมาลงทุน หรือเจ้าของโครงการ แต่ถ้าจะให้มหาวิทยาลัยฯเข้าไปช่วยทางด้านวิชาการ เช่น การทำการศึกษาวิจัย หรือว่าหาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆที่เขาสงสัย เราก็ยินดีสนับสนุน

“การทำความเข้าใจกับพื้นที่กับประชาชนในพื้นที่ เรื่องโครงการผมคิดว่าแป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะลงทุนหรือเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ”

สุดท้าย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ยังยืนยันว่าหนังสือของผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ที่ส่งมาไม่ถือหรือเข้าข่ายการคุกคาม เพราะไม่ได้ระบุว่าจะต้องให้มหาวิทยาลัยฯดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของดุลพินิจของมหาวิทยาลัยฯเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตอบหนังสือกลับหรือแสดงจุดยืนของมหาวิทยาลัยฯในเรื่องนี้