Daily Market Outlook (25 เม.ย.59)

Daily Market Outlook (25 เม.ย.59)

ระมัดระวัง

คาดหุ้นไทยวันนี้ซื้อขายในกรอบแคบภายใต้ความระมัดระวัง เพื่อรอผลการประชุมกำหนดนโยบายทางการเงินของทั้ง Fed และ BOJ ที่จะมีขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ โดยคาด Fed จะคงนโยบายไว้ ขณะที่ BOJ กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ งวด 1Q16 ที่ประกาศออกมาที่ตลาดเชื่อว่าได้แตะระดับต่ำสุดไปแล้วประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ยังได้แรงหนุนน่าจะเป้นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นได้ส่วนหนึ่ง ในส่วนของปัจจัยในประเทศเชื่อว่ายังไม่มีประเด็นที่สร้างน้ำหนักให้กับตลาดมากนัก


หุ้นเด่นวันนี้: KTC (Bt90.00; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 110.00 บาท)

บมจ.บัตรกรุงไทย ยังคงแสดงการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยในไตรมาส 1/59 บริษัทได้รายงานผลประกอบการที่ 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7% QoQ และ 10.6% YoY ซึ่งการเติบโตนี้มาจากทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยที่พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตและพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคลโต 9% และ 15% YoY ตามลำดับ บริษัทเชื่อว่าการเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนหลักจากการออกแคมเปญด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม KTC ยังคงยืนยันเป้าการเติบโตกำไรแบบทรงตัวในปี 59 เนื่องจากบริษัทมีความตั้งใจที่จะขยายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในการใช้จ่ายบัตรเครดิตรวมทั้งพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคล การดำเนินการดังกล่าวบ่งบอกถึงค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนที่จะปฏิรูปองค์กรในปีนี้ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงขั้นตอนภายในบริษัทและพัฒนาด้านบุคลากร เราคาดการณ์กำไรปี 59 จะเติบโต 0.2% YoY สอดคล้องกับที่ผู้บริหารคาด ก่อนที่จะพุ่งขึ้น 24.2% YoY ในปี 60 ถึงแม้ว่าแผนต่างๆของบริษัทเหล่านี้จะส่งผลกระทบด้านกำไรในระยะสั้น แต่เราเชื่อว่าแผนทั้งหมดถูกกำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและสามารถรักษาอัตราการเติบโตได้ในระยะยาว Price Pattern ของ KTC ยังคงมีความแข็งแกร่งทั้งในระยะสั้นและระยะกลางจากการเกิดทั้ง Daily & Weekly Buy Signal แต่ยังคงโดนกดดันจากการเกิด Monthly Sell Signal อยู่ ทั้งนี้เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ KTC ที่สามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือเป้าหมายเบื้องต้นที่ 89.25 บาทไปได้นั้น ทำให้คาดว่า Price Pattern ของ KTC น่าจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมายถัดไปที่ 92.75 บาท และเป้าหมายสำคัญที่ 96 บาท ตามลำดับ โดยมีจุด Stop Loss ของ BTS รอบนี้อยู่ที่ 85.50 บาท (Resistance: 90.50, 91.25, 91.75; Support: 89.50, 89.00, 88.25)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• ปรับเงื่อนไขนาโนไฟแนนซ์รมว.กระทรวงการคลังได้ปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์โดยรมว. จะกำหนดเพดานวงเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทสำหรับผู้กู้หนึ่งรายจากก่อนหน้ากำหนดไว้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทและกำหนดให้บริษัทประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ได้เฉพาะในจังหวัดที่ได้รับอนุญาตอัตราดอกเบี้ยจะกำหนดไว้สูงสุดไม่เกิน 3% ต่อเดือนทั้งนี้การกำหนดพื้นที่จะช่วยให้รัฐสามารถติดตามตรวจสอบธุรกิจเงินกู้นอกระบบในพื้นที่เจาะจงได้ (Bangkok Post)ความเห็น: ถึงแม้ว่าข่าวนี้จะมีผลกระทบในทางลบกับ SAWAD และ MTLS เนื่องจากจำนวนผู้เล่นในตลาดน่าจะเพิ่มมากขึ้น แต่พอร์ตนาโนไฟแนนซ์ของบริษัทดังกล่าวมีเพียงแค่ต่ำกว่า 1% จากพอร์ตทั้งหมด

• เงินทุน 2 หมื่นลบ. สำหรับสตาร์ทอัพรัฐบาลมีแผนจัดตั้งกองทุน 2 หมื่นลบ. ภายในปีนี้เพื่อสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพในการเร่งคิดค้นนวัตกรรมและขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆในอาเซียนทั้งกระทรวงการคลัง, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังร่วมกันร่างเงื่อนไขสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพซึ่งมีความประสงค์จะสมัครขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน (Bangkok Post)

• งบประมาณช่วย SME ขยายธุรกิจต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดสรรงบประมาณจำนวน 400 ล้านบาท ภายใต้โครงการ SMEs Pro Active เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs ในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด CLMV ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีผลระหว่างปี 59-61 (The Nation)

• สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยคาดอุตฯไม่สดใสทางสมาคมฯได้คาดการณ์ว่าไทยน่าจะยังคงได้รับใบเหลืองต่อจากปีก่อนหน้าอันจะส่งผลให้อาจไม่เห็นเติบโตของการส่งออกอาหารแช่เยือกแข็งในปีนี้และมีโอกาสที่จะหดตัวสำหรับการส่งออกอาหารทะเลในปีหน้า (Bangkok Post)

• ADVANC (Bt154.50, ซื้อ, AWS16TP Bt213.00) คาดว่าจะเซ็นสัญญาร่วมทุนกับบมจ. ทีโอที ในเดือนนี้ เพื่อให้บริการ 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ กสทชแจ้งว่าทีโอทีซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับเอไอเอสจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการจัดสรรคลื่นความถี่ หากเป็นตามรูปแบบของ กสท-ทรู คอร์ป ทีโอทีจะเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคมบางส่วนจาก ADVANC โดยจ่ายเป็นค่าธรรมเนียม และนำคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ มาใช้กับเอไอเอส ซึ่งทำให้ ADVANC มีความสามารถมากขึ้นในการรองรับฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของบริษัท (The Nation)

• BBL (ปิด 163.00 บาท ราคาเป้าหมายปี 59 ที่ 188.00 บาท) หลังจากที่ธนาคารยังไม่ได้แสดงตัวในการชำระหนังสือค้ำประกันจำนวน 1.78 พันล้านบาทในนามของไทยทีวี กสทช.กำลังรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวและเตรียมที่จะดำเนินการกฎหมายในขั้นตอนต่อไป (Bangkok Post) ความเห็น: เราเชื่อว่าประเด็นดังกล่าวไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างนัยสำคัญกับ BBL เนื่องจากธนาคารได้ตั้งสำรองเต็มจำนวนไว้แล้ว

ต่างประเทศ

• คาดเฟดคงอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมระหว่างวันที่ 26-27 เม.ย. โดยเปิดช่องสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต แม้ว่าสหรัฐจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและราคาผู้บริโภคปรับตัวขึ้นซึ่งหนุนให้เฟดสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ก็ตาม แต่ยอดค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศที่อ่อนแอรวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนต่างเป็นเหตุผลให้นางเยลเล็น ประธานเฟด จะยังคงระมัดระวังในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนครึ่งหลังของปี 59 ทั้งนี้ ผลสำรวจจากรอยเตอร์สซึ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ระบุว่านักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยและจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. และจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งภายในสิ้นปีนี้ (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับเงินเยนสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันศุกร์ หลังจากมีรายงานว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังพิจารณาขยายนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบและอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นกว่า 2% เทียบกับเงินเยนอยู่ที่ 111.80 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเทียบกับเงินเยนนับแต่ 1 เม.ย. ส่วนเงินยูโรล่าสุดปิดลดลง 0.52% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 1.1225 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐไม่เปลี่ยนแปลงมากเมื่อวันศุกร์ หลังรายงานผลประกอบการอันน่าผิดหวังของไมโครซอฟท์และอัลฟาเบท บริษัทแม่ของกูเกิ้ลได้ฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ส่วนราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นและช่วยจำกัดผลขาดทุนของตลาด (Reuters)

• ตลาดหมดหวังอย่างที่สุด เกี่ยวกับการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/59 ของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า โดยบริษัทที่ใช้ในการคำนวณ S&P500 โดยเฉลี่ยมีกำไรลดลง 7.1% จากข้อมูลของทอมสัน รอยเตอร์ส IBES จนถึงขณะนี้ 77% ของผลประกอบการไตรมาส 1/59 ที่ประกาศดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 63% (Reuters)

• การผลิตสหรัฐลดลงในเดือนเม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนเม.ย.ของสหรัฐอยู่ที่ 50.8 จุด ลดลงจาก 51.5 ในเดือนมี.ค. เป็นตัวเลขต่ำกว่าคาดนับแต่ก.ย. 52 อีกทั้งทำลายความหวังว่าการผลิตที่ลดลงในไตรมาส 1/59 จะเป็นเพียงการชั่วคราว ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีดังกล่าวจะอยู่ที่ 52.0 จุดเพิ่มขึ้นจาก 51.5 จุด ในเดือนมี.ค. จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก (Markit)

ยุโรป:

• ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวลดลง โดยราคาหุ้น Daimler ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตรถยนต์ได้ถูกเทขายหลังจากประกาศผลประกอบการออกมาน่าผิดหวัง ขณะที่กล่าวว่าจะดำเนินการกระบวนการตรวจสอบภายในองค์กร เกี่ยวกับประเด็นการรับรองมาตรฐานการปล่อยมลพิษในรถยนต์ ตามคำร้องของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ขณะที่ยอดขายที่ประกาศออกมาน่าผิดหวังของ Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Gucci สร้างแรงกดดัยให้กับราคาหุ้นของบริษัท (Reuters)

• กิจกรรมทางธุรกิจยูโรโซนเดือน เม.ย. ชะลอตัวลงซึ่งบ่งชี้ว่าความพยายามของ ECB เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเอกชนผ่านการออกมาตรการทางการเงินไม่ได้ส่งผลมากนัก ผลสำรวจของ Markit ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือนเ ม.ย. จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. และยังไม่หนีจากระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน ก.พ. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดก่อนหน้านี้ว่าดัชนีดังกล่าวจะฟื้นตัวมาอยู่ที่ 53.2 ทั้งนี้ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซนในเดือนเม.ย.ขยับขึ้นแตะ 53.2 จากระดับ 53.1 ในเดือนมี.ค. แต่น้อยกว่าที่โพลสำรวจของ Reuters รวบรวมไว้ว่าจะอยู่ที่ 53.3 ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงแตะ 51.5 จากระดับ 51.6 ในเดือนมี.ค (Reuters)

เอเชีย:

• คาดที่ประชุม BOJ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 27-28 เม.ย.หลังจากที่ BOJ มีรายงานช่วงครึ่งปีแรกออกมาเมื่อวันศุกร์ว่าการใช้ดอกเบี้ยนโยบายติดลบได้ส่งผลให้กระแสเงินทุนเกิดการหยุดชะงักและกระทบต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน (Reuters)

• Abe เตรียมเบิกจ่ายงบประมาณพิเศษหลังเกิดแผ่นดินไหว เพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มมีผลได้ในวันที่ 1 มิ.ย. (Reuters)

• ภาคการผลิตของญี่ปุ่นชะลอตัวมากขึ้นในเดือน เม.ย. ดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่น ลดลงจาก 49.1 ในเดือนมีนาคม เป็น 48.0 ในเดือนเมษายน นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2013 และ เป็นเดือนที่สองต่อเนื่องที่ดัชนีได้ส่งสัญญาณความอ่อนแอของภาคการผลิต ในขณะที่ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวอาจจะสะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวของการผลิตและก่อให้เกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Reuters)

• หุ้นจีนปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา นำโดยหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคและกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งสามารถหักล้างกับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มทรัพยากร อย่างไรก็ตามในรายสัปดาห์พบว่าเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นในวันศุกร์และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สามหลังตลาดมีความหวังมากขึ้นต่อปัญหาปริมาณอุปทานน้ำมันส่วนเกินมานานอาจจะคลี่คลายลงบริษัทพลังงานในสหรัฐได้ลดการขุดเจาะน้ำมันเป็นสัปดาห์ที่ห้าเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2492 ราคาน้ำมันเบรนท์ในตลาดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 1.3% มาอยู่ที่ 45.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลขณะที่น้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.3% ใาปิดที่ 43.73 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลราคาน้ำมันเบรนท์เพิ่มขึ้น 4.5% และราคาน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.4% ในสัปดาห์ก่อนซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นสามสัปดาห์ติดต่อกัน (Reuters)

• การขุดเจาะน้ำมันลดลงสู่ระดับต่ำสุดแท่นขุดเจาะน้ำมันได้ลดลง 9 แท่นเป็น 431 แทนในระหว่างสัปดาห์ณวันที่ 22 เม.ษ. 59 และต่ำกว่า 501แท่นในปีก่อนหน้าแท่นขุดเจาะได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดอีกครั้งหลังBaker Hughes ได้เริ่มนับแท่นในปี 2492 และอาจจะถึงจุดต่ำสุดในราวปีพ.ศ. 2403 หรือ 2443 หากมีการนับแท่นในช่วงเวลาดังกล่าว (Baker Hughes)

• ราคาทองฟื้นจากปรับตัวลงในวันจันทร์เนื่องจากเงินดอลลารแข็งค่าและนักลงทุนยังระมัดระวังต่อการประชุมนโยบายของเฟดในสัปดาห์นี้ราคาทองสปอทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยมาอยู่ที่1,231.20 ดอลลาร์สหรัฐต่ออนซ์ในเช้าวันนี้เวลา 0041GMT หลังราคาลดลง1% เมื่อวันศุกร์ (Reuters)