สจล.เปิดเวทีฟังความเห็นปชช. 'แลนด์มาร์คเจ้าพระยา'22เมย.นี้

สจล.เปิดเวทีฟังความเห็นปชช. 'แลนด์มาร์คเจ้าพระยา'22เมย.นี้

สจล.เตรียมเวทีฟังความเห็นปชช. โครงการแลนด์มาร์คเจ้าพระยา 22 เม.ย.นี้ ย้ำแนวคิด "เจ้าพระยาเพื่อทุกคน" เน้นอนุรักษ์ชุมชนเก่าแก่-โบราณ

นายสกุล ห่อวโนทยาน รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะผู้จัดการโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา กล่าวว่า สำหรับโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างทางเดินและเส้นทางปั่นจักรยานแต่ขอย้ำว่าไม่ใช่การสร้างถนนสำหรับรถยนต์วิ่งตามที่มีข้อกังวลจากหลายฝ่ายทั้งนี้การออกแบบจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ตามสภาพแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่โดยจะเริ่มเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่1ในวันที่22เม.ย.นี้ ซึ่งจะมีคณะทำงานอาทิสถาปนิกนักออกแบบวิศวกรร่วมกันเสนอแนวทางภายใต้แนวคิดเจ้าพระยาเพื่อทุกคน

ส่วนการสำรวจพื้นที่โครงการริมเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งแม่น้ำระยะทาง57กิโลเมตรได้ทำการศึกษาด้านชลศาสตร์และข้อมูลน้ำขึ้นสูงสุดจนถึงน้ำลดต่ำที่สุดรวมทั้งข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ก่อนนำมาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมขณะที่พื้นที่นำร่อง14กิโลเมตรตั้งแต่สะพานพระราม7ถึงสะพานปิ่นเกล้านั้น ที่ผ่านมาได้ส่งคณะทำงานสำรวจความต้องการของชุมชนแล้วโดยได้รับผลตอบรับดีมากเตื่องจากก่อนหน้านี้ประชาชนอาจได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อน

“สจล.ยืนยันความจริงใจในการศึกษาแม้จะมีฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างก็พร้อมรับฟังและพร้อมร่วมงานเพราะโครงการนี้เป็นสิ่งที่จะถูกส่งต่อให้กับลูกหลานต่อไป”นายสุกลกล่าว

ด้านน.ส.อันธิกา สวัสดิ์ศรี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์สจล.กล่าวว่าโครงการนี้เริ่มจากข้อกังวลที่อาจเกิดผลกระทบต่อแม่น้ำแต่จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่า34ชุมชนมีปัญหาเรื่องแนวกั้นเขื่อนที่สร้างโดยกรุงเทพมหานคร(กทม.)เนื่องจากมีข้อเสียเรื่องแนวเขื่อนปิดกั้นเส้นทางระบายน้ำเสียแต่ทางสจล.ต้องออกแบบว่าทำอย่างไรเพื่อให้ระบายน้ำได้เช่นเดิม ขณะเดียวกันหลายชุมชนมีปัญหาเรื่องเส้นทางออกจากที่อยู่อาศัยไปสู่ถนนมีลักษณะแคบไม่มีพื้นที่สวนสาธารณะบางชุมชนที่สร้างบ้านบนน้ำมาก่อนการออกแบบอาจต้องหลบชุมชนนี้ไปอีกทั้งชุมชนบางแห่งมีการทิ้งขยะลงแม่น้ำโดยตรง

ดังนั้นโครงการปรับปรุงริมเจ้าพระยาจึงเป็นโอากาสดีที่จะแก้ปัญหาที่ปรากฏได้ ทั้งนี้ ทางคณะทำงานไม่มีธงจะสร้างถนนขนาด19.5เมตรไม่ใช้งบประมาณก่อสร้างมากถึง1.4หมื่นล้านบาทหรือสร้างกำแพงสูง3เมตรอย่างแน่นอนที่สำคัญสจล.ไม่ได้รับฟังความเห็นเฉพาะพื้นที่14กิโลเมตรเท่านั้นแต่อยากให้คนไทยทุกคนร่วมกันสะท้อนปัญหาที่หลากหลายคาดว่าปลายเดือนเม.ย.นี้จะได้ต้นแบบไปเสนอกับชุมชนได้

“นอกจากนี้จะสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แสดงความเป็นมาของการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและที่มาของการพัฒนาพื้นที่ริมเจ้าพระยาเปิดช่องทางเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย”น.ส.อันธิกากล่าว

ขณะที่นายกมลเกียรติ  เรืองกมลา ผู้ช่วยอธิการบดีสจล.กล่าวว่าการออกแบบโครงการจะมุ่งเน้นรักษาอัตลักษณ์เป็นสำคัญไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลงอาทิชุมชนโบราณหรือชุมชนดั่งเดิมที่มีวิถีชีวิตจึงต้องมีการต้องออกแบบให้สะท้อนอัตลักษณ์ออกมามากที่สุดเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับศิลปวัฒนะธรรมและเป็นการออกแบบที่เชื่อมยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์

ด้านนายสุพจน์ ศรีนิล  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์สจล.กล่าวว่าการลงพื้นที่มีประเด็นที่เป็นห่วงเรื่องผลกระทบทางชลศาสตร์จึงมีการศึกษารูปแบบให้หลากหลายทั้งสิ่งที่มีในประเทศและต่างประเทศหารูปแบบที่มีความสวยงามโดยโครงสร้างต้องไม่บดบังทัศนียภาพไม่สูงเกินเขื่อนกั้นน้ำอาทิโครงสร้างชนิดสำเร็จรูปที่ใช้ทุ่นลอยน้ำไม่สร้างความเสียหายต่อแม่น้ำและที่อยู่อาศัยส่วนระบบรวบรวมน้ำเสียจะต้องหาจุดบำบัดน้ำตามจุดต่างๆเพราะพบว่าบางแห่งไม่มีเส้นทางระบายน้ำเน่า