Daily Market Outlook (26 ก.พ.59)

Daily Market Outlook (26 ก.พ.59)

ความหวังใหม่เกี่ยวกับน้ำมัน

คาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรป หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกัน จากคำยืนยันว่าจะมีการประชุมผู้ผลิตน้ำมันกลางเดือนมีนาคมโดยมีลุ้นว่าน่าจะนำไปสู่การที่ทำให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพได้ ภายในประเทศโครงการรถไฟฟ้าภายใต้ความร่วมมือไทยจีนกำลังเข้าสู่ระยะของการคุยรายละเอียดขั้นสุดท้ายแล้วถือเป็นข่าวบวก ในขณะที่การหดตัวของตัวเลขส่งออกในเดือนมกราคมอยู่ในการคาดคะเนอยู่แล้ว แต่ข่าวที่ว่าสหรัฐเตรียมคว่ำบาตรการนำเข้าอาหารทะเลไทยโดยอ้างการใช้แรงงานทาสถือว่าเป็นปัจจัยลบต่ออุตสาหกรรมประมงของไทยอีกแล้ว


หุ้นเด่นวันนี้: CKP (ราคาปิด 2.18 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย AWS 3.25 บาท)

กำไรสุทธิของบมจ.ซีเค พาวเวอร์ ที่ประกาศออกมาอย่างแข็งแกร่งในงวด 4Q58 ได้สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์น้ำไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 (กำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์) กำลังฟื้นกลับมาสู่สภาวะปกติ นอกจากนี้ผลการดำเนินงานที่ประกาศออกมายังชี้ให้เห็นชัดถึงผลบวกซึ่งทำให้ความสามารถในการทำกำไรของ CKP ปรับตัวดีขึ้น จากต้นทุนก๊าซธรรมชาติของโรงไฟฟ้าโคเจน (กำลังการผลิต 117.5 เมกะวัตต์) ที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ เทียบเงินบาทที่แข็งค่าในระดับสูงที่ผลักดันค่าไฟฟ้าขายให้สูงขึ้น กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติของ CKP งวด 4Q58 ประกาศออกมาอยู่ที่ 219 ลบ. (+1600% QoQ, 5% YoY) และทำระดับสูงสุดใหม่ในรายไตรมาสอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่แนวโน้มในระยะยาวยัคงสดใส เราคาดหวังจะเห็นการทำระดับสูงสุดใหม่ของกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตทบต้นต่อปีเฉลี่ย (CAGR) ที่ 42% ในช่งวปี 2559-63 แตะระดับ 2.0 พันลบ. ในปี 2563 จากการทยอยผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้าในมือที่อยู่ในช่วงของการก่อสร้างและพัฒนากว่า 1,560 เมกะวัตต์ ซึ่งจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2563 โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี (1,280 เมกะวัตต์) ราคาหุ้นปัจจุบันมีความน่าสนใจ โดยซื้อขายที่ระดับต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในกลุ่มซึ่งซื้อล้วนขายที่ระดับสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นทั้งสิ้น ซึ่งเราเชื่อว่าหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตเช่นนี้อย่างน้อยที่สุดควรที่จะซื้อขายในระดับเดียวกับกลุ่ม

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• การส่งออก ม.ค. หดตัวหนักสุดนับแต่ปี 54 ก.พาณิชย์ประกาศตัวเลขส่งออก ม.ค. ลดลง 8.91% เทียบปีก่อนสู่ 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์ นับเป็นการหดตัว 13 เดือนติด ชี้ว่าเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น นอกจากนี้การนำเข้าร่วง 12.4% เทียบปีก่อนเหลือ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้เกินดุลการค้า 238 ล้านดอลลาร์ แต่กระทรวงยังคงเป้าการส่งออกไว้เติบโต 5% ในปีนี้อยู่ (Bangkok Post)

• กฎหมายใหม่สหรัฐมุ่งแบนสินค้าที่ใช้แรงงานทาส ทางการสหรัฐกำลังเตรียมใช้แผนที่มีมา 86 ปีในการแบนการนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานเด็กและทาส โดยมีสินค้ากว่า 350 รายการในรายชื่อของกรมแรงงานรวมธุรกิจปลาและกุ้งในประเทศไทย จากแหล่งข่าวอื่นๆ เช่นเอพีและนิวยอร์กไทม์ได้ตั้งคำถามเรื่องเงื่อนไขการทำงานของธุรกิจอาหารทะเลของไทยอย่างต่อเนื่องรวมถึงช่องว่างทางกฎหมายที่ยังอนุญาตในมีการนำเข้าสินค้า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยและอุตสาหกรรมประมงกำลังพยายามบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว (Bangkok Post)

• รมว. คมนาคมยืนยันพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีน โดยทั้งสองประเทศยังอยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียดในการร่วมมือในโครงการรถไฟระยะทาง 873 กิโลเมตร รมว.กล่าวว่าการเจรจาของคณะทำงานครั้งที่ 10 ที่ปักกิ่งภายในสิ้นเดือนนี้จะมุ่งไปที่การสรุปรายละเอียดของแบบและสัดส่วนการลงทุนของทั้งสองฝ่าย . (Bangkok Post)

• BEM (5.10 บ., ซื้อ, ราคาเป้าหมาย AWS ปี 59 6.80 บ.) รายงานกำไรสุทธิงวดปี 2558 ที่ 2.6 พันลบ. ลดลง 3% YoY บริษัทประกาศจ่ายปันผลเป็นเงินสดที่ 0.07 บาทต่อหุ้น วันขึ้นเครื่องหมาย XD 12 เม.ษ. (SET, AWS) ความเห็น: ผลประกอบการดีกว่าที่เราคาดไว้ที่ 2.1 พันลบ. และตามประมาณการบลูมเบิร์กที่ 2.3 พันลบ. ผลประกอบการของบริษัทมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องนับจากปีนี้จากการเปิดให้บริการรถไฟสายสีม่วงและทางด่วนศรีรัชเส้นใหม่ เราคงคำแนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 6.80 บาท

• FPI (4.48 บาท ราคาเป้าหมายปี 59 6.10 บาท) สนใจขยายธุรกิจไปสหรัฐ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้ารายใหญ่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนเม.ย.นี้ ที่ตั้งเป้าเปิดสาขาเพิ่ม 5 สาขาใน 5 ประเทศทั่วโลก ล่าสุดได้พึ่งร่วมลงทุนกับพันธมิตรอินเดียรุกตลาดอินเดีย โดยคาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ 10% สำหรับความคืบหน้าการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลคาดว่าภาครัฐจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าและน่าจะประกาศผลใน ส.ค.59 (อินโฟเควส) ความเห็น: ยิ่งขยายธุรกิจไปหลายประเทศ ยิ่งน่าจะได้รายได้เพิ่มขึ้น เราคาดว่ารายได้จะเติบโต 15% ทั้งปี 59 และ 60 และโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลน่าจะเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ให้บริษัทด้วย

ต่างประเทศ

• ยังคงมีความไม่แน่ใจว่าเฟดจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้หรือในปีนี้ได้หรือไม่ ตลาดกำลังมองหาทิศทางใหม่เกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจากบรรดาตัวแทน Fed ในวันนี้ (Reuters)

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลงเมื่อวันพฤหัส เนื่องจากนักลงทุนยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ราคาพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 12/32 โดยอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 1.70% ลดลงจาก 1.74% เมื่อวันพุธ (Reuters)

สหรัฐ:

• ตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นต่อเมื่อวันพฤหัส จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอีกและยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนดีกว่าที่คาดเป็นการชี้ถึงการฟื้นตัวในภาคการผลิตสหรัฐที่กำลังดิ้นรน ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนบางรายมองเห็นโอกาสหลังจากที่ตลาดผันผวนมากในช่วงหลายสัปดาห์เนื่องจากเป็นครั้งแรกในปีนี้ที่ดัชนี S&P500 ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่หมายถึงอารมณ์ตลาดกำลังกระเตื้องขึ้น (Reuters)

• ยอดคำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าคงทนที่ผลิตสำเร็จของสหรัฐในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือน เนื่องจากความต้องการสินค้ากระจายตัวในสินค้าหลายประเภท คำสั่งซื้อสินค้าคงทนซึ่งสินค้ามีตั้งแต่เครื่องปิ้งขนมปังไปจนถึงอากาศยานจะคงอยู่ไปถึง 3 ปีหรือมากกว่านั้นเพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนก่อน พลิกกลับจากยอดคำสั่งซื้อในเดือนธ.ค. ที่ลดลง 4.6% ยอดคำสั่งซื้อนี้มีปริมาณมากที่สุดนับแต่เดือนมี.ค. 58 นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ก่อนหน้าว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะดีดกลับเพียง 2.5% ในเดือนม.ค. (Reuters)

• จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน แต่ยังคงต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้เนื่องจากตลาดแรงงานตึงตัว จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ เพิ่มขึ้น 10,000 ราย อยู่ที่ 272,000 ราย สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 20 ก.พ. นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 270,000 รายในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 51 ที่ตัวเลขดังกล่าวอยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวกับตลาดแรงงานอันแข็งแกร่ง – ยาวนานที่สุดนับแต่ช่วงต้นของยุค 1970 (Reuters)

ยุโรป:

• ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันพฤหัสบดีฟื้นตัวจากการปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ในช่วงสัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน อาทิ Lloyds ธ.พ.สัญชาติอังกฤษ รวมไปถึงแผนการ Refinance ของบริษัทแท่นขุดเจาะน้ำมัน Seadrill(Reuters)

เอเชีย:

• ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขั้นพื้นฐานในญี่ปุ่นทรงตัว YoY ในเดิอน ม.ค. ซึ่งชี้ให้เห็นว่าราคาน้ำมันและต้นทุนพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องจะกดดันให้เงินเฟ้อในญี่ปุ่นไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับ 2% ตามที่ BOJ ตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้การทรงตัวของเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาถือเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ (Reuters)

• ผู้กำหนดนโยบายจีนไม่เห็นด้วยกับแผนการอ่อนค่าเงินหยวนที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องจากต้องการความชัดเจนจากประเทศในกลุ่ม G20 ว่าจะสามารถบริหารจัดการและสร้างเสถียรภาพ
ให้กับตลาดได้ในระหว่างที่จีนกำลังดำเนินการปฏิรูปทางโครงสร้างในประเทศ (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• น้ำมันดิบล่วงหน้าพุ่ง 3% ในวันพฤหัส หนุนโดยการยืนยันจากผู้ผลิตลักว่าจะประชุมกลาง มี.ค. และโครงการใหม่ถูกเลื่อนออกไปขณะที่มีการลดการจ้างงานในอุตสาหกรรมเชลออย ผู้เข้าประชุม ได้แก่ เวเนซุเอลา ซาอุฯ รัสเซีย กาตาร์ เข้าร่วมเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตน้ำมันในโอเปคและที่อื่นลดการผลิตจากจุดสูงสุดในเดือน ม.ค. น้ำมันดิบสหรัฐเพิ่ม 92 เซนต์หรือ 2.9% ปิดที่ 33.07 ดอลลาร์ Brent ปรับขึ้น 88 เซนต์ หรือ 2.6% อยู่ที่ 35.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ (Reuters)

• เลื่อนโครงการเชลออย Continental Resources Inc ผู้ผลิตเชลออยรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของรัฐ North Dakota กล่าวว่าจะหั่นเงินลงทุนปี 59 ราว 66% และว่าจะเลื่อนกำหนดเสร็จของโครงการใน Bakken field เนื่องจากราคาน้ำมันตกต่ำ โดยตามหลัง Hess Corp and Noble Energy Inc ซึ่งเป็นคู่แข่งที่ลดงบและเลื่อนโครงการไปแล้ว (Reuters)

• ราคาทองขึ้นวันพฤหัส หนุนโดยรูปแบบทางเทคนิคที่แข็งแรงและเกิดสัญญาณซื้อขาขึ้น ขณะที่ตลาดร่วงหน้าบวกลดลงหลังจากอารมณ์ก่อนหน้ากดดันจากตลาดหุ้นที่แข็งแกร่ง ราคาทองคำตลาดจรเพิ่มขึ้น 0.6% ปิด 1,235.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (Reuters)