สนช.ชงกรธ.แก้ 5 ประเด็นหลักร่างรธน. ค้านเลือกตั้งใบเดียว

สนช.ชงกรธ.แก้ 5 ประเด็นหลักร่างรธน. ค้านเลือกตั้งใบเดียว

"สนช."ชงกรธ.แก้ 5 ประเด็นหลักร่างรธน. ค้านเลือกตั้งใบเดียว ย้ำประชาชนคุ้นระบบ 2 ใบ ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณารายงาน คณะกรรมาธิการสามัญศึกษาเสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ขอรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายสุรชัย เป็นประธาน 

นายกล้านรงค์ จันทิก รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอรายงานเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ว่า มี 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ที่มา ส.ส. คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรกำหนดให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็นสำหรับเลือกส.ส.แบบเขตเลือกตั้ง และส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบสามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง ในกรณีที่ประชาชนประสงค์จะลงคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่สังกัด พรรคการเมืองหนึ่ง แต่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีอยู่ในบัญชีรายชื่ออีก พรรคการเมืองหนึ่ง และเป็นรูปแบบที่ประเทศไทยใช้มาระยะหนึ่งจนกระทั่งประชาชนเริ่มมีความเข้าใจ และคุ้นเคยกับการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนรูปแบบไปใช้บัตรเลือกต้องแบบใบเดียว อาจทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ทำให้การทุ่มซื้อเสียงของงพรรคการเมืองทำได้ยากขึ้น เนื่องจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกตัวบุคคลและพรรคการเมืองแยกจากกันได้

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า การกำหนดเขตเลือกตั้ง ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า ควรกำหนดเขตเลือกตั้งแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ (ส.ส. 3 คนต่อ 1 เขตเลือกตั้ง) เพราะ การกำหนดเขตเลือกตั้งให้มีขนาดใหญ่ จะทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงเป็นไปได้ยากกว่าการกำหนดเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก ช่วยให้การควบคุมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนโดยผู้มีอิทธิพลไม่สามารถกระทำได้โดยง่าย และทำให้การแข่งขันภายในพื้นที่ลดความรุนแรง นอกจากนี้การกำหนดเขตเลือกตั้งควรคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การกำหนดรูปแบบที่จะสามารถฟ้องการซื้อสิทธิขายเสียงได้ หรือทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงกระทำได้โดยยากที่สุด อันจะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม และสามารถสะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนได้ ส่วนการคิดคะแนนส.ส.ควรใช้วิธีแบบสัดส่วนผสม เพราะเป็นวิธีที่ทำให้สะท้อนเจตจำนงของประชาชนในเรื่องของความนิยมต่อพรรคการเมือง และทำให้ทุกคะแนนเสียงถูกนำมาคำนวณหาส.ส.ทั้งหมดที่พรรคการเมืองพึงมี และเห็นว่าจำนวน ส.ส.ควรมีไม่น้อยกว่า 500 คน โดยแบ่งเป็นส.ส.เขต 350 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่น้อยกว่า 150 คน 

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า 2.ที่มาส.ว.คณะกรรมาธิการฯเห็นควรให้มีส.ว.จำนวน 200 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี มาจากการสรรหาทั้งหมด จากกลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคมที่หลากหลายและให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการ สรรหาส.ว.ซึ่งประกอบด้วยผู้นำองค์กรตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ควรกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ตลอดจนแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดระบบอุปถัมภ์ในกระบวนการสรรหา หรือใช้ความใกล้ชิดของผู้ที่ได้รับการสรรหากับกรรมการสรรหา อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อว่าของกระบวนการได้มาซึ่งส.ว. ทั้งนี้เหตุผลที่ให้ส.ว.มีจำนวน 200 คนและมาจากการสรรหาทั้งหมดนั้น เพราะประเทศไทยปกครองในระบบรัฐสภา จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ดังนั้นการกำหนดให้ส.ว.มีที่มาจากการสรรหา ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงจากพรรคการเมืองและแตกต่างจากที่มาส.ส.จึงมีความเป็นอิสระในการกลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบถ่วงดุลการดำเนินงานของสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาล

"การเลือกกันเองของกลุ่มต่างๆ แบบเลือกข้ามกลุ่ม เป็นการดำเนินการที่มีความซับซ้อนทำให้เกิดความยุ่งยาก แต่ละกลุ่มต้องเลือกบุคคลจากกลุ่มอื่นๆที่ไม่รู้จักกัน ซึ่งไม่ใช่เป็นตัวแทนของกลุ่มอาชีพ ตามเจตนารมณ์ของกรธ. อีกทั้งอาจถูกแทรกแซงและแลกเปลี่ยนตอบแทนผลประโยชน์ในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มจากผู้มีอิทธิทางการเมือง ดังเช่นการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือการเลือก กสทช." นายกล้านรงค์ กล่าว 

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ส่วนอำนาจหน้าที่ของส.ว.เห็นว่าควรมีบทบัญญัติการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามรัฐธรรมนูญปี 50 ไว้ เพราะการกำหนดให้ศาลเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง อาจทำให้ศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ในการตัดสินคดี ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของศาลได้

นายกล้านรงค์ กล่าต่อว่า 3.การกำหนดที่มานายกรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการฯ มีมติไม่เห็นด้วยกับหลักการที่กำหนดให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกฯ พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ ถือเป็นการจำกัดสิทธิของสภาฯในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกฯเท่านั้น และถ้ารายชื่อที่ถูกเสนอนั้นคัดเลือกมาจากกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเมื่อประกาศผลการเลือกตั้งบุคคลตามรายชื่อดังกล่าวได้รับการเลือกตั้ง บุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพเป็นส.ส. แต่ถ้าแพ้การเลือกตั้งบุคคลเหล่านั้นจะไม่มีสถานภาพเป็นส.ส.ซึ่งดูเจะป็นการไม่เหมาะสม ที่จะนำรายชื่อเหล่านั้นเสนอให้สภาฯ ลงมติให้การรับรองเป็นนายกฯ นอกจากนี้ในกรณีที่พรรคการเมืองเสนอรายชื่อผู้ที่พรรคจะเสนอเป็นนายกฯ โดยเลือกจากบุคคลซึ่งไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะเป็นจุดอ่อนให้พรรการเมืองอื่นโจมตีได้ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย  

นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า 4.ความจำเป็นที่ต้องมีกลไกลเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ คณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นว่า มีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศเฉพาะในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดแนวทางการดำเนินการเอาไว้ หรือในกรณีที่สถาบันทางการเมืองไม่สามารถใช้อำนาจรัฐ หรืออำนาจบริหารในการบริหารประเทศได้ ควรกำหนดให้มีกลไกที่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญญาวิกฤติของประเทศ โดยใช้เป็นอำนาจของรัฐสภาหรือวุฒิสภาในกรณีที่ไม่มีสภาหรือมีสภาแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แล้วแต่กรณีที่จะวินิจฉัยว่าสถานการณ์ใดที่จะถือว่าเป็นวิกฤติของประเทศ และหากปรากฏว่ารัฐสภาหรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณีมีคำวินิจฉัยว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤติของประเทศแล้ว ให้เป็นอำนาจของประธานศาลรัฐธรรมนูญในการเรียกประชุมร่วมกันของผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปลักกระทรวงกลาโหม และบุคคลอื่นใดตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยให้ที่ประชุมดังกล่าวมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์เพื่อให้ สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า และ 5.ประเด็นสำคัญอื่นๆ คือ 5.1 เห็นควรให้นำบทบัญญัติในมาตรา 4 ว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 50 มาบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ส่วนการให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 มาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่าการนำบทบัญญัติมาตรา 7 เดิมไปไว้ในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 207 ทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำมาตราดังกล่าวไปปรับใช้ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถใช้ได้เพียงตามกรอบของมาตรา 205 เท่านั้น และองค์กรอื่นก็ไม่สามารถนำหลักดังกล่าวไปใช้ได้เช่นนั้น 5.2 ควรเพิ่มบทบัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น

ตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในหมวดหน้าที่ของรัฐ 5.3 ควรให้คงหลักการตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 50 ในเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ กำหนดแนวทางการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีบุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็น 2 แนวทางคือ 1 ให้ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือ 2 ให้ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวสามารถยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง 

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า 5.4 ควรเพิ่มความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดกำลังทหารเพื่อให้การรักษาอธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง 5.5 ควรนำแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 78 (2) ของรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าการบริหาราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นด้วยมากำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ด้วย 5.6 ยกเลิกข้อจำกัดสิทธิ ในการฟ้องร้องรัฐของประชาชน โดยเห็นว่าในมาตรา 60 ของร่างรัฐธรรมนูญควรมีเนื้อหาดังนี้ “มาตรา 60 บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน” 5.7 กำหนด ให้รัฐต้องมีหน้าที่ต้องจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ อันจะเป็นการบังคับทิศทางให้ยุทธศาสตร์ชาติได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลในอนาคต 5.8 เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการตีความของหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ดังนั้นควรนำรายละเอียดของความหมายของหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความ มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ที่ได้มีการบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลมาตรา 265 ของร่างรัฐธรรมนูญมาบัญญัติไว้ในมาตารา 73 ข องร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนแทน 

นายกล้านรงค์ กล่าว่า 5.9 ควรบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดศาล เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมปี 40 และ 50 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับสถานะของศาลรัฐธรรมนูญ และเห็นการกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมควรให้เป็นอำนาจหน้าที่จอวงผู้ตรวจการแผ่นดิน 5.10 ควรกำหนดรายละเอียดของการดำเนินการเพื่อให้เกิดการปฏิรูป โดยแยกออกมาจากบทเฉพาะกาล มาเป็นอีกหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญนี้ 5.11 การห้ามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครม. สนช. และสปท. สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. หรือเป็นส.ว.เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ คณะกรรมาธิการฯขอตั้งประเด็นคำถามต่อ กรธ.ว่า เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติถ้อยคำดังกล่าวเอาไว้ และถือเป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าสู่ตำแห่งทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ ปี 50 และฉบับชั่วคราว 57 ไม่มีบทบัญญัติอันเป็นการจำกัดสิทธิในลักษณะดังกล่าวเอาไว้ 

นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า 5.12 การกำหนดกรอบเวลา ในการพิจารณาในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญของ สนช.ตามบทเฉพาะกาล เบื้องต้นเห็นว่ากรธ.จะต้องทำให้แล้วเสร็จทั้ง 10 ฉบับภายในเวลาที่กำหนด เนื่องจากหากจัดทำไม่แล้วเสร็จภายในเวลานี้ โอกาสที่จะมีการจัดทำร่างพ.ร.บ.ประกอบธรรมนูญทั้งหมดให้แล้วเสร็จ และเป็นไปตามเจตนารมของรัฐธรรมนูญจะไม่บรรลุผลเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิด ขึ้นมาแล้วในอดีต และ 5.13 การกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสนอหรือผู้มีหน้าที่พิจารณากฎหมายที่ไม่ดำเนินการภาย ในเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือภายในเวลาอันสำควร ให้ถือว่าจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการฯเห็นว่า ควรนำเนื้อหามาตรา 283 ของ รัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้การไม่ดำเนินการตรากฎหมายภายในเวลาที่กำหนดของครม. ส.สงหรือส.ว.ถือเป็นการจงจำไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า เป็นเหตุสุดวิสัย หรือเป็นเหตุที่ไม่ได้มีส่วนร่วมรับผิดขอบด้วย

จากนั้นที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบ 160 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ให้ส่งรายงานฉบับนี้ไปให้ กรธ.ประกอบการพิจารณาในวันที่ 15 ก.พ.