'เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์' มิติใหม่ประชามติร่างรธน.

'เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์' มิติใหม่ประชามติร่างรธน.

"เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์" มิติใหม่ประชามติร่างรธน.

31 ก.ค. 2559 ประชามติโหวต ‘รับ-ไม่รับ’ ร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะเกิดขึ้น หลายฝ่ายต่างเตรียมความพร้อมรับมือตามโรดแมปของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มี “มีชัย ฤชุพันธ์” นั่งหัวโต๊ะ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ผู้รับหน้าที่ “แม่บ้าน” จัดการออกเสียงประชามติตั้งแต่ร่างกติกากำกับการออกเสียงตลอดจนการประกาศผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้

เร่งปรับกลยุทธ์เท่าทันสถานการ์ยุคดิจิตอล4Gรับมือการทำประชามติอย่างเต็มที่เห็นได้จากเจ้าพ่อโซเชียล “สมชัย ศรีสุทธิยากร” สตีปจ็อบส์ แห่งกกต.เปิดตัว “แอพพลิเคชั่นดาวเหนือ” เพื่อใช้นำทางประชาชนไปสู่หน่วยเลือกตั้ง

“แอพพลิเคชั่นตาสัปปะรด” ประชาชนสามารถตรวจสอบการกระทำผิดการทุจริตในการออกเสียงประชามติส่งตรงถึงมือกกต.ได้ทันที

“แอพพลิเคชั่นฉลาดรู้” ใช้เผยแพร่ร่างเนื้อหาสระและสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนก่อนตบเท้าโหวตประชามติ

เท่านั้นยังไม่พอ “5เสือกกต.” ชุดทั่นประธาน“ศุภชัย สมเจริญ”ปิ๊งไอเดียนำ “เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์” ที่ใช้เวลาพัฒนามาแล้วกว่า15ปีตั้งแต่รุ่นที่1จนมาถึงรุ่นที่4มาใช้ในการโหวตออกเสียงประชามติครั้งนี้ด้วย

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศสำหรับการใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ในการลงคะแนนออกเสียงระดับประเทศ

“สมชัยศรี สุทธิยากร” กกต. ฝีปากกล้าเล่าให้ฟังว่าหลักคิดการพัฒนาเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดต้นทุนการจัดการไม่ว่าจะเป็นการผลิตบัตรการขนส่งการจัดพิมพ์และความสะดวกของประชาชนเพราะเราไม่ต้องพิมพ์บัตรไม่ต้องขนส่งรวมถึงไม่ต้องวินิจฉัยบัตรดีบัตรเสียที่มีมากกว่า3-5เปอร์เซ็นต์ต่อการเลือกตั้งในแต่ละครั้งแต่หากใช้เครื่องลงคะแนนไม่มีทางที่บัตรเสียจะเกิดขึ้นเลยบัตรเสียก็จะกลายเป็น0เปอร์เซ็นต์ซึ่งการนับคะแนนเป็นการประมวลผลโดยเครื่องรวมคะแนนอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็วไม่แปลกที่หลายประเทศใช้ในการเลือกตั้งทั้งประเทศเช่นอเมริกาอินเดียเนปาลหรือฟิลิปปินส์เป็นต้น

“ตั้งแต่ปี2545กกต.ชุดที่2ได้พัฒนาเครื่องลงคะแนนอเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาโดยว่าจ้างบรัษัทวิทยุการบินออกแบบให้เครื่องลงคะแนนรุ่นที่1นำรูปแบบมาจากประเทศอินเดียมีลักษณะปุ่มกดง่ายๆเพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนจากนั้นมีการรับฟังความเห็นและพัฒนาออกเป็นรุ่นที่2รุ่นที่3จนมาถึงรุ่นปัจจุบันคือรุ่นที่4”

เมื่อพูดถึงเจ้าเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโหวตประชามติหลายฝ่ายได้ยินคงร้องโอ้ว..อเมซิ่งมากๆเพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย

กกต.สมชัยจึงได้อธิบายให้ฟังว่าเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์รุ่นที่4มีทั้งหมด200ชุดโดยมีปุ่มกดเพื่อรองรับผู้สมัคร30คนต่อเขตเลือกตั้งมีระบบการพิมพ์เอกสารเพื่อบ่งบอกว่ามีการลงคะแนนเสียงอย่างไรบ้างแต่ที่ผ่านมาไม่เคยนำมาใช้ในการเลือกตั้งระดับประเทศอยู่ในขั้นของการเผยแพร่โดยที่กกต.จังหวัดนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้คุ้นเคยพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆนำไปใช้เช่นการเลือกตั้งสหกรณ์การเลือกตั้งครูหรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งประธานนักเรียนเป็นต้น

“สำหรับการออกเสียงประชามติ1หน่วยเลือกตั้งจะใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์(สีเขียว) 4ชุดเท่ากับ4คูหาในการลงคะแนนพร้อมเครื่องควบคุมการลงคะแนน(สีส้ม) 1ชุดโดยกรรมการประจำหน่วยจะเป็นผู้กดปุ่มที่ตัวเครื่องควบคุมการลงคะแนนสีส้มเมื่อมีผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิจากนั้นประชาชนจะเข้าไปตามคูหาที่มีเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวอยู่เพื่อกดเห็นชอบ-ไม่เห็บชอบในแต่ละคำถามโดยออกแบบให้มี3คำถามทั้งนี้ประชาชนสามารถเปลี่ยนใจได้ถ้ายังไม่กดยืนยันแต่เมื่อกดยืนยันแล้วผลคะแนนที่ลงจะถูกปริ้นเป็นสลิปออกมาโดยอัตโนมัติแล้วนำไปหย่อนที่หีบบัตรขนาดเล็กเพื่อเก็บไว้ตรวจสอบต่อไปหากมีผู้คัดค้าน”

กกต.ท่านนี้อธิบายต่อว่าเมื่อถึงเวลาปิดหีบเครื่องควบคุมการลงคะแนนสีส้มจะประมวลผลคะแนนพร้อมปริ้นสลิปคะแนนออกมาทันทีซึ่งผลคะแนนดังกล่าวสารมารถไปรีเช็คกับผลคะแนนที่ใส่ในหีบบัตรขนาดเล็กได้อีกด้วยอย่างไรก็ตามการใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์นั้นทำให้เราสามารถรู้ผลคะแนนได้ทันทีหลักปิดหีบไม่ถึง1นาที

“สมชัย”ย้ำว่ากกต.เปิดช่องให้ลงคะแนนแบบคู่ขนานเริ่มทำในบางพื้นที่ประชาชนมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเลือกหน่วยที่บุคคลสำคัญอยู่เพื่อให้โอกาสได้ลองใช้เครื่องและประชาสัมพันธ์ไปในตัวการเริ่มต้นครั้งแรกไม่อยากให้มีปัญหาถ้ากระจายใช้หลายพื้นที่ดังนั้นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้จะใช้บางหน่วยที่มีความพร้อมคือกรุงเทพมหานครพื้นที่ชั้นใน5หน่วยเลือกตั้งและจังหวัดภูเก็ต9หน่วยเลือกตั้งรวมเป็น14หน่วยเลือกตั้ง

“การใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้เราไม่บังคับประชาชนว่าต้องลงคะแนนโดยเครื่องลงคะแนนเราให้โอกาสประชาชนเลือกลงคะแนนว่าจะลงแบบเดิมคือกาบัตรหรือลงแบบใหม่โดยใช้เครื่องลงคะแนนประชาชนมีสิทธิเลือกแต่ยืนยันว่าเราต้องเริ่มทำทำเพื่อเป็นแบบอย่างทำเพื่อเป็นต้นแบบทำเพื่อเบิกทางในการใช้เครื่องลงคะแนนในอนาคตเพราะถ้าไม่เริ่มใช้กับการเลือกตั้งจริงแม้แต่ครั้งเดียวก็จะเป็นเพียงของเล่นหรือทำขึ้นมาเพื่อเลือกประธานนักเรียนเลือกตั้งกรรมการครูเลือกตั้งกรรมการสหกรณ์เท่านั้นดังนั้นก็ต้องตัดสินใจใช้ถ้าไม่ใช่ต้องถามว่าเราพัฒนาเครื่องไปทำไมเราใช้เงินไปไม่น้อยในการพัฒนาเครื่องที่ผ่านมาหลายสิบล้านบาทแล้ว”

สำหรับเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์รุ่นที่4ยังคงมีข้อจำกัดหลายอย่างเช่นจำนวนผู้สมัครจะสมัครได้ไม่เกิน30คนต่อเขตเลือกตั้งซึ่งหากรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองและผู้สมัครเกิดขึ้นได้โดยง่ายเครื่องดังกล่าวก็ไม่ตอบสนองหรือหากมีโจทย์การเลือกตั้งที่ซับซ้อนต้องเลือกหลายขั้นตอนเครื่องรุ่นนี้ก็คงไม่ตอบโจทย์

กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้งได้วาดฝันแผนการพัฒนาเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์รุ่นต่อไปว่าตนได้มีการหารือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อระดมความคิดว่าเครื่องที่ตอบโจทย์การเลือกตั้งในปัจจุบันคือ

1.การผลิดเครื่องที่มีจอทัสกรีนสามารถสัมผัสหน้าจอได้การออกแบบเมนูหน้าจอทำได้โดยเสรีสามารถพัฒนาหน้าจอตามโจทย์การเลือกตั้งได้นำรูปผู้สมัครมาแทนหมายเลขผู้สมัครก็เป็นได้ประชาชนก็สัมผัสหน้าจอรูปผู้สมัครได้เลย

2.เป็นเครื่องระบบตั้งเดี่ยว(stand alone)ประมวลผลโดยตัวมันเองไม่ใช่ระบบออนไลน์เพราะอาจเป็นปัญหาได้ระบบอาจล่มได้หรืออาจมีการเข้ามาแฮ๊กข้อมูล

3.ต้องมีปริ้นเตอร์ขนาดเล็กสามารถพิมพ์ผลการลงคะแนนออกมากให้ประชาชนเห็นแต่สลิปผลการลงคะแนนไม่สามารถนำกลับบ้านได้ต้องผับแล้วใส่หีบขนาดเล็กสามารถตรวจสอบรีเช็คได้ถ้ามีบุคคลคัดค้านเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นโดยไม่สุจริตยุติธรรมจะมีการเปิดหีบพิสูจน์ผลกันได้ว่าคะแนนที่ประมวลผลจากเครื่องและคะแนนที่ปริ้นบัตรออกมาตรงกันหรือไม่เราจะยึดคะแนนที่ปริ้นบัตรออกมาเป็นคะแนนหลักหากมีการประท้วงเกิดขึ้น

“โจทย์ด้านเทคโนโลยีเราเห็นภาพแล้วว่าจะออกแบบให้เหมาะสมกับอนาคตอย่างไรเพราะถ้าเราออกแบบเช่นนี้แล้วอย่างน้อยที่สุดเครื่องลงคะแนนแบบนี้จะอยู่กับเราเป็น10ปีแต่โจทย์ด้านงบประมานการเลือกตั้งแต่ละครั้งใช้เงินเกือบ4พันล้านบาทเป็นเรื่องของบัตรการขนส่งการจัดการเกือบ1พันล้านบาทหากว่าเราลงทุนกับเครื่องที่จะใช้ทั่วประเทศอาจจะต้องใช้เงินประมาน1หมื่นล้านบาทโจทย์นี้เป็นโจทย์ใหญ่โดยฐานะประเทศไทยไม่สามารถที่จะลงทุนได้ขนาดนั้นพร้อมกันทีเดียวแม้ว่าในระยะยาวการใช้เครื่องจะประหยัดกว่าก็ตาม”

กกต.สตีฟ จ๊อปส์ ท่านี้มั่นใจว่าการเลือกตั้งส.ส.ที่จะเกิดขึ้นในปี2560เราตั้งเป้าหมายโดยการพัฒนาเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ที่เป็นจอทัสกรีนประมาน100หน่วยเลือกตั้งในเขตกทม.เขตชั้นในซึ่งตั้งตัวเลขงบประมานไว้ที่10ล้านบาทถือว่าน้อยมากเพราะหากดำเนินการได้ก็จะเป็นบทเรียนที่ดีในการจัดการเลือกตั้งอนาคตต่อไป

เอาละ..น่าตื่นเต้นเสียจริงกับเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์จอทัสกรีนหวังว่าการเลือกตั้งปี60นี้คนไทยจะได้ใช้จริงนะคะท่านกกต.