ปัญหาตาที่ สว.ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาตาที่ สว.ไม่ควรมองข้าม

การใช้สายตามากเกินไปจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมที่ไม่ควรมองข้ามของ “ดวงตา” ผู้สูงวัย

การใช้สายตามากเกินไปจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมที่ไม่ควรมองข้ามของ “ดวงตา” ผู้สูงวัย

ปัจจุบันคนไทยเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ไปเป็นมนุษย์ติดจอกันมากขึ้น ระบาดไปทั่วเมืองไม่เว้นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ยิ่งในกลุ่มผู้สูงวัยด้วยแล้ว การใช้สายตามากเกินไปจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมาก ขึ้นที่สุขภาพ “ดวงตา” ของผู้สูงวัยจะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้นกว่าเดิม นอกเหนือจากการเสื่อมตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อตาเนื่องจากอายุที่มากขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อ นึกถึงว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 13 ล้านคน ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ

โดยปกติแล้ว โรคต้อกระจก (Cataract) เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยแม้กระทั่งทารก โดยมีสาเหตุหลักจากการเสื่อมของแก้วตาตามวัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักพบในผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป และยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม การถูกกระแทกหรือโดนของมีคมทิ่มแทงลูกตา และโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคระบบประสาท โรคเบาหวาน ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ วิธีเดียวคือการผ่าตัดลอกต้อกระจก แต่คุณณัฐยา แก้ไขปัญหาได้แล้วด้วย วิธีการทำให้ภูมิสมดุล

หรืออาการ “จอประสาทตาเสื่อม” (Age-Related Macular Degeneration: AMD) ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพในส่วนกลางของจอประสาทตา ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องสูญเสียการมองเห็นเป็นการ ถาวร จนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต อาการจอประสาทตาเสื่อมแบ่งได้ 2 ประเภท โดยร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นมักพบเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง จะมีการเสื่อมสลายมีโปรตีนและไขมันจับอยู่ที่จุดกลางรับภาพ จอประสาทตา จากขบวนการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ บางรายมีความรุนแรงก็อาจพัฒนาไปเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตาบอด

การรักษาอาการเหล่านี้ การแพทย์สมัยใหม่ต่างบอกว่า ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ทำได้อย่างมากเพียงหยุดหรือชะลออาการไม่ให้ลุกลาม ด้วยการฉีดยาลดการอักเสบเข้าในลูกตาโดยตรง มีหลายกรณีที่ผู้ที่เป็นไม่ รู้สึกตัวถึงความผิดปกติในการมองเห็นตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างยังมองเห็นได้ดี ดังนั้น การตรวจพบและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็นมาก แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงให้ความสำคัญ กับการตรวจสุขภาพตาเช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ในร่างกายเป็นประจำแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะจะทำให้การรักษาโรคทำได้ง่ายขึ้น