บันไดสี่ขั้น'นายกฯคนนอก'

บันไดสี่ขั้น'นายกฯคนนอก'

คณิน ออกมาอัดกรธ.เสนอให้ริบอำนาจวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็น"แผนบันไดสี่ขั้น"" ไปสู่เป้าหมายการมี"นายกฯคนนอก"

นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ออกมาแฉว่า การที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) เสนอให้ริบอำนาจวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็น“แผนบันไดสี่ขั้น" ไปสู่เป้าหมายการมี"นายกรัฐมนตรีคนนอก" อย่างชัดเจน 

บันไดขั้นที่ 1  จะได้ใช้เป็นข้ออ้างที่จะให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมดตามพิมพ์เขียว 

บันไดขั้นที่ 2 ให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจแต่งตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  

บันไดขั้นที่ 3  ให้ ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส. ด้วยข้อหาทุจริต ฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 

บันไดขั้นที่ 4 ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกฯที่มาจากคนนอกได้  

แต่ฟังแล้วก็ค่อนข้างสับสนและไม่ค่อยเข้าใจว่า  ทำไมต้องมีการนำเรื่องที่ไม่ให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาเกี่ยวข้องกับ "ที่มานายกรัฐมนตรี” ด้วย อีกทั้งการเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เกี่ยวกับวุฒิสภา แต่เป็นเรื่องของอำนาจสภาผู้แทนราษฎรโดยใช้เสียงข้างมาก  

และการที่ กรธ. ไม่ได้กำหนดว่านายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก ส.ส.  โดยมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรก็พอ และพรรคการเมืองเสนอชื่อบัญชีชื่อนายกฯได้ แค่นี้ก็เปิดทางให้ “คนนอก” มาเป็น นายกฯ ได้อย่างสะดวกอยู่แล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องมี"บันไดสี่ขั้น"ให้ยุ่งยาก 

อีกทั้งล่าสุด"นรชิต สิงหเสนี"โฆษก กรธ. ก็ออกมาเปิดเผยแล้วว่า ส.ว. จะมาจากการ"เลือกตั้งโดยอ้อม" โดยให้กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิชาชีพ คัดเลือกตัวแทนของตัวเองมาเป็น ส.ว. อาจเลือกเป็นตัวแทนตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค กระทั่งได้ตัวแทนกลุ่มระดับประเทศ ดังนั้นที่บอกว่า บันไดขั้นที่ 1 คือ ให้ ส.ว.มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดตามพิมพ์เขียว.. ก็ไม่ใช่แล้ว  

ส่วนบันไ่ดขั้นที่ 3 ทีี่ว่าให้องค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนวุฒิสภา ล่าสุด กรธ. ก็ออกมาบอกว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะ ป.ป.ช.จะไม่มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย ป.ป.ช. มีหน้าที่พิจารณาไต่สวนชี้มูลความผิดนักการเมืองและข้าราชการในคดีทุจริตและส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ซึ่งก็เป็นอำนาจเดิมที่ ป.ป.ช. มีอยู่แล้ว  ส่วนที่ว่าจะให้องค์กรใดทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น  กรธ. ยังไม่ได้พิจารณา 

ดังนั้นที่น่าสนใจอยู่ที่ประเด็นว่า ทำไมไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งที่เรื่องทางการเมือง  ก็ควรที่จะต้องใช้กระบวนการทางการเมือง อย่างเช่น วุฒิสภา ทำหน้าที่ถอดถอน หากจะอ้างว่า ที่ผ่านมา ส.ว. ไม่มีประสิทธิภาพในการถอดถอน ไม่สามารถถอดถอนใครได้ ก็อาจจะจริง แต่ก็สามารถแก้ไขโครงสร้าง ให้วุฒิสภามีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่มากขึ้นได้  อีกทั้งหากส.ว.ไม่มีอำนาจตรวจส