Daily Market Outlook (10 พ.ย.58)

Daily Market Outlook (10 พ.ย.58)

แนวโน้ม Fed จะขึ้นดอกเบี้ย และความวิตกเศรษฐกิจจีนกดดัน

คาดหุ้นไทยปรับตัวลงวันนี้ จากปัจจัยลบต่างประเทศมีน้ำหนักมากกว่าปัจจัยบวกภายในประเทศ แผนการสร้างบ้านผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาลและตัวเลขผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำผ่านสนามบินของไทย เป็นข่าวหนุนความเชื่อมั่น แต่ความกลัว Fed ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเดือน ธ.ค. และความวิตกเศรษฐกิจจีนชะลอกดดันตลาด

หุ้นเด่นวันนี้: KTC (Bt102.00; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 113.00 บาท)

บมจ.บัตรกรุงไทย เป็นหุ้นแนะนำวันนี้ หลังจากบริษัทได้รักษาคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีแม้ในสภาวะตลาดที่ไม่เป็นที่น่าพอใจในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 ณ สิ้นเดือนกันยายน อัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ของบริษัทอยู่ที่ 2.2% ในขณะที่ coverage ratio อยู่ในระดับสูงที่ 393% เนื่องจากกลยุทธของบริษัทในการเจาะเข้าหาลูกค้าที่มีรายได้สูงและได้รับผลกระทบน้อยจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ KTC จะยังเน้นการเพิ่มพันธมิตรบัตรเครดิต เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในหลาย Lifestyle เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตร รวมไปถึงเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร และรายได้ค่าธรรมเนียมด้วย เรามีมุมมองในทางบวกกับ KTC เนื่องจากเราคาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะมีการฟื้นตัวในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วง high season ของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นอีกปัจจัยนึงที่จะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค เราคาดการณ์ EPS เติบโต 22.2% ในปี 58 และ 12.3% ในปี 59 Price Pattern ของ KTC บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างชัดเจน จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal โดยเมื่อพิจารณา Price Pattern ของ KTC ที่สามารถ Break เป้าหมายหลักด้วยการปิดตลาดเหนือ 101 บาท นี่เป็นการบอกเป็นนัยว่าจะได้เห็นการทำ New High ครั้งใหม่ของ KTC โดยมีเป้าหมายแรกเพื่อทดสอบ High เดิมที่ 107.50 บาท และมีเป้าหมายแรกของการทำ New High อยู่ที่ 115.50 บาท ดังนั้นการอ่อนตัวของ KTC หากเกิดขึ้นจึงถือเป็นโอกาสในการเข้าทยอยเก็บหุ้นนั่นเอง (Resistance: 103.00, 104.00, 105.50; Support: 101.50, 100.50, 99.00)

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• หนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำสำหรับปีงบประมาณ 58 ระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ 42.99% ของ GDP หรือ 5.78 ล้าน ลบ. สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผย ต่ำกว่าปีงบประมาณก่อน 43.6% และต่ำกว่าคาดการณ์ของ สบน. ที่ 43.5% สบน. คาดว่าหนี้สาธารณะจะแตะระดับ 46% ในสิ้นปีงบประมาณ 59 ณ 30 ก.ย. 58 ภายใต้สมมติฐานการใช้จ่ายลงทุนตามเป้า (Bangkok Post, The Nation) ความเห็น: หนี้สาธารณะน่าจะอยู่ในช่วงที่ปลอดภัยแต่การที่ระดับหนี้ต่ำกว่าเป้าในปี 58 เน้นย้ำว่ารัฐยังมีปัญหาเบิกจ่ายไม่ได้ตามเป้า

• สายการบินโลว์คอสยังโตต่อจำนวนผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำใน 6 สนามบินหลักของไทยพุ่งขึ้น 34.1% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีแตะระดับ 33.4 ล้าน เพิ่มขึ้นจาก 24.9 ล้านในปีก่อน โดยสัดส่วนผู้โดยสารโลว์คอสอยู่ที่ 41.3% ของสนามบินของ บมจ.ท่าอากาศยานไทยทั้งหมด เพิ่มจาก 38.5% ขับเคลื่อนโดยนักท่องเที่ยวจีนเป็นปัจจัยหลัก (Bangkok Post)

• ดันข้อตกลงการค้าเข้าวาระประชุมเอเปค นายกฯ ประยุทธ์จะเดินทางไปฟิลิปปินส์เพื่อประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ครั้งที่ 23 ในวันที่ 18-19 พ.ย. โดยนายกฯ มุ่งจะผลักดันข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างชาติสมาชิก เพื่อชดเชยการที่ไทยไม่ได้เข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) (The Nation)

• โครงการบ้านของรัฐขนาดใหญ่รองนายกฯ ประวิทย์ระบุว่าในวันจันทร์ รัฐตั้งงบ 1 แสน ลบ.เพื่อสร้างบ้านราคาถูกกว่า 1 แสนยูนิตสำหรับผู้มีรายได้น้อยในช่วง 3 ปีข้างหน้า โครงการแรกจะตั้งในดินแดงและเริ่มพัฒนาในกลางปี 59 (Bangkok Post)

• PTTGC(55.00 บ, ราคาเป้าหมาย AWS 80.50 บาท) รายงานกำไรสุทธิงวด 3Q58 อยู่ที่ 1.2 พันลบ. หดตัวลง 87% QoQ และ 84% YoY (SET) ความเห็น: การหดตัวลงแรงของกำไรสุทธิมีสาเหตุมาจากการบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมันและการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานครั้งใหญ่ในช่วงดังกล่าว แต่ถือว่าเป็นไปตามที่ความคาดหมายของเราอยู่แล้ว เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ สำหรับ PTTGC อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับเต็มวันนี้

• BCP(55.00 บ, ราคาเป้าหมาย AWS 80.50 บาท) รายงานกำไรสุทธิงวด 3Q58 อยู่ที่ 432 ลบ. หดตัวลง 85% QoQ แต่สูงขึ้น 13% YoY (SET)ความเห็น: การหดตัวลงของกำไรสุทธิถือเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด โดยมีสาเหตุมาจากการบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมัน ประกอบกับผลของฤดูกาลฤดูฝนที่ทำให้ผลการดำเนินงานธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อ่อนตัว เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ สำหรับ BCP อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับเต็มวันนี้

ต่างประเทศ:

• OECD ปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ 2.9% จาก เดิมที่ประมาณการไว้ 3%ในเดือนก.ย. องค์กรดังกล่าวยังปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2016 เหลือ 3.3 % จาก 3.6% ที่คาดการณ์ก่อนหน้า และประมาณการณ์ว่าอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.6% ในปี 2017 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ยังเตือนว่าปริมาณการค้าทั่วโลกลดลงอย่างน่าตกใจและใกล้สู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกถึงแม้ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและประเทศอื่น ๆ จะมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2016 (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นเมื่อวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนได้กำไรจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ก่อนซึ่งได้ปัจจัยหนุนจากรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งวัดมูลค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับตะกร้าสกุลเงินต่างประเทศหลักร่วงลงหลังจากก่อนหน้านี้ที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนครึ่ง ดัชนีดังกล่าวล่าสุดปิดลดลง 0.2% อยู่ที่ 98.978 จุด (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีหุ้นในตลาดวอลล์สตรีทร่วงลงเมื่อวันจันทร์ จากดัชนี S&P500 ร่วงลงมากสุดในรอบ 6 สัปดาห์และดัชนีดาวโจนส์ (DJIA) ร่วงลงกลับไปอยู่ในแดนลบเนื่องจากนักลงทุนรอการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดหลังจากที่มีรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรและกังวลเกี่ยวกับข้อมูลการค้าของจีนที่อ่อนแอ จีนซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของสหรัฐมียอดเกินดุลการค้าที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ในเดือนต.ค. โดยยอดการนำเข้าและส่งออกลดลง (Reuters) 

• ผลประกอบการไตรมาส 3/58 ดีกว่าที่คาดการณ์ 88% ของบริษัทที่ใช้ในการคำนวณดัชนี S&P500 ได้ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/58 โดยมีกำไรสุทธิลดลง 0.9% YoY ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นเดือนต.ค. ว่าจะมีกำไรสุทธิลดลง 4.2% จากข้อมูลของทอมสัน รอยเตอร์ส (Reuters)

ยุโรป:

• หุ้นยุโรปปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ หุ้นยานยนต์ปรับตัวลงนำโดยผู้ผลิตยางรถยนต์ Continental และผู้ผลิตรถยนต์Renault แต่หุ้นพลังงานปรับตัวขึ้น ตลาดยังคงมีแนวโน้มแกว่งตัว และมีการขายทำกำไรออกมา อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นในตลาดน่าจะมีขึ้นหลังจากแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐชัดเจนขึ้นซึ่งส่งสัญญาณว่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นนับจากนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของยุโรป (Reuters)

เอเชีย:

• ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันในเดือน ก.ย. หลังจากดุลการค้ากลับมาเกินดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.47 ล้านล้านเยน (1.195 หมื่นล้านดอลลาร์) ในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นจากเกินดุล 9.78 แสนล้านเยนในเดือน ก.ย. 2014 นักเศรษฐศาสตร์คาดจะเกินดุล 2.2 ล้านล้านเยน (Reuters)

• ประธานาธิบดี ซิ จิ้นปิง: จีนต้องเร่งการปฏิรูปและปรับปรุงระบบการกำกับดูแล ประเทศโดยรวมใน 5 ปีข้างหน้า และต้องรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 6.5% ใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อบรรลุเป้าเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อคนเป็น 2 เท่าภายในปี2020 เศรษฐกิจจีนขยายตัว 6.9% ในไตรมาส 3/58 ต่ำกว่าระดับ 7.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2007-2008 (Reuters)

• อองซานซูจีนำการเลือกตั้งโด่ง พรรครัฐบาลทหารเมียนมาร์ประกาศยอมแพ้การเลือกตั้งในวันจันทร์ โดยที่พรรคฝ่ายค้านของอองซานซูจีนำโด่งอยู่และชัดเจนว่าจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ พรรคของอองซานซูจีชนะที่นั่งส.ส. 49 คน ในการนับคะแนน 54 ตำแหน่งแรกจากจำนวนส.ส. ทั้งหมด 330 คน หลังจาก 50 ปีภายใต้การปกครองเผด็จการทหาร การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบประชาธิปไตยในเมียนมาร์ (Reuters)

สินค้าโภคภัณฑ์:

• ราคาทองปรับขึ้นเล็กน้อยวันจันทร์ หลังร่วงลง 8 วันติดเป็นเพราะค่าดอลลาร์กลับตัว แต่ยังยืนใกล้ระดับสุดในรอบ 3 เดือนหลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐหนุนการคาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย ทองคำตลาดจรขึ้น 0.2% อยู่ที่ 1,090.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำล่วงหน้าส่งมอบ ธ.ค. บวก 40 เซนต์ อยู่ที่ 1,188.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)

• น้ำมันร่วงราว 1% วันจันทร์ ทำให้ลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4 แล้ว กดดันโดยน้ำมันคงคลังที่สะสมตัวขึ้นที่จุดส่งมอบน้ำมันสหรัฐล่วงหน้า ประกอบกับตลาดหุ้นวอลสตรีทที่ปรับตัวต่ำลง Brent ร่วง 23 เซนต์ (0.5%) ปิดที่ 47.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล 42 เซนต์หรือ 1.0% ปิดที่ 43.87 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)