Dollar-Cost Averaging…กลยุทธ์ง่ายๆที่ให้ประสิทธิผลดี

Dollar-Cost Averaging…กลยุทธ์ง่ายๆที่ให้ประสิทธิผลดี

สำหรับการลงทุนระยะยาว ทาง DBS เห็นว่ากลยุทธ์ทยอยซื้อเท่าๆกันในระยะเวลาที่ครอบคลุม Cycle ของการลงทุนทั้งขาขึ้นและขาลง

หรือที่เรียกว่า Dollar-Cost Averaging นั้นให้ประสิทธิผลในการลงทุนเป็นอย่างดี เพราะในความเป็นจริงแล้วเราก็ไม่รู้ว่าสูงสุดหรือต่ำสุดอยู่ตรงไหนแม้ว่าทุกคนอยากจะซื้อตอนหุ้นถูกที่สุดและขายตอนแพงที่สุดกันทั้งนั้น ซึ่งจากการศึกษาของ DBS ในหลายๆ Cycle ของ SET Index พบว่าผลออกมาเป็นดังนี้ 

Episode 1 : ศึกษา SET Index ในรอบม.ค.43-ก.พ.45 (Tech Bubble Burst) พบว่าในการลงทุนเท่าๆ กันทุกสิ้นเดือน เดือนละ 10,000 บาท เริ่มจาก Index 31 ม.ค.43 ที่ 477.6 จุด และจบที่ Index 28 ก.พ.45 ที่ 371.8 จุด คิดเป็นระยะเวลาลงทุน 26 เดือน จะได้อัตราผลตอบแทน 18% (แม้ว่าอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบต้น-ท้ายจะ -22.2% ก็ตาม)

Episode 2 : ศึกษา SET Index ในรอบธ.ค.46-ม.ค.49 (Political Turmoil) พบว่าในการลงทุนเท่าๆ กันทุกสิ้นเดือน เดือนละ 10,000 บาท เริ่มจาก Index 31 ม.ค.46 ที่ 772.2 จุด และจบที่ Index 31 ม.ค.49 ที่ 762.6 จุด คิดเป็นระยะเวลาลงทุน 26 เดือน จะได้อัตราผลตอบแทน 13% (แม้ว่าอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบต้น-ท้ายจะ -1.2% ก็ตาม)

Episode 3 : ศึกษา SET Index ในรอบต.ค.50-ก.ย.52 (Great Recession) พบว่าในการลงทุนเท่าๆ กันทุกสิ้นเดือน เดือนละ 10,000 บาท เริ่มจาก Index 31 ต.ค.46 ที่ 907.3 จุด และจบที่ Index 30 ก.ย.52 ที่ 717.1 จุด คิดเป็นระยะเวลาลงทุน 24 เดือน จะได้อัตราผลตอบแทน 18% (แม้ว่าอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบต้น-ท้ายจะ -20.9% ก็ตาม)

Episode 4 : ศึกษา SET Index ในรอบเม.ย.56-ก.ย.57 (QE Tapering) พบว่าในการลงทุนเท่าๆ กันทุกสิ้นเดือน เดือนละ 10,000 บาท เริ่มจาก Index 30 เม.ย.56 ที่ 1,597.9 จุด และจบที่ Index 30 ก.ย.57 ที่ 1,585.7 จุด คิดเป็นระยะเวลาลงทุน 18 เดือน จะได้อัตราผลตอบแทน 11% (แม้ว่าอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบต้น-ท้ายจะ -0.8% ก็ตาม)

สรุป : จากผลการศึกษา 4 Episodes ข้างต้น เห็นได้ว่าการทยอยซื้อแบบ Dollar-Cost Averaging สามารถทำกำไรได้แม้ว่าจะเริ่มเข้าซื้อในช่วงที่ดัชนีตลาดสูงมากก็ตาม แต่ควรใช้เวลาในการลงทุนรอบละ 1.5 ปีขึ้นไป

สำหรับหุ้นปัจจัยพื้นฐานที่เป็น Top Picks ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ DBS ทำการวิเคราะห์ และสามารถเลือกลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging ได้ ประกอบด้วย

     # กลุ่มธนาคาร – KBANK                          # กลุ่มพาณิชย์ – CPALL
     # กลุ่มวัสดุก่อสร้าง – SCC                         # กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง – CK                        
     # กลุ่มอิเลคทรอนิกส์ – KCE                       # กลุ่มพลังงาน – PTT                       
     # กลุ่มอาหาร – MINT                              # กลุ่มโรงพยาบาล – BDMS
     # กลุ่มสื่อสาร – INTUCH                          # กลุ่มอสังหาฯ – CPN, LPN, QH 
     # กลุ่มปิโตรเคมี – PTTGC                         
     # กลุ่มโรงแรม - CENTEL
     # กลุ่มขนส่ง – AOT