ถอดบทเรืยนหมอกควันภาคใต้

ถอดบทเรืยนหมอกควันภาคใต้

ถอดบทเรืยนหมอกควันภาคใต้ สู่เป้าหมายความร่วมมือของอาเซี่ยน

สถานการณ์หมอกควันป่าพัดมาจากอินโดนีเซียปกคลุมพื้นที่หลายจังหวัดในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง โดยปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนมีค่าทะลุ 210 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีผลต่อสุขภาพ จากค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

"เหตุการณ์ครั้งนี้คงจะต้องมีการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้เพื่อมากำหนดมาตรการรับมือใครครั้งต่อไปหรือปีหน้าหากมีสถานการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีกในอนาค ซึ่งในอดีตไม่เคยปรากฎปริมาณฝุ่นละอองเกิน 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเราไม่เคยเจอ"

นายฮาเล็ม เจะมาริกัน ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กรมควบคุมมลพิษ กล่าวและว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์หมอกควันที่พัดจากอินโดนีเซียเข้ามามากในปีนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

ประกอบด้วย 1.ลมกระแสที่ผ่านมาภาคใต้ค่อนข้างจะเบาบาง ความเร็วอยู่ที่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 50 กว่ากิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งถือว่าช้ามาก2.ลมทั้งสองฝั่งคือฝั่งอันดามันและอ่าวไทยขนาบเข้ามาในภาคใต้ ทำให้กลุ่มควันวนอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ไม่ออกไปไหน รวมถึงมาเลเซียที่หมอกปกคลุมนานเป็นอาทิตย์ก็มาจากสาเหตุนี้เช่นกัน3.คือฝน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้นำฝนเข้ามาตกในพื้นที่ภาคใต้เบาบางมาก และในวันที่ 6-7-8 ต.ค.ก็ยังไม่มีฝนตก อากาสที่จะมีฝนทั่วพื้นที่ภาคใต้มีน้อยมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้กลุ่มหมอกควันหนาแน่นและไม่เคลื่อนตัว

"ที่ผ่านมากลุ่มควันระหว่างตอนใต้ของบอร์เนียวกับเกาะสุมาตรา ไม่ค่อยจะมารวมตัวกัน ต่างคนต่างไป คือกลุ่มควัรนจากเกาะสุมตราจะเข้ามาภาคใต้ จากบอร์เบียวก็จะไปทางขาวไม่เข้ามาภาคใต้ ที่ผ่านมาผลกระทบจากหมอกควันในภาคใต้จะมาจากกลุ่มควันจากเกาะสุมาตราเป็นหลัก"

แต่ปีนี้กลุ่มควันจากบอร์เนียวและเกาะสุมาตรามันมาขนาดข้างและพัดเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้กลุ่มควันจากทั้งสองกลุ่มมารวมกัน เข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ มาเลเซีย และสิงโปร์เต็มๆ ทั้งหมดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ควันหนาแน่นและเกินมาตรฐานในหลายจังหวัด

และที่สำคัญกลุ่มควันที่มีมากยังเกาะกลุ่มกันอยู่อย่างยาวนานกว่าที่ผ่านมา จากที่ผ่านมาการควันจะหนานแน่นและมีปริมาณฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณไม่เกิน 1 วัน แต่ครั้งนี้ผ่านมาแล้ว 4 วัน และจะผ่านวันที่ 5 และยังไม่รู้ว่าจะนานต่อไปหรือไม่

"ปัจจัยที่ทำให้ควันในปีที่ผ่านๆมาไม่กระจุกอยู่นาน ก็เนื่องจากกระแสลมที่พัดผ่านมีความเร็วเกิน 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บวกกับมีฝนตกลงมา ที่ช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายได้เร็วขึ้นที่ผ่านมา รวมถึงกระแสลมที่พัดมารวมกันยันกันระหว่างฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย"

ส่วนมาตรการรับมือกับปัญหาหมอกควันจากอินโดนีเซียมี 2 ระดับ คือ ระดับระหว่างประเทศในอาเซี่ยน ซึ่งมีการพูดคุกันทุกปี ล่าสุดคณะมนตรีของอาเซี่ยนก้ได้ตกกันว่าเป้าหมายของอาเซี่ยนคือจะต้องไม่หมอกควันเกิดขึ้น นั่นคือเป้าหมาย ซึ่งทุกประเทศมีเป้าหมายร่วมกัน

แต่ทางเดินที่ไปสู่เป้าหมายว่าจะทำอย่างไรให้อาเซี่ยนไม่มีปัญหาหมอกควันก็ต้องมาคุยกับกำหนดเส้นทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะมันเรื่องรายละเอียดปฏิบัติค่อนข้างแยะ แต่สิ่งที่เกิดเป็นรูปธรรมสำหรับกลุ่มอาเซี่ยนในเรื่องปัญหาหมอกควันข้ามพรหมแดนก็คือ

ระบบสารสนเทศระหวางอาเซี่ยนด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทำให้ทุกประเทศในอาเซี่ยนสามารถรับรู้ข้อมูลปัญหาหมอกควันได้อย่างทันท่วงที อันนี้สิ่งมันเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งตอนนี้เรามีศูนย์เฝ้าระวังเรื่องปัญหาหมอกควันอาเซี่ยนอยู่ที่สิงคโปร์และมีการเชื่อมข้อมูลไปยังอาเซี่ยนผ่านดาวเทียม

อันต่อมาก็คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เป็นการเฉพาะหน้าของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้ว่าอินโดนีเซียเองก็ได้วางกองกำลังที่จะระงับเหตุเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ป่า ซึ่งเขาก็ทำได้ดีพอสมควร แต่ในเรื่องที่ป้องกันเพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้นเลยมันเป็นเป้าหมายที่เราต้องเดินไปให้ถึงในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานี่คือเรื่องระหว่างประเทศ

สำหรับเรื่องภายในประเทศของเราเอง สำหรับมาตรการรับมือเมื่อเหตุมันเกิดขึ้น เหมือนอย่างครั้งนี้ ก็คือ การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นั่นคือทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด หรือไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีการพูดคุยกันพอสมควรจากเหตุการณ์ครั้งนี้

โดยเฉพาะหน่วยงานระดับจังหวัดเอง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันเยกตัวอย่างสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 ก็มีหน้าที่รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศให้เร็วที่สุด เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมความพร้อม

ต่อมาก็คือหน่วยงานที่ต้องช่วยเหลือประชาชนจะต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธุ์ การแจกอุปกรณ์ป้องกัน เช่นหน้ากากอนามัยอต่างๆ ซึ่งครั้งหน่วยงานที่พื้นที่เมืองมีการตื่นตัวและดำเนินการค่อนข้างรวดเร็ว

"แต่ปัญหาก็คือหน่วยงานที่ตื่นตัวจะอยู่ในเขตเมือง ส่วนพื้นที่รอบนอก เช่น เทศบาลขนาดเล็ก หรืออบต. เช่นที่จ.สตูลซึ่งมีปริมาณฝุ่นละอองเกิน 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต้องมีมาตรการเสริมทันที เช่น คนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือไม่สามารถป้องกันตัวเองจะต้องได้รับการช่วยเหลือ"

เช่นการอพยพมาอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการในพื้นที่ก่อน เช่น มาอยู่ในห้องประชุมของเทศบาล หรืออบต.เป็นการชั่วคราวก่อนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะการอยู่บ้านอาจจะไม่ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้หน่วยงานเกล่านี้จะต้องเตรียมพร้อมเรื่องนี้

และสุดท้ายคือเครื่องมืองในการแจ้งเตือนปัญหาหมอกควัน คือ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัติโนมัติที่ยังไม่เพียงพอ ที่จะต้องมีการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ 5 จุด ในปัจจุบัน คือ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ยะลา และนราธิวาส ฉะนั้นควรจะต้องมีการตั้งสถานนีตรวจวัดคุณภาพอากาศเพิ่ม

ประกอบด้วย ปัตตานี พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล ซึ่งการมีสถานีตรวจวัดคุณภาพเพิ่มขึ้นในภาคใต้ จะทำให้การแจ้งเตือนข้อมูลสถานหมอกควันจะเร็วและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เมื่อการรับรู้สถานการณ์ได้เร็วก็สามารถเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น

รวมถึงวิธีการจัดการกับข้อมูลเพื่อคาดการณ์อนาคต ซึ่งตอนนี้เรามีศักยภาพทำได้เต็มที่ แค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งมันไม่พอ เนื่องจากความต้องการเรื่องของการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาอาจจะต้องคาดการณ์อนาคตได้มากขึ้น เช่น ประมาณ1สัปดาห์

"โชคดีที่ 2 ปีที่ผ่านมา เรามาเจอปัญหาหมอกควันจากในพื้นที่ภาคใต้ของเราเอง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธาส และพรุเคร็ง จ.นครศรีธรรมราชเชข้ามาผสมโรงด้วย แต่ปีนี้เราโชคดีไม่งั้นสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้จะหนักมากกว่านี้"

ทั้งหมดคือมาตรการในประเทศและความร่วมมือกับต่างประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อจัดการกับปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในเวลา