นับหนึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ'มีชัย'

นับหนึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ'มีชัย'

เริ่มนับหนึ่ง“รัฐธรรมนูญ” ฉบับ“มีชัย” เป็นตัวจริงของคสช. มาตลอด และมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรกของการยึดอำนาจ

ประกาศออกมาแล้วสำหรับรายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่  โดยมี “มีชัย ฤชุพันธ์” รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการตามคาด ซึ่งชื่อของเขาถูกเสนอมาเป็นชื่อแรก ก่อนที่จะมีชื่ออื่นๆตามมาแต่เมื่อวันท้ายๆ ก็เหลือเพียงชื่อนี้เพียงชื่อเดียว 

เอาเข้าจริงแล้วไม่น่าแปลกใจ เพราะ“มีชัย” นั้นเป็นตัวจริงของ คสช. มาโดยตลอด และมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรกของการยึดอำนาจ  ที่ผ่านมาเขาอาจจะไม่ออกมายืนแถวหน้าเหมือนกับพรรคพวกเช่น  “วิษณุ เครืองาม” ที่มาเป็นรองนายกรัฐมนตรี  หรือ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” ที่มาเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ 

แต่เป็นที่รู้กันว่า “มีชัย” คือมือกฎหมายมือหนึ่งของ คสช. และเป็นเบื้องหลังตัวจริง มีส่วนในการเขียนกฎหมาย ร่างประกาศ คำสั่ง และออกแบบเรื่องต่างๆ รวมถึงเจรจากับต่างชาติ 

สิ่งที่พิสูจน์ทราบถึงความสำคัญของเขาต่อ คสช. คือ ใน คสช. ชุดแรก มีพลเรือนเพียง 2 คน ที่ได้เป็นสมาชิก คสช. คือ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” และ “มีชัย ฤชุพันธุ์” และเมื่อไม่กี่วันมานี้ก็มีการปรับสมาชิกคสช. โดยมีพลเรือนเหลือเพียงคนเดียวซึ่งก็คือตัวเขานั่นเอง  

ซึ่งหากดูแล้วจุดเด่นของ “มีชัย” ก็ตรงตามสเป็คอย่างชัดเจน คือเข้าใจและรับรู้ถึงเจตนาของ คสช. เป็นอย่างดี  และที่สำคัญเขาไม่ใช่แค่สายตรง คสช. หากแต่ด้วยความที่เป็นหนึ่งใน คสช. เลย จะทำให้แนวคิดหลักจะถูกยิงตรงเข้าไปยังร่างรัฐธรรมนูญ  ทำให้มั่นใจได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมานั้นจะตรงใจ คสช. อย่างแน่นอน   และที่สำคัญเขาไม่ใช่แค่สายตรง คสช. หากแต่ด้วยความที่เป็นหนึ่งใน คสช. เลย จะทำให้แนวคิดหลักจะถูกยิงตรงเข้าไปยังร่างรัฐธรรมนูญ  ทำให้มั่นใจได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมานั้นจะตรงใจ คสช. อย่างแน่นอน  

และด้วยความที่เป็น “มีชัย”จึงทำให้มองได้ว่าการส่งคนระดับนี้ลงมาย่อมมีนัยยะว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจจะเป็นฉบับที่ต้องการให้ผ่านการทำประชามติ เพราะมิเช่นนั้นแล้วคงไม่ถึงขนาดต้องลำบากใช้ “มือหนึ่ง”ลงมาเล่นด้วยตัวเอง 

ส่วนเรื่องการทำประชามตินั้น ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า ที่"มีชัย" ยังอึกอัก อิดออด เพราะไม่ต้องการให้มีการทำประชามติ แต่ ณ วันนี้เขาพูดชัดแล้วว่าประชามติจะเกิดขึ้นแน่นอน  

"ต้องมี เพราะว่ากรธ.เมื่อร่างเสร็จ ก็ไม่มีองค์กรใดมารองรับ อย่างคราวที่แล้ว เมื่อ กมธ.ยกร่างฯ เมื่อร่างเสร็จยังมี สปช.มารองรับคอยโหวตว่าเอาหรือไม่เอา แต่ครั้งนี้ ทั้ง 21 คน ตัดหางปล่อยวัดเลย แล้วถ้าขืนเอาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จมาใช้เลย ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น ตนคิดว่า การทำประชามติยังเป็นของจำเป็น เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้" 

ส่วนตัวคนในกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็เรียกได้ว่ามีหลายเรื่องที่ต้องให้ตีความเช่น การที่ไม่มี อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุด “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” เข้ามาเลยนั้น ก้ทำให้มองได้ว่าเขาต้องการให้กรรมการร่างฯชุดนี้ทำงานอย่างอิสระ เพราะพื้นฐานจะต้องพิจารณาตามกรอบของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นอยู่แล้วดังนั้นจึงต้องการคนที่จะสามารถมาปรับแก้ได้หากมีความจำเป็น และทำให้เห็นว่าพวกเขามีความเป็นอิสระและแตกต่างจากกรรมาธิกรยกร่างฯ  

หรือการที่มีอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ถึง 4 คน คือ  นายนายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นายอัชพร จารุจินดา และ พล.อ.อัฏพร เจริญพาณิช ก็อาจจะตีความได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจะใช้ ตัวแบบของ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "บวรศักดิ์"และ ฉบับ 2550 มาผสมกัน 

กระทั่งการให้อดีต กกต. เข้ามาร่วมถึง 2 คน คือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ อดีตประธาน กกต. และ นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีต กกต.ก็อาจจะสื่อถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทบทวนเรื่องระบบการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามน่าสนว่าเมื่อเปลี่ยนกรรมการชุดใหม่เนื้อหาจะสามารถหลีกจากเดิมได้ขนาดไหน เพราะขนาดเงื่อนไข 5 ข้อ ที่ “มีชัย” แถลงออกมานั้นก็ยังอยู่ในกรอบพิมพ์เขียวที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาตรา 35 ระบุเอาไว้ 

และต้องไม่ลืมว่าเหตุผลที่ สปช. คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว  ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องเนื้อหา หากแต่เป็นบรรยากาศโดยรวม และใครบางคนยังไม่ต้องการให้เกิดการทำประชามติขึ้นเนื่องด้วยยังไม่แน่ใจอะไรบางอย่าง  

ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าร่างฉบับนี้เนื้อหาจะไม่หนีจากเดิมมากนัก  ซึ่งก็ต้องไปลุ้นว่าในชั้นประชามติจะทำอย่างไร แต่ก็เป็นไปได้สูงว่าสุดท้าย คสช. น่าจะพยายามทำทถุกวิถีทางให้ผ่าน รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มเงื่อนไขว่า"หากไม่ผ่านจะเขียนเอง" 

จึงน่าสนว่าแม้เนื้อหาจะคล้ายของเดิม แต่พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงโดยใส่อะไรเพิ่มหรือถอดอะไรออก ไม่เกิน 6 เดือน รู้กัน