เลขาฯสมช.ยันเก็บข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือ มีความสำคัญ

เลขาฯสมช.ยันเก็บข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือ มีความสำคัญ

"อนุสิษฐ คุณากร" ให้สัมภาษณ์การพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว เหมือนนักโทษที่ต้องคดี แต่ที่สุดมาทำงานการพัฒนาฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของตัวเอง

นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้สัมภาษณ์พิเศษรายการ “ชั่วโมงที่ 26 “ ถึงการบูรณาการเครือข่ายทางหลวงอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลที่เชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐ (เครือข่ายซุเปอร์จิน)  ว่า เป็นนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มองเห็นว่าระบบฐานข้อมูลของประเทศมันกระจัดกระจาย มันมีความหลากหลาย หากได้นำมาบูรณาการกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของภาครัฐ  ภาคประชาชน และ ภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ฉะนั้นการบูรณการชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศ นายกรัฐมนตรี มองเห็นว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  จะเป็นแกนหลักในการที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการ โดย ไอซีที ได้วางระบบที่เรียกว่า เน็ทเวิร์ค ที่เรียกว่า จิน ของรัฐบาลไว้ทั่วประเทศแล้ว หรือ แต่การเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่เป็น ที่เรียกร้อง ซิท และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแต่ระบบ ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่นายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีการขับเคลื่อน และกำหนดทิศทางให้ชัดเจน

นายอนุสิษฐ กล่าวว่า  ขณะนี้แต่กระทรวงมีการเชื่อมโยงกันในลักษณะบางอย่างเป็นระบบแมนนวล การส่งสารด้วยระบบโทรศัพท์ ขณะนี้ไปได้ไกลพอสมควร เช่น ข้อมูลจากรมสรรพากร  กรมการปกครอง ที่ดูแลทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลของตำรวจ กับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการยาเสพติด ( ปปส.)  ก็มีเรื่องของการเชื่อมโยงกัน และยังมีข้อมูลอีกหลายชุดที่เชื่อมโยงกันแล้ว แต่ก็มีอีกหลายระบบที่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยน่าจะมีการปฏิรูประบบชุดข้อมูลเหล่านี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการของรัฐ  เพื่อของประชาชนเองด้วย ฉะนั้นคำถามที่ว่าประชาชนจะตกใจ และสับสนเรื่องการเก็บข้อมูลการพิมพ์นิ้วมือ ตนมองว่าโจทย์ดังกล่าวจะต้องอธิบาย และสร้างความรับรู้ว่าเจตนารมย์ของการบูรณาการข้อมูล เพื่อประโยชน์ของประเทศที้งสิ้น และจะทำให้ประเทศเราสามารถยกระดับของการใช้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งภาคราชการ ประชาชน และ เอกชน ในการรวมมือขับเคลื่อนประเทศ

"การพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว เหมือนนักโทษที่ต้องคดี และในท้ายที่สุด ทุกคนเอาความรู้สึกมาทำงานการพัฒนาฐานข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง กรณีใดบ้าง เช่น มีขโมยขึ้นบ้าน มีอุบัติเหตุ แล้วไม่สามารถพิสูจน์ตั้วบุคคลใด ลายพิมพ์นิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว จะเป็นประโยขน์ขณะนี้ระบบทะเบียนราษฦร์ เราเก็บนิ้วมือไว้ 2 นิ้ว คือนิ้วโป้งซ้าย และ ขวา ถ้านิ้วโป้งซ้าย และ ขวาไม่มี ก็จะให้ใช้นิ้วชี้ น้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อย ตามลำดับ แต่ ณ วันนี้ ตนคิดว่าภัยพิบัติ แม้กระทั่งภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น การมีไอดีของบุคคลที่ครบถ้วนจะเกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการแน่นอน ประชาชนที่มองแค่ความรุ้สึกว่าที่พิมพ์ 10 นิ้ว เป็นคนที่ถูกต้องคดี แต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่ หากไปชี้อย่างนั้นประเทศไทยไปไหนไมได้ เพราะจะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยด้วย"

นายอนุสิษฐ กล่าวว่า การบูรณาการครั้งนี้ประชาชนได้รับประโยชน์ในเรื่องการนำไปใช้ติดต่อกับระบบราชการ สมมติว่า ตนขึ้นไปสถานที่ราชการแห่งหนึ่งและไปทำกิจกรรมกับรัฐ เช่นการเปลี่ยนบัตรประชาชน ขณะเดียวกัน อยากตรวจสอบข้อมูลความเป็นเจ้าของที่ดินของตนเอง หรือ ในขณะเดียวกันที่ตนติดต่อกับสถานที่ราชการในครั้งนี้ อยากรู้ว่าขณะนี้ครอบครัวของตน หรือลูกสาว มีถิ่นฐานอยู่ที่ไหน หรือ ถ้าเชื่อมโยงกันได้จริง บัญชีธนาคาร ความเป็นหนีสิ้น การตรวจสอบบัตรเครดิต ก็สามารถทำได้

ส่วนที่หลายคนเกรงว่า ข้อมูลทางด้านการเงิน การทำผิดกฎหมาย จะถูกรวบมา และตรวจสอบได้จุดเดียวนั้น  นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ไม่ได้หมายความอย่างนั้น เพียงแต่ยกตัวอย่างหากระบบไปไกลประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร  ถ้าง่าย ๆ จะไปสมัครงาน จริง ๆ แล้ว ภาคเอกชนจะออนไลน์ กับระบบข้อมูลบุคคล ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สุดท้ายไม่ต้องไปถ่ายเอกสาร แต่สามารถอัพขึ้นมาได้เลย หรือเคยทำงานที่ไหน อาจจะไปดูของทะเบียนการจ้างงาน  ซึ่งกรมการจัดหางาน หรือกระทรวงแรงงานมีทะเบียนเหล่านี้อยู่ ก็จะรู้ว่าโปรโฟล์อันนี้เคยทำงานที่ไหนมาบ้าง  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่คนเหล่านั้นไปทำงานได้โดยที่ไม่ต้องวิ่งหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ  แต่ไม่รู้ว่ามีข่าวว่าจะมีการเก็บดีเอ็นเอด้วย ซึ่งความจริงการไปเก็บข้อมูลดีเอ็นเอ จะมีกฎหมายรับรอง  แต่ในเรื่องของลายพิมพ์นิ้วมือ ตนได้ยินอยู่หลายครั้ง แล้วลายพิมพ์นิ้วมือ ถ้ามองในแง่ของประโยชน์ของประชาชน ประชาชนไม่ได้เสียประโยชน์อะไร ย้นอถามว่ากลับไปว่าการเก็บลายนิ้วมือของประชาชนแล้วประชาชนจะเสียประโยชน์อะไร

"การเก็บข้อมูลที่เป็นลายพิมพ์นิ้วมือ ซึ่งประเด็นสำคัญคือประชาชนจะต้องเข้าใจว่า การบริหารจัดการบริหารของภาครัฐในระบบของการเก็บข้อมูลอัตตลักษณ์ที่แสดงตัวตนของแต่ละคนนั้น มันมีประโยชน์ หรือ มีโทษอย่างไร  เราขาดการอธิบาย ที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ ต่อระบบของการจัดเก็บชุดข้อมูลเหล่านี้ สิ่งสำคัญเราเพียงแต่อธิบายในสิ่งที่เป็นไปในทางลบ เช่น การพิมพ็ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว มันจะมีประโยชน์กับใคร และ มีโทษกับใคร ตนคิดว่าบางทีไปเหมารวม การพิมพ์นิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว เหมือนกับเป็นการต้องโทษ เหมือน 20–30 ปีที่ผ่านมา ถ้าใครถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาล วันนี้ข้อมูลอัตตลักษณ์มีความจำเป็นของประเทศ ที่เราจะต้องมีชุดข้อมูลเหล่านี้ในการเก็บไว้สำหรับประชาชนภายในประเทศ ไม่ว่าการกระทำใด ๆ หรือกิจกรรมใดที่เกิดขึ้น การเก็บอัตตลักษณ์ของบุคคลเป็นการสะท้อนการบริหารจัดการในทุกเรื่อง"

นายอนุสิษฐ กล่าวว่า การออกแบบระบบข้อมูลในการรวมข้อมูลไว้ที่ดีกัน คือข้อมูลอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่ไหน หรือหน่วยงานไหนก็อยู่ของหน่วยงานนั้น โดยเราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ข้อมูลที่กระจายอยู่มาแชร์กันได้ สามารถทำงานได้ร่วมกันทันที โดยกระทรวงไอซีที รับไปดำเนินการ สำหรับในส่วนของชุดข้อมูลก็จะต้องมีการออกแบบเช่นเดียวกัน เช่นข้อมูลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบางส่วนราชการ ส่วนราชการนั้นก็ไม่สามารถเข้าถึง หรือไม่มีประโยชน์ในการเข้าถึง ข้อมูลของประชาชนที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ได้จากระบบซุปเบอร์จิน หรือการบูรณาการข้อมูลชุดนี้ คิดว่าประชาชนน่าจะได้ประโยชน์อย่างมากเลย

เช่นการแจ้งเตือนภัย ถ้ามีช่องทางที่ประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจนว่าควรจะรู้ในช่องทางใด หรือสื่อมวลชนเอง ควรจะได้รับรู้ว่าข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยของรัฐนั้น สื่อมวลชนก็จะไม่สับสน โดยจะได้ชุดเดียวกัน และไม่ต้องไปตามเก็บข้อมูล และจะได้ไม่ขัดแย้งกัน เพราะข้อมูลจะมาจากแหล่งเดียวกัน ดังนั้นการทำงานในการบูรณาการเป็นงานที่ยากขึ้น เพราะจะต้องมีการประเมินวิเคราะห์ และตัดสินใจ เพื่อการเตรียมการในการเตือนภัยกรณีที่เกิดภัย ทั้งนี้ สมช. เราฝึกซ้อมแผนบริหารวิกฤติการณ์มาทุกปี โดยปีที่แล้วได้เห็นภาพของระบบการบูรณาการข้อมูลที่มีข้อบกพร่อง

ส่วนการเฝ้าระวังบุคคล เช่น การเปิดอาเซียนในอนาคต ระบบการเฝ้าระวังบุคคล การเข้าออก การข้ามแดน การตรวจสอบกับประชากรในประเทศไทย ซึ่งมีไอดีของตัวเองแล้ว ขณะนี้มีความห่างกันอยู่ว่ายังไม่สามารถที่จะมาแชร์ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. ที่มีระบบ พีบิ๊ก กำลังขยายไปทั่วทุกจุดตรวจที่มี ตม.อยู่ ซึ่งในเรื่องระบบการเข้าเมืองจะต้องมาแชร์ประวัติอาชญากร หรือ แบล็คลิสต์ของ ปปส. หรืออาจจะต้องมาแชร์กับกรมราชทัณฑ์  คนที่เข้าเมืองมาที่มีคดี มีหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ก็จะเกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการ อีกหน่อยการหลบหนีออกนอกประเทศอีกหน่อยคงจะทำได้ยากมาก

ทั้งนี้ระบบข้อมูลที่ออนไลน์ด้วยไอพี หรือ อินเตอร์เน็ทโฟโตคอล ท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบด้วยระบบโมบายที่เป็นสมาร์ทโฟน ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ข้อมูลของทะเบียนรถยนต์ ที่เข้ามาดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่สามารถทำงานได้ ซึ่งถือว่าเกิดประโยชน์กับประชาชนกรณีรถยนต์หาย หรือ ต้องสงสัย  ซึ่งกรมขนส่งทางบกให้ความร่วมมือ และเกิดประโยชน์อย่างเห็นทันตา

การการบูรณาการจะออกมาคล้าย ๆ กับภาพยนต์ต่างประเทศ  ใส่หมายเลขบัตรประชาชนจะออกมาเลยว่าคนนี้เคยมีหมายจับอะไรบ้าง นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ต้องได้ครับ เพราะว่าระบบพวกนี้เราคาดหวังว่าความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองจะมีการจัดการบริหารดีขึ้น และประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้นโยบายที่นายกรัฐมนตรีสั่งการจะเป็นผลบวกทั้งสิ้น  ยกเว้นว่า อาจจะมีข้อสงสัยว่าอันนี้เข้ามาละเมิดหรือไม่ หรือเอาลายพิมพ์นิ้วมือ 10 นิ้ว จะเป็นโจรหรือไม่ แต่ในทางกลับกันถ้าเราไม่ใช่โจรเป็นคนปกติทำมาหากินโดยสุจริต ตนคิดว่าไม่มีใครปฏิเสธ ซึ่งคนที่ไม่ได้กระทำผิดไม่ต้องกังวลเลย

เพราะทุกอย่างมันได้ประโยชน์ทั้งหมด ถ้าเราไม่ได้เป็อาชญกร หรือ เป็นผู้ประพฤติผิด หรือกระทำการทุจริตในหน้าที่ การตรวจสอบเหล่านี้เป็นเรื่องความโปร่งใสของประเทศ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวไม่เกี่ยวความรุนแรงในพื้นที่ กทม. เพราะนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายไปนานแล้ว โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ก.พ.2558  นายกรัฐมนตรีได้สั่งการตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้ ไอซีที  รับไปดำเนินการ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาบูรณาการ โดยเลขาธิการ สมช. เป็นเลขานุการของคณะทำงานชุดนี้

ถ้างานข้อมูลเชื่อมโยงกันแล้ว การตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้กระทั่งสมมติว่าเรามีข้อมูลในเรื่องของวัตถุระเบิดที่มีส่วนประกอบหลายอย่าง มีบทเรียนมากมายในทั่วโลก การตรวจสอบที่มาที่ไป ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะว่าเรื่องเหล่านี้มีรูปแบบ และองค์ประกอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีทัศนคติในทางลบ และอยากจะสื่อสารด้วยว่า ถ้าการบูรณาการด้านความมั่นคงมันเกิดขึ้นจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบบชุดข้อมูลของประเทศมันจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าอัพเดท ข้อมูลที่ทันสมัย ที่เป็นจริง ไม่มีการสวม ซึ่งอาจจะจะยกตัวอย่างได้

บางคนมีคนกล่าวอ้างว่า บางทีในทะเบียนบัตรประชาชน เสียชีวิตไปแล้ว ก็มีการสวมหมายเลข ปลอมบัตรประชาชน บางคนตกหล่นทางทะเบียน บางคนมีบัตรประชาชนหลายใบ เช่น เป็นบัตรของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน กรณีหลบหนีเข้าเมือง ทำงานผิดกฎหมาย และกระทรวงก็ออกบัตรนี้ให้ แต่จะมีบัตรอื่นอีก เช่น บัตรของชาวเขา หรือบัตรของชนกลุ่มน้อยในอดีต ซึ่งมีบัตรสีของเขาอยู่เหมือนกัน ซึ่งบางทีคนเหล่านี้ไปถือบัตรหลายไป และหนีเข้าเมืองก็ไปขออีกบัตรหนึ่ง ทั้งนี้หากแชร์ข้อมูลแล้วการให้ข้อมูลก็จะไม่ยาก ท้ายที่สุดประชาชนจะได้ประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่แล้ว