จักรยานในเสียงเพลง

จักรยานในเสียงเพลง

บทเพลงจากอดีตถึงปัจจุบัน มีรถจักรยานเป็นองค์ประกอบ และสื่อความหมายหลายหลาก ทั้งสนุก-สุข-เหงา-เศร้า

รถจักรยานเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางอย่างหนึ่ง และเป็นปฐมบทในการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการเดินทางยุคแรกๆ ก่อนจะพัฒนาจากการใช้แรงงานของคนขับขี่มาเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง จนกลายเป็นรูปแบบรถมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ในทุกวันนี้ โดยนวัตกรรมรถจักรยานนั้น นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของมนุษยชาติ

ขณะเดียวกันรถจักรยานยังเป็นมรดกทางปัญญาของมนุษย์ ที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน และพัฒนาการมาจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย

สำหรับเมืองสยามของเรานั้น รถจักรยานเริ่มเข้ามาเป็นที่รู้จักในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยยุคแรกๆ ที่เข้ามานั้นจะเป็นที่นิยมของผู้ที่มีฐานะดี รวมทั้งกลุ่มพ่อค้าวาณิชที่มีฐานะร่ำรวย ก่อนที่จะแพร่หลายในเวลาต่อมา

จักรยานในมิติงานศิลปะ

หากมองรถจักรยานเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้การเดินทางไปไหนมาไหนให้สะดวก และลดการใช้แรงงานในการเดิน มันก็เป็นเพียงรถจักรยานคันหนึ่งเท่านั้น....แต่ถ้ามองในมุมอื่นๆ ก็จะเห็นถึงรูปทรงการออกแบบ ซึ่งจะมีทั้งความแข็งแกร่ง และความสวยงามที่สอดรับกับการใช้งาน ตลอดจนสีสันของจักรยานแต่ละคันด้วย

เช่นเดียวกับแสงที่สาดกระทบกับรถจักรยานที่ตั้งขาตั้งเอาไว้ ก็จะทำให้เห็นอีกภาพหนึ่งของรถจักรยาน ไม่ว่าจะเป็นขอบล้อที่สะท้อนแสงเป็นเงาวาววับ หรือเงาของรถจักรยานที่ทอทาบข้างฝา ไปจนถึงสีมันวับของตัวรถยามต้องแสงตะวัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดเป็นความงามอีกอย่างหนึ่ง ที่มิใช่เพียงรถคันหนึ่งที่จอดตั้งเอาไว้เท่านั้น

เหมือนกับงานศิลปะหลายแขนง ที่นำเอารถจักรยานเข้ามาเป็นส่วนประกอบของงานชิ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจักรยานที่เป็นภาพสีและขาวดำ, ภาพเคลื่อนไหวของจักรยานในหนัง, ภาพเขียนสีน้ำและสีน้ำมัน, ภาพแกะสลัก, ภาพทอเป็นลายผ้า ฯลฯ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเกี่ยวกับรถจักรยาน จะเห็นเป็นความงามอีกมิติหนึ่ง มิใช่รถจักรยานสำหรับปั่นเพื่อการเดินทางและออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว

และรถจักรยานที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาสาระของบทเพลงแต่ละเพลงก็เช่นกัน ก็สามารถจะสะท้อนให้เห็นหลากหลายทั้งความคิดและความรู้สึก

จักรยานในเสียงเพลง

นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีเพลงไทยจำนวนไม่น้อยที่ได้นำเอารถจักรยานมาเป็นองค์ประกอบในการบอกเล่าเนื้อหาสาระของบทเพลงนั้น เพื่อให้ผู้ฝังเกิดความซาบซึ้งและคล้อยตามเสียงเพลง

ไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสตริงยุคใหม่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มักจะมีจักรยานปรากฏหลายเพลงด้วยกัน โดยทำหน้าที่สื่อสารเนื้อของเพลงแตกต่างกันไป บางเพลงเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบบางอย่าง แต่สำหรับบางเพลงจักรยานก็เป็นตัวหลักที่บอกเล่าเนื้อหาของเพลงโดยตรง

ถ้าจะแยกแยะถึงการทำหน้าที่ของ ”จักรยาน” ในบทเพลงแล้ว มีหน้าที่หลักใหญ่ๆที่พอจะสรุปได้ดังนี้

เป็นตัวแทนการบอกเล่าถึงความทรงจำอดีตเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของการให้กำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงชนชั้น และฐานะเป็นตัวแทนของความเศร้า และความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นตัวแทนของการประชดประชันเป็นตัวแทนของความสนุกสนานเป็นตัวแทนในการสร้างมิตภาพและความสามัคคีเป็นตัวแทนสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตและสังคม

นี่เป็นหน้าที่หลักๆ ของรถจักรยานที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเพลง ซึ่งหลายเพลงที่ฮิตติดหูมานานตั้งแต่อดีต จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

สนุก-สุข-เหงา-เศร้า ในจักรยาน

ในเนื้อหาของ “เพลงปั่นจักรยาน”ที่แต่งเนื้อร้องโดยประภาส ชลศรานนท์ และมีจักรพัฒน์ เอี่ยมหนุน เป็นผู้แต่งทำนอง โดยเป็นเพลงประกอบหลักในงานมหามงคลกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่” เมื่อวันที่ 16 ส.ค.58 ที่ผ่านมานั้น เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการทำหน้าที่ของจักรยานในเสียงเพลงในแง่มุมของการสร้างมิตรภาพ ความสามัคคี และการสร้างพลังใจร่วมกัน ดังที่เนื้อเพลงบอกว่า

การเดินทางด้วยกันมันเพิ่มมันเติมเรื่องราวในความสัมพันธ์ คืนและวันเปลี่ยนผันยิ่งทำให้เรายิ่งรักกันมากมาย เพราะโลกนี้ช่างกว้างใหญ่ และรักของเราก็ใหญ่ สุขเพียงใดที่เธอกับฉันฝ่าฟันทุกเส้นทาง ฉันกับเธอกับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน วิ่งต่อกันราวกับนกที่ผกผินบินเพื่อฝ่าลม และฝ่าฝนอยู่บนฟ้า

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา

การเดินทางสร้างเราให้เติบและโตขึ้นมาในทุกคราว การเดินทางเปิดเราให้มีมุมมองขึ้นมาอีกมากมาย เพราะรักในทางกว้างไกล เพราะรักในโลกกว้างใหญ่ พุ่งทะยานออกไปกับเจ้าสองล้อที่คู่ใจ ฉันกับเธอกับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน วิ่งต่อกันราวกับนกที่ผกผินบินเพื่อฝ่าลมและฝ่าฝนอยู่บนฟ้า

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา หนทางข้างหน้าที่เราเห็น เป็นธรรมดาที่ปัญหาขวางกั้น ชีวิตต้องฝ่าฟันอุปสรรคนับพัน

จักรยานก็คงเหมือนกัน ขวากหนามเท่าไรไม่ยั่น แม้ว่าเราบากบั่นย่อมผ่านพ้นไป

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา

ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน ปั่นด้วยใจที่แสนชื่นบาน ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านสองล้อเรา

แต่ถ้าหากถึงแง่มุมอื่นๆแล้ว จักรยานในเสียงเพลงยังทำหน้าที่อีกหลายอย่าง เช่น การสะท้อนให้เห็นถึงฐานะและความน้อยเนื้อต่ำใจ ดังที่ปรากฏในเพลง จักรยานคนจน” ที่ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจดังตัวอย่างเนื้อเพลงที่ว่า

คนจนอย่างพี่ ไม่มีเงินเป็นอำนาจ จะไปสามารถ บังคับสะกดจิตใจ คนสวยของพี่ จึงคิดจะมีรักใหม่ ไปนั่งท้ายมอเตอร์ไซค์ รุ่นใหม่เมดอินแจแปน จักรยานของพี่ ราคาไม่กี่ร้อยบาท

ถึงช้าอืดอาด แต่ก็เมดอินไทยแลนด์ ต้องใช้ขาปั่น รถพี่มันถึงจะแล่น ไม่เหมือนรถเครื่องต่างแดน ยิ่งเร่งยิ่งแล่น เพราะใช้น้ำมัน ฯลฯ “

หรืออีกแง่มุมหนึ่งของจักรยานในบทเพลงก็คือ การประชดประชัน ดังที่ปรากฏในเพลงเพลง สาวมอเตอร์ไซด์ ที่ขับร้องโดย จรัล มโนเพ็ชร” ซึ่งจะมีลักษณะไปในทางเสียดสี

อ้ายคนจนจำต้องทนปั่นรถถีบ จะไปจีบอีน้องคนงาม พอไปถึงอ้ายก็ฟ่างเอิ้นถาม พอไปถึงอ้ายก็ฟ่างเอิ้นถาม อีน้องคนงามกินข้าวแลงแล้วกา น้องได้ยินก็ปิดประตูดังปั้ง อ้ายเลยฟ่างจูงรถถีบออกมา อ้ายคนจนบ่มีวาสนา อ้ายคนจนบ่มีวาสนา จะไปขี่ฮอนด้าหรือยามาฮ่าไปได้จะใด

กำเดียวก็มีรถยามาฮ่า ร้อยซาวห้าก๋ายหน้าอ้ายไป น้องได้ยินก็ฟ่างลุกตามไฟ น้องได้ยินก็ฟ่างลุกตามไฟแล้วเอิ้นออกไป (อ้ายมอเตอร์ไซค์ไปไหนมาเจ้า)

อ้ายได้ยินยังมาผิดใจแต๊ว่า จะขายนาซื้อคาวาซักกัน พอไปถึงอ้ายจะเบิ้ลน้ำมัน พอไปถึงอ้ายจะเบิ้ลน้ำมัน ฮื่อน้องแก๊นควันตายช่างมันสาวมอเตอร์ไซค์ ฯลฯ

ยังมีอีกหลายเพลงและหลากหลายแนวที่นำเอาจักรยานมาทำหน้าที่ในการเล่าเรื่อง ซึ่งต่างลีลาตามรูปแบบหรือแนวของเพลงนั้นๆ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอีกหลายๆ ด้าน

ขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของผู้คนแต่ละช่วงวัยในสังคมด้วย

 

------------

ครูสุรินทร์ ภาคสิริ

นักแต่งเพลง

ถ้าจะย้อนไปในยุคแรกแล้ว จะมีเพลงหนึ่งที่ชื่อ จักรยานคนยากที่ขับร้องและแต่งโดย ชวนชัย ฉิมพะวงศ์แต่ตอนนั้นยังไม่ดัง จนกระทั่งมาเป็นชื่อเพลง จักรยานคนจน” แล้วเอามาให้ ยอดรัก สลักใจ” ร้องนั่นแหละ เพลงนี้จึงโด่งดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง

ผมเองก็เคยแต่งเพลงหนึ่งที่นำเอาจักรยานมาเป็นองค์ประกอบ ชื่อเพลง นกน้อยในทุ่งนา”เป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง เพลงรักลูกทุ่งร้องโดย บุปผา สายชลสำหรับหนังเรื่องนี้บุบฝา สายชล เป็นคนลงทุนสร้างร่วมกับศรีไพร ใจพระ เธอแสดงร่วมกับนาท ภูวนัย ซึ่งนานมาแล้วล่ะ

ถ้าจะพูดถึงเสน่ห์ของรถจักรยานแล้ว จักรยานมันเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนชนบทนั่นเอง ซึ่งคนชนบทแต่เดิมนั้น จะขี่ควายก่อน จากนั้นก็นั่งเกวียน ต่อมาก็ขี่จักรยาน ก่อนที่จะมาเป้นมอเตอร์ไซค์อย่างในทุกวันนี้

เพราะฉะนั้น ชีวิตคนชนบทจะคุ้นเคยกับจักรยานมาก และด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีเพลงลูกทุ่งหลายเพลงที่นำเอาจักรยานมาใส่ไว้ในเนื้อเพลง เพื่อเป็นองค์ประกอบสำหรับบอกเล่าเนื้อหาของเพลงไปสู่ผู้ฟัง

----------------

ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต

นักกวี นักค้นคว้าอิสระ: นักวิจัยสาขาเพลงลูกทุ่ง โครงการดุริยะแห่งรัตนโกสินทร์ ของมูลนิธิหอสมุดดนตรี รัชกาลที่ 9

เพลงลูกทุ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ใช้ จักรยาน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบทเพลง แต่ไม่ใช่ลูกทุ่งอย่างเดียวเม่านั้น แม้กระทั่งวงดนตรีสุนทราภรณ์อย่างในเพลง สาวบ้านแต้ ก็นำเอารถจักรยานเข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย โดยเนื้อหาของเพลงได้กล่าวถึงวิถีชีวิตในท่อนที่ว่า

จากไปตั้งแต่วันตี้ห้า วันตี้ห้าเดือนกันยายน พ.ศ.2499 พ.ศ.2499 ..เจ้าซิอ่องไร่เด้อ เฮ็ดเป้อเซ่อคือกระด้งฟัดข้าว เจ้าซิอ่องไร่แม่ สาวบ้านแต่ขี่ซักกะยาน สาวบ้านแต่ขี่ซักกะยาน

หรืออย่างนักร้องลูกทุ่ง ในยุคเพลงรำวงฟูเฟื่อง ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่มีเนื้อหาบทเพลงเกี่ยวข้องกับ จักรยาน

อย่างเช่นเพลง  สาวรถเก๋ง ที่เดินเรื่องด้วยหนุ่มบ้านนากับสาวที่เข้าในเมืองกรุง เมื่อได้นั่งรถเก๋งก็เมินรถจักรยาน

กระดิ่งสองล้อน้องไม่เสน่หา น้องจึงได้เบือนหน้าเหยียดหยามพี่สิ้นความหมาย ไม่เหมือนเสียงแตร รถเก๋งไพเราะจับใจ เบาะนิ่มน้องนั่งสบาย จึงได้เปลี่ยนใจไปนั่งรถเก๋ง

อีกเพลงหนึ่งของนักร้องคนเดียวกันที่พูดถึงมอเตอร์ไซค์แล้วการเข้าแทนที่จักรยาน คือเพลง สาวมอเตอร์ไซค์ แต่เนื้อเพลงนี้ออกแนว 18 บวก

เพราะแค่ท่อนแรกก็พูดท่าทางการนั่งถีบจักรยานของหญิงสาว

โอ๊ยน่าดูเสียจริง ผู้หญิงขี่จักกะยาน ยิ่งดูยิ่งเพลินนัยน์ตา อีตอนไขว่ขานั่งคล่อมอาน กระโปร่งสั้น ๆ เห็นขาขาวผ่อง (ซ้ำ) อย่างงี้ขอจองเป็นอานรองจักกะยาน

หรือในท่อนแยกที่ร้องว่า จักรยานมันช้าไปหันมาขี่มอเตอร์ไซค์ให้มันโด่งดัง สตั๊ดหรือแม่แซงดะ รถเก๋ง รถกระบะ ชิดซ้ายหลีกทาง แม้นั่งปั้นเสียจนอานไม่ติดก้น (ซ้ำ) ผู้ชายซ้อนท้ายเลยหล่นลงมานอนครวญคราง

เสียดายว่าจำไม่แน่ชัดว่าใครเป็นคนแต่งเพลงนี้ แต่ส่วนมากเพลงของ ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย นั้นจะมาจากปลายปากกาผู้เป็นทั้งเพื่อนและนักแต่งเพลงคู่บุญนาม สุรพล สมบัติเจริญ

เพลิน พรหมแดน ซึ่งแต่งเองร้องเองโดยใช้นักแต่งเพลงจากชื่อจริงว่า สมส่วน พรหมสว่าง

ในเพลง สาวเจ้าจงเอ็นดู ก็ใช้จักรยานเป็นการบอกสถานะความยากจนของหนุ่มบ้านนอกที่อยากพาคนรักมาเที่ยวเมืองกรุง อ้อนให้เห็นใจในท่อนแยก

มีรถก็เป็นรถจักรยาน มันมีแต่อาน ไม่มีเบาะเหมือนเก๋งคันใหญ่ อย่างดีก็เพียง พาเจ้าจำเรียงไปขี่รถไฟ อย่างดีก็เพียง พาเจ้าจำเรียงไปขี่รถไฟ เห็นใจพี่บ้างหรือเปล่า ขอวอนเจ้าสาวเอยจงเอ็นดู

แต่คนที่ทำให้เพลงเกี่ยวกับจักรยานเป็นที่แพร่หลายและโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้คงไม่พ้นเพลง จักรยานคนจน  คำร้อง – ทำนอง ชวนชัย ฉิมพะวงศ์  ขับร้อง ยอดรัก สลักใจ

เพลงจักรยานคนจนได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒

เพลงนี้เกิดจากที่รัฐบาลรงณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงานโดยหันขี่รถจักรยาน ตรงกันกับยุคน้ำมันขึ้นรถราคาจึงเพลง น้ำมันแพง ของ สรวง สันติ ซึ่งแต่งเองร้องเองในชื่อนามนักแต่งที่ชื่อว่า จำนง เป็นสุข

นอกจากนี้ ยอดรัก สลักใจ เกี่ยวกับจักรยานจากปลายปากกานักแต่งเพลงคนเดียวกันในเพลงคุณนายลูกสาวกำนัน มีเพลงร้องแก้ของยุพิน แพรทอง ในเพลง คุณนายจักรยาน

ยังเพลงที่เกี่ยวจักรยานตรงอย่างเพลง สาวมอเตอร์ไซค์ ของ จรัญ มโนเพ็ชร แม้ไม่ใช่เพลงแนวลูกทุ่งแต่เนื้อหาทำนองเดียวกัน

ลูกทุ่งยุคปัจจุบันก็มีเพลง จักรยานแก่นหล่อน คำร้อง – ทำนอง สัญลักษณ์ ดอนศรี ขับร้องโดยวง ร๊อคแสลง เมื่อหลายปีที่ผ่านมา