ร่างรัฐธรรมนูญ'ไม่ให้เสียเปล่า'

ร่างรัฐธรรมนูญ'ไม่ให้เสียเปล่า'

เปิดออกมาให้เห็นรายละเอียดชัดๆแล้ว สำหรับ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์"ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งให้สปช.

เปิดออกมาให้เห็นรายละเอียดชัดๆแล้ว สำหรับ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์"ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อให้ สปช.ลงมติในวันที่ 6 กันยายน นี้ 

จุดสำคัญที่ผู้สนใจรอดู คือ รายละเอียดชัดๆของ “คณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ” และี่มีประเด็นอะไรที่ไม่เคยเปิดเผย “ซ่อน” อยู่่ัูี้ีหรือไม่  

จุดแรก คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ หลังจากรายละเอียดที่มาชัดๆ โดยเฉพาะในส่วนของ “ประธานกรรมการฯ” ได้รับคำยืนยันจาก “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ว่า ตามโครงสร้างดังกล่าว คนที่เป็น “นายกฯ” สามารถเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ได้ถ้าได้รับคัดเลือกตามกฎเกณฑ์  

อย่างไรก็ตาม ในวาระเริ่มต้นบทเฉพาะกาลกำหนดว่ายังไม่ต้องตั้งกรรมการในส่วนที่เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และนายกฯ จนกว่าจะได้มาซึ่งทั้ง 3 บุคคลดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญนี้ แต่หากกรรมการฯที่เหลือจะเลือก "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ในฐานะบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นประธาน ก็สามารถทำได้  

ในส่วนของอำนาจนั้น คณะกรรมการยุทธศาสตร์มีทั้งอำนาจเสนอ กำกับ ควบคุมการดำเนินการเพื่อให้เกิดการปฏิรูป

และปรองดอง หากเห็นว่าใครไม่ทำตาม สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ และที่สำคัญคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปและปรองดองที่คณะกรรมการฯกำหนด  

นี่คืออำนาจในภาวะปกติ ไม่เกี่ยวกับ “อำนาจพิเศษ” ที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลมาตรา 280 ซึ่งเขียนล้อมาจาก “อำนาจพิเศษของประธาน คสช.” ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ต่างกันตรงจากที่เป็นอำนาจ “ประธาน คสช.” ก็มาเป็นอำนาจ “ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ฯ” และจากที่คำสั่งมีอำนาจเหนือทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ก็ให้มีอำนาจเหนือเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยให้ใช้อำนาจพิเศษนี้ได้ในเวลา 5 ปีหลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้  

อีกจุดสำคัญไม่แพ้เรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ อยู่ในบทเฉพาะกาลมาตรา 278 คือ เขียนให้คงคสช.และอำนาจทุกประการของ คสช.และหัวหน้า คสช.ไว้ จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่  

แน่นอนเมื่อพูดถึงอำนาจ คสช.ก็ย่อมต้องนึกถึงอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของหัวหน้า คสช.  

“ไพบูลย์ นิติตะวัน” ยอมรับตรงๆว่านี่คือการยืดอายุและอำนาจ คสช.ซึ่งเขียนเอาไว้ชัดเจน เพื่อให้ภารกิจของ คสช.มีความสมบูรณ์  

“ทำภารกิจให้สมบูรณ์” ในความหมายของไพบูลย์ ก็น่าจะเหมือนกับที่เคยพูดกันว่า “เพื่อไม่ให้เสียของ” หรือที่นายกฯ เคยพูดว่า “จะไม่ให้เสียเปล่า”  

“ถือเป็นการอยู่เพื่อทำภารกิจให้สมบูรณ์ คือการดูแลความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะในช่วงเลือกตั้ง ไหนๆเข้ามาดูแลแล้วก็ดูแลให้จนจบ ไม่อยากให้มีปัญหาช่วงรอยต่อ” ไพบูลย์ กล่าว  

6 กันยายน คือด่านแรก ซึ่งคงผ่านฉลุย รอดูด่านที่สองอีกครั้งต้นปีหน้า ตอนทำประชามติ!