เดินหน้าแก้เด็กแว้น-ร้านเหล้า ใช้ ม.44 กฏเหล็กคุม

เดินหน้าแก้เด็กแว้น-ร้านเหล้า ใช้ ม.44 กฏเหล็กคุม

"พล.ต.ท.ประวุฒิ" เดินหน้าแก้เด็กแว้น-ร้านเหล้า ใช้ ม.44 กฏเหล็กคุม

พลตำรวจโทประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บังคับใช้มาตรการแก้ปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และการควบคุมสถานบริการหรือสถานประกอบการ ทั้งในส่วนการคุมเข้มสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า คำสั่งตามมาตรา 44 ที่ออกมาในส่วนของมาตรการคุมร้านเหล้าหรือสถานบริการใกล้สถานศึกษานั้น ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ ในการใช้อำนาจในการตรวจค้นสถานบริการ การจับกุมที่ง่ายขึ้น และการยับยั้งทั้งสถานบริการซึ่งไม่ได้ระบุระยะว่าต้องใกล้เพียงใดจึงมีความผิด แต่ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตำรวจที่จะเข้าไปตรวจสอบ เช่นเดียวกับการแก้ปัญหากลุ่มเด็กแว้น เจ้าหน้าที่ก็สามารถสกัดยับยั้งแค่เพียงมีการรวมตัวกันของกลุ่มเด็กแว้นก็มีความผิด

“ตั้งแต่มีการบังคับใช้มาตรา 44 ต้องขอบคุณทุกหน่วย ที่ทำให้การปฎิบัติง่ายขึ้น สามารถบังคับ ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเข้าตรวจค้นร้านเหล่าต่างๆ เด็กแว้นตามตรอกซอกซอย การจับกุมก็ง่ายขึ้น เเต่ก่อน บาดเจบเสียชีวิต คำสั่งออกมาเเค่รวมตัวกันอยู่จับได้แล้ว รวมไปถึงร้านเหล้าก็สามารถหยุดยั้งได้”พลตำรวจโทประวุฒิ กล่าว

นอกจากนี้ยังกล่าวต่อว่า หลังจากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเห็นตรงกันว่าการแก้ปัญหาในโดยภาพรวม จะใช้ฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีการแก้ไขทั้งระบบ ทั้งเรื่องการบำบัด การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้กับเยาวชน โดยจะบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ รวมทั้งจะรณรงค์ให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ ที่จะคอยสอดส่องดูแลบุตรหลานที่มีพฤติกรรมเสี่ยงก็สามารถแสดงเจตนามาที่ตำรวจได้

“การทำผิดของเด็ก ต้องตีกรอบและเน้นไปที่ตัวผู้ปกครองด้วย เคยมีผู้ปกครองหลายท่านแสดงความกังวลว่าด้วยสังคมที่เปลี่ยนไป อาจเป็นปัจจัยทำให้เด็กทำผิด ซึ่งตำรวจเสนอว่า ถ้าเริ่มรู้สึกว่าเด็กมีความเสี่ยงที่จะก่อเหตุ ผู้ปกครองก็สามารถมาแสดงความจำนงกับตำรวจได้ว่า ไม่ได้ปล่อยปละละเลย ซึ่งตอนนี้ตำรวจอย่ระหว่างการประสานกับกระทวงพัฒนาสังคมว่าในกรณีถ้าพ่อเเม่มาร้องเราจะทำยังไง”พลตำรวจโทประวุฒิ กล่าว 

ด้านนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงยุติธรรม จะเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองเด็ก ที่เอาผิดกับผู้ปกครอง ที่ปล่อยปละละเลย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการนำเข้าอุปกรณ์ตกแต่งรถที่ผิดกฎหมาย การตั้งด่านตรวจเข้มอย่างจริงจัง

“แนวคิดเอาผิดพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราแค่มาย้ำ ในคำสั่ง คสช. บอกว่าพ่อเเม่ต้องรับิดชอบร่วมกันถ้าเด็กทำผิด หรือมีเเนวโน้มเเข่งรถให้เจ้าหน้าที่เชิญมารับทราบ เเละ ถ้าพบว่าลูกทำผิด เอา พรบ.คุ้มครองเด็ก มาบังคับใช้ว่าต้องทำทัณฑ์บนหรือจำคุก”

ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการประชุมหารือกัน ก็จะมีการสอบถามปัญหาการใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่งว่าแต่ละจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเป็นส่วนสำคัญที่จะ ประสานกับฝ่ายปกครองอื่น และตำรวจ ทำอย่างต่อเนื่อง

ส่วนกรณีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา นายชาญเชาวน์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องวัดระยะห่างของสถานศึกษาและร้านเหล้า แต่ต้องใช้วิธีการพูดคุยกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าติดตาม

“เราไม่จำเป็นต้องวัดว่าบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษากับร้านเหล้าต้องมีระยะห่างเท่าไหร่จึงจะผิดกฎหมาย แต่เราควรใช้วิธีการเข้าไปทำความเข้าใจกับคนในชุมชนให้เข้าใจกฎหมายนี้เสียก่อน และกำหนดกรอบเวลา ภายใน 6 เดือนนี้ให้เสร็จ และประกาศเป็นข้อตกลงร่วมกัน บังคับใช้ให้เคร่งครัดว่า ห้ามขายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องปิดเป็นเวลา ไม่มียาเสพติดและอาวุธ ถ้าผิดไปจากนี้ ก็สั่งปิดสถานเดียว ยิ่งถ้าอยู่ใกล้สถานศึกษาก็ให้ปิดตายไปเลย เรื่องให้ ชุมชน มาร่วมเป็นเรื่องท้าทายหวัง ว่า จะมีความเข้าใจ กฎหมายนี้เปิดทางให้เรามาคุยกัน. ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดต้องทำความเข้าใจ เเละ เเก้ไข ปัญหาในจังหวัดของตัวเอง”นายชาญเชาวน์กล่าว