สศก.ประเมินหนึ่งตำบลหนึ่งล้าน ตอบสนองชุมชนแก้ภัยแล้ง

สศก.ประเมินหนึ่งตำบลหนึ่งล้าน ตอบสนองชุมชนแก้ภัยแล้ง

สศก.ประเมินหนึ่งตำบลหนึ่งล้านตอบสนองชุมชนแก้ภัยแล้ง “โอฬาร” ชี้โครงการเข้าถึง-บริหารโดยชุมชนตอบโจทย์รัฐบาลที่ต้องการช่วยเกษตรกร

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตามมติครม.วันที่ 27 มิถุนาย 2558 ว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาาพันธ์-มิถุนายน ซึ่งมีชุมชนเกษตรกรยื่นขอรับโครงการมากถึง 3,044 ตำบล รวม 6,598 โครงการ ของบประมาณสนับสนุน 3,004.51 ล้านบาท โดยแต่ละตำบลได้รับเงินตำบลละ 1 ล้านบาท กิจกรรมที่ชุมชนเสนอที่น่าสนใจมี 4 ประเภทคือการจัดการแหล่งน้ำชุมชน มากถึง 3,331 โครงการ การผลิตทางการเกษตรและแปรรูปผลิตผลเกษตรเพื่อสร้างรายได้ในฤดูแล้งของชุมชน 636 โครงการ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2,370 โครงการ และ การจัดการเพื่อลดความสูญเสียผลผลิตเกษตร 261 โครงการ มีเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานเข้าร่วมโครงการ 360,659 คน งานแรงงาน 5,409,880 แรงมีครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า 2.66 ล้านครัวเรือน      

“สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ได้ประเมินโครงการในเบื้องต้นซึ่งพบว่าเป็นโครงการที่ดีเกษตรกรพอใจสูงมากเนื่องจากให้ชุมชนดำเนินการเองเป็นกระบวนการของชาวบ้านทุกอย่างและเข้าสู่ชุมชนไม่ได้เป็นการว่าจ้างเอกชนมาดำเนินการ ไม่ได้เอาโครงการของรัฐบาลมาให้่ เป็นโครงการและมีเงินหมุนเวียนระยะสั้นคือ 5 เดือนซึ่งรู้สึกดีใจกับชาวบ้านที่จะมีรายได้ในช่วงหน้าแล้งถือเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาล”       

อย่างไรก็ตามโครงการดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 98 เปอร์เซ็นต์และถือว่ามีประโยชน์มากเพราะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งในระยะยาวส่งผลให้ชุมชนได้รับประโยชน์เพราะบริหารจัดการกันเองและถือเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ของรัฐบาลที่ต้องการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเป็นการท้าทายความคิดของเกษตรกรเช่นกัน เพราะเราใช้งบประมาณไปกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ชุมชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการจ้างงานและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วย   

ทั้งนี้ขั้นตอนในการดำเนินงานกรมส่งเสริมได้มอบหมายให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล (ศบกต.)เป็นตัวแทนชุมชนขอรับการสนับสนุนงบประมาณและค่าจ้างแรงงาน โดยขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินในโครงการฯ ได้ทำอย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้การจ่ายเงินถึงชุมชนจะจ่ายผ่านระบบบัญชีเงินฝากของธนาคาร ค่าใช้จ่ายวัสดุมีการจัดทำบัญชีเบิกจ่ายวัสดุของชุมชน ซึ่งได้รับคำแนะนำจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ ส่วนงบประมาณการจ้างงานจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรตามข้อตกตลงการจ้างแรงงานซึ่งได้รับความร่วมมือจากธกส.ลดหย่อนค่าธรรมเนียม   

ในเดือนกรกฎาคม คณะกรรมการบริหารโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งระดับกระทรวงจะสรุปผลโครงการซึ่งจะพิจารณาถึงโครงการที่มีต่อเนื่อง เร่งด่วน หรือเป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่องเกษตรกรชุมชนเพื่อเสนอครม.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับแหล่งน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ