ระวังโทรศัพท์ในที่โล่งแจ้งเสี่ยงถูกฟ้าผ่า

ระวังโทรศัพท์ในที่โล่งแจ้งเสี่ยงถูกฟ้าผ่า

“ สพฉ.” เตือนใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนองโอกาสถูกฟ้าผ่าสูง

“ สพฉ.” เตือนใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนองโอกาสถูกฟ้าผ่าสูง ระบุต้องหาทางหลบเข้าอาคาร

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา แต่การใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงฤดูฝน ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง และอยู่ในที่โล่งแจ้ง ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่าค่อนข้างมาก เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือจะเหนี่ยวนำเข้ากระแสไฟฟ้ามายังเสาอากาศขณะมีการใช้งาน เช่นเดียวกันกับโลหะต่างๆ อาทิ ทองคำ เงิน นาก ที่จะกลายเป็นตัวเหนี่ยวนำ กระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดฟ้าผ่า แต่"ไม่ใช่" ว่าทุกคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง จะต้องโดนฟ้าผ่า

เนื่องจากจะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมด้วย เช่น อยู่ในที่โล่งแจ้ง อยู่ใกล้ต้นไม้สูง หรือก้อน เมฆในบริเวณนั้นมีประจุไฟฟ้าสะสมไว้มากหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรประมาท และการหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หรือเล่นอินเตอร์เน็ตซึ่งจะทำให้เราปลอดภัยมากที่สุด

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงการป้องกันการถูกฟ้าผ่าจากการใช้โทรศัพท์ ว่า หากอยู่ในที่โล่งให้หาที่หลบที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหลบบริเวณใต้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่ได้ยึดติดกับพื้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล้มทับ หากหาที่หลบไม่ได้ไม่ได้ให้หมอบนั่งยองๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ สิ่งนำไฟฟ้าทุกชนิด อาทิ เงิน ทอง นาค และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สายไฟ หรือสัมผัสน้ำโดยเด็ดขาด

หากพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกฟ้าผ่า ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 2. ให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ ถ้ามีต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่าซ้ำ 3. เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันที เนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูดไปด้วย 4. หากผู้ถูกฟ้าผ่าได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว หัวใจหยุดเต้นจะคลำ ชีพจรไม่พบ หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็ง จากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือลงไปตามแนวกึ่งกลางของหน้าอกหรือกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วยแล้วนำมืออีกข้างมา ประกบ ประสานนิ้วและทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น จากนั้นโน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย แขนตรงและดึง ออกแรงกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอด ด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที