จุฬาฯ ดึงภาคเอกชน พัฒนานิสิตวิศวะไอซีที

จุฬาฯ ดึงภาคเอกชน พัฒนานิสิตวิศวะไอซีที

คณะวิศวะ จุฬาฯ จับมือบริษัท หัวเว่ยฯ เพิ่มขีดความสามารถและด้านการศึกษาให้ประเทศไทย มุ่งพัฒนาวิศวะไอซีที

ที่อาคารวิศวฯ 100ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถและการศึกษาด้านไอซีทีให้กับประเทศไทย โดยได้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง ที่ติดตั้งระบบเครือข่ายIP พร้อมประกาศโปรแกรมส่งเสริมความรู้และทักษะด้านไอซีทีแบบรอบด้าน รวมถึงสนับสนุนทุนการศึกษาระยะเวลา5ปี ให้แก่นิสิตคณัาะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดโอกาสในการฝึกงานและร่วมงานกับบริษัท หัวเว่ย ฯ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย ซึ่งเป็นบริษัทแรกในประเทศจีน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯก่อตั้งครบรอบ102 ปี และได้มีการดำเนินพัฒนาขีดความสามารถในทุกด้าน เพื่อให้สามารถอยู่ได้ภายใต้การแข่งขันในอุดมศึกษาระดับโลกที่เข้มข้นอย่างมาก ซึ่งการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะถ้าคณะ มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความสามารถสูง ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยมีขีดความสามารถสูงเช่นเดียวกัน และหัวเว่ย เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำด้านไอซีทีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพที่มาร่วมมือพัฒนาความรู้ด้านการศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาต้องมีการเตรียมความพร้อม ให้นิสิต โดยนอกจากนิสิตมีความรู้ ความเข้าใจ คิดเป็น วิเคราะห์ ต้องสามารถ สื่อสารและทำงานได้ด้วย โดยความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้นิสิค มีโอกาสทดลอง พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้มีโอกาสแบบนี้ง่าย

ดังนั้น หวังว่าภายใต้ความร่วมมือในหลายๆมิติ ได้แก่ การพัฒนาทักษะความรู้ด้านไอซีทีให้กับนักศึกษา ก่อตั้งห้องปฎิบัติการวิจัยด้านเครือข่ายIP เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และศึกษาวิจัยจากอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมไอซีที และหัวเว่ยจัดตั้งกองทุนสำหรับนิสิตคณะวิศวะ ปีละ5ทุน เป็นระยะเวลา5ปี รวมเป็นเงิน 10ล้านบาท สำหรับนิสิตปริญญาตรีและปริญญาโท โดยนิสิตที่ได้รับทุนจะต่องผ่านเกณฑ์การตัดสินต่างๆ ฯลฯ จะส่งผลให้นิสิตและอาจารย์พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ให่แก่ประเทศชาติ

มร.วัง อี้ฝาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าจุฬาฯ เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาหลักของประเทศไทยและคณะวิศวะ จุฬาฯก็มีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นผู้นำด้านไอซีที จึงหวังว่าสิ่งที่หัวเว่ยมอบให้ทั้งทุนการศึกษาและความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นิสิต และคณะวิศวะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยในระยะยาว