เปิดคำขอแก้ไขร่างรธน.ของครม.ให้นายกฯอยู่ได้8ปี

เปิดคำขอแก้ไขร่างรธน.ของครม.ให้นายกฯอยู่ได้8ปี

เปิดคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของครม. จี้ทบทวนหลักคิดระบบเลือกตั้ง ตัดคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว. ทิ้ง ไม่เห็นด้วย"กลุ่มการเมือง" ขอแก้ให้นายกฯอยู่ได้ 8 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงนามเสนอต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ณ เวลา 16.26 น. โดยหนังสือที่ส่งนั้นก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหารการเสนอแก้ไขบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีหนังสือเพื่อแสดงความเห็นในภาพรวม ซึ่งมีใจความสำคัญว่า เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีส่วนที่ทันสมัย สามารถใช้แก้ปัญหาบ่างเรื่องที่เคยเป็นข้อขัดแย้งในอดีต คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น และวางระเบียบ กลไกของรัฐางเรื่องที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อความสมบูรณ์ เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยการแกไขถ้อยคำในบางมาตราตัดทอนบางเรื่อง เพิ่มเติมเริ่งใหม่ และนำบางเรื่องบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญมีจำนวนหลายมาตราและข้อความยืดยาวเกินไป

นอกจากนั้นได้เสนอแนวทางของนายกฯ ไว้ 5ข้อ คือ 1.บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญควรสะท้อนหลักคิดที่ยึดประเทศชาติและประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใหความสำคัญแก่ประเทศชาติ และประชาชน ยิ่งกว่าท้องถิ่นภาค พรรคการเมือง หรือประโยชน์ส่วนบุคคลหรือองค์กรของตนเอง, 2.รัฐธรรมนูญควรสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของสังคมไทย ซึ่งมีปัญหาหรือวิกฤตที่มีลักษณะเฉพาะ ขณะเดียวกันต้องสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การเป็นรัฐเดี่ยว แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับหลักการสากลด้วย โดยควรเรียนรู้และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของคนไทยในอดีคและประสบการณ์ของประเทศที่เคยมีวิกฤตแต่สามารถผ่านวิกฤตเข้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปจนสามารถฟื้นตัวได้สำเร็จ มาประยุกต์ใช้, 3.บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นเครื่องมือให้นำไปใช้เป็นเหตุก่อความขัดแย้ง สังคม ปัญหาต่างๆ ต้องมีทางออก มีหนทางให้ผู้ปฏิบัติสามารถขอความชัดเจนได้ โดยเฉพาะในยามวิกฤต ทั้งไม่ควรก่อภาระด้านงบประมาณแก่ประเทศชาติ มากเกินความจำเป็น และควรคำนึงถึงความสามารถนำไปปฏิบัติและป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้จริง มิใช่แต่เพียงในทางทฤษฎีเท่านั้น, 4.การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหารราชการแผ่นดินต้องสามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว ตามยุทธศาสตร์ และความจำเป็นข้อบ้านเมืองโดยไม่ชะงัด เพราะถูกปิดกั้นโอกาสหรือเกิดความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจนเนื่องจากรัฐธรรมนูญ และ 5.บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไม่ควรยืดยาว ปฏิบัติยากหรือเข้าใจได้ยาก และต้องไม่เคร่งครัดตามตัวจนเกินไป เรื่องดี่ยังไม่แน่ใจในวิธีการและผลกระทบ หรือยังมีความขัดแย้งกันอยู่ หรือต้องการการพิจารณาที่รอบคอบ กว้างขวางหลากหลายจากผู้เกี่ยวข้องอาจนำไปบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ส่วนเรื่องใดที่เป็นโครงสร้างของรัฐ จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เห็นได้ว่าเหมาะที่จะใช้แก้ปัญหาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือระยะเปลี่ยนผ่านเท่านั้น ก็ควรนำไปบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลซึ่งเมื่อพ้นระยะนั้นแล้วก็ให้สิ้นสุดลง

พร้อมกันได้ให้ข้อสังเกตทั่วไปของ ครม. มี 5 ประเด็น คือ 1.ข้อความบางมาตรายืดยาว ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นและไม่ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร, 2.องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรที่เกิดขึ้นภายในเวลาที่กำหนดเป็นภาระด้านบประมาณ และบางองค์กรมีหน้าที่ใกล้เคียงกันน่าจะยุบรวมกันได หรือบางองค์กรที่ใช้อำนาจกระทบต่อองค์กรอื่นหรือประชาชนซึ่งยากต่อการควบคุม, 3.บางมาตราเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และทำให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าดำเนินการเพราะกังวลว่าละเมิดรัฐธรรมนูญ, 4.กลไกบางมาตราทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพและการเมืองอ่อนแอ และพรรคการเมืองอาจตั้งกลุ่มการเมืองเป็นตัวแทน (นอมินี) เพื่อแยกกันดำเนินการทางากรเมือง, 5. กรอบการปฏิรูปไม่ควรกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระทั้งหมด เพราะสามารถบัญญัติไว้ในกฎหมายลำดับรองได้ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลในอนาคตถูกผูกมัดหรือปิดล้อมด้วยกรอบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านหนึ่งและกรอบการปฏิรูปที่ละเอียดและเคร่งครัด และยากต่อการกำหนดนโยบายแนวทาการบริหารราชการแผ่นดินของตนเองตามความจำเป็นของสถานการณ์ในอนาคต

ขณะที่รายละเอียดคำขอแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา มีรายละเอียดสำคัญคือ มาตรา 60 ว่าด้วยสิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับการคุ้มครอง ได้ตัดวรรคสอง ซึ่งเป็นรายละเอียดว่าด้วยการตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระออกทั้งหมด, มาตรา 63 ว่าด้วยสิทธิของพลเมืองในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการของรัฐ โดยเสนอให้ตัดวรรคสาม ซึ่งเป็นรายละเอยดที่เกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ การผังเมือง การตากฎหมายหรือออกกฎหมายที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน และประเด็นว่าด้วยกระบวนการรับฟังความเห็นที่รัฐต้องดำเนินการก่อนนำความเห็นไปดำเนินการ ออก

มาตรา 64 ว่าด้วยการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ในวรรคสอง ได้ตัดส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมส่วนองค์กรอิระ ผู้แทนองค์กรเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพในการให้ความเห็นก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชน , มาตรา 71 ว่าด้วยการกำหนดให้มีสภาตรวจสอบพลเมืองในแต่ละจังหวัด ออกทั้งมาตรา โดยมีเหตุผลคือ สภาตรวจสอบภาคพลเมืองเป็นองค์กรที่ตั้งขั้นใหม่ ระยะแรกอาจมีปัญหาโดยเฉพาะความเข้าใจในบทบาท อำนาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของหลักการ ทั้งนี้สภาตรวจสอบฯ อาจทำให้ถูกอิทธิพลท้องถิ่นแทรกแซการทำงาน จนกลายเป็นการสร้างอำนาจใหม่ซ้อนอำนาจ และเป็นปัญหาระบบการเมืองไทย, มาตรา 74 ว่าด้วยการตรวจสอบจริยธรรมของผู้นำการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ให้ตัดออกทั้งมาตรา โดยให้เหตุผลคือ ไม่มีความจำเป็น และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ควรให้องค์กรอื่นที่มีอยู่ดำเนินการ, ตัดมาตรา 75 ออกทั้งมาตรา โดยเหตุผลคือ ไม่มีความชัดเจนและอาจเกิดข้อถกเถียง เช่น ศีลธรรม หลักศาสนา และอาจเป็นมูลฐานนำไปกล่าวหาฟ้องร้องหรือกลั่นแกล้งได้โดยง่าย เฉพาะประเด็นการใช้วาจาไม่สุภาพ ละเมินประเพณี หรือชี้นำให้เลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย

มาตรา 76 ให้ตัดประเด็นการบัญญัติให้มีกลุ่มการเมืองออก และส่วนที่เกี่ยวข้องในวรรคท้ายออก เนื่องจากกรณีกำหนดให้มีกลุ่มการเมืองอาจได้ประโยชน์ไม่คุ้มเสีย และอาจทำให้เกิดความสับสนอลม่านมากขึ้น และพรรคการเมืองอาจตั้งกลุ่มการเมืองเป็นนอมินีพรรคการเมือง เหมือนมุ้งเล็กที่แยกออกจากมุ้งใหญ่ หากกำหนดให้ผู้สมัครไม่สังกัดพรรคการเมือง หรือลงสมัครอิสระ ยังพอสะท้อนหลักความอิสระและพอเข้าใจได้ เมื่อไม่ให้สมัครอิสระแล้วกลุ่มการเมืองก็ไม่ต่างจากพรรคการเมืองนั่นเอง ทั้งนี้กลุ่มการเมืองในมาตราอื่นๆ ได้ขอให้ตัดออกด้วยเช่นกัน, มาตรา 77 ว่าด้วยการประเมินผลของผู้นำทางการเมืองโดยสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ได้ตัดการประเมินผลโดยสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ออก และเหลือเพียงการประเมินผลโดยคณะกรรมการประเมินผลแห่ชาติเท่านั้น

มาตา 102 ว่าด้วยการกำหนดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เสนอหรือพิจารณากฎหมายให้ดำเนินการพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือกฎที่รัฐธรรมนูญกำหนด ออกทั้งมาตรา โดยเหตุผลคือ เป็นมาตรการเชิงบังคับ ที่อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง ไม่ว่าจะเป็นการถอดถอน คีดอาญา หรือคดีเพ่ง

มาตรา 105 ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัครในบัญชีได้ โดยได้ตัดในส่วนบทบัญญัติที่ให้ประชานระบุว่าต้องการให้ผู้ใดที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนั้นหนึ่งคนได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. , มาตรา 111 ว่าด้วยคุณสมบัติผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้ปรับถ้อยคำใน (15) ว่าด้วย เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือในการดำรงตำแหน่งอื่น โดยเพิ่มคำว่า “ตามรัฐธรรมนูญนี้” เพื่อไม่ให้เกิดการตีความได้ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบเคียงเพื่อตัดโอกาสผู้เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ จนมีผลให้ไม่อาจดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งที่มิใช่ตำแหน่งทางการเมือง, มาตรา 117 ว่าด้วยการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ได้ตัดประเด็น การเปิดเผยผลการนับคะแนนในเขตเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ไม่ได้เลือกตั้งในวันเดียวกัน ได้ต่อเนื่องมีการลงคะแนนในทุกหน่วยเลือกตั้งแล้ว และเพิ่มวรรคท้ายให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ หากมีเหตุให้การเลือกตั้งไม่สามารถทำได้ในวันเดียวกัน และให้นายกฯ เสนอพระราชกฤษฎีกาตามที่กกต.เสนอ โดยไม่กระทบกับกิจการที่กกต. ดำเนินไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี่เพื่อเป็นไปตามข้อเสนอที่กกต. ขอแก้ไขเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้อที่เคยเกิดขึ้นแล้ว

มาตรา 121 ว่าด้วยที่มาส.ว. ได้ตัดประเด็นใน (5) ว่าด้วยกรณีที่ให้มีผู้คัดกรองผู้ส่งสมัครรับเลือกตั้งส.ว.ในจังหวัด ออก, มาตรา 130 ว่าด้วยอำนาจของส.ว. ได้ตัดวรรคสอง ว่าด้วย อำนาจการพิจารณาประวัติ และความประพฤติ พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีออก เนื่องจากเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยาก , มาตรา 147 ว่าด้วยการเสนอร่างพระราชบัญญัติ โดยตัดส่วน (3) ที่กำหนดให้สว. จำนวนไม่น้อยกว่า 40 คนเสนอร่างกฎหมายได้ออก เนื่องจากไม่เกิดประโยน์และอาจเป็นการเพิ่มภาระงานเพราะในที่สุดถ้าร่างกฎหมายผ่านสว.แล้ว ส.ส.ไม่เห็นชอบหรือยับยั้ง การพิจารณาของส.ว. ก็เสียเปล่าซึ่งเป็นผลให้แก้ไขในประเด็นส.ว.เสนอกฎหมายในมาตราอื่นๆ ด้วย และปรับแก้การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้มีความสอดคล้องกัน, มาตรา 154 ว่าด้วยกรณีที่ร่างพ.ร.บ.ที่ถูกยับยั้ง ได้ตัดใน(5) ว่าด้วย ร่างพ.ร.บ. ที่พลเมืองเสนอที่ไม่ต้องตกไป ให้มีการร้องขอให้ทำประชามติออกไป เนื่องจากกังวลว่าจะถูกนำไปใช้ในการออกเสียงประชามติอย่างพร่ำพรื่อ, มาตรา159ว่าด้วยการให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยได้ตัด (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะรัฐมนตรี ออก และได้ปรับแก้ให้มี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อสอดคล้องกับการเสนอให้แยก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ออกจากผู้ตรวจการแผ่นดิน

มาตรา 171 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ปรับแก้วาระดำรงตำแหน่งของนายกฯ ติดต่อกัน โดยให้ใช้คำว่า “แปดปี” แทนคำว่า “สองวาระ”, มาตรา 174 ว่าด้วยกรณีที่ให้นายกฯ นำชื่อรัฐมนตรีให้ประธานวุฒิสภา เพื่อพิจารณาประวัติ และความประพฤติ พฤติกรรมทางจริยธรรม ออกทั้งมาตรา, มาตรา 175 ว่าด้วยคุณสมบัติของรัฐมนตรี ได้ตัด (6) ว่าด้วยการแสดงสำเนาภาษีเงินได้ย้อนหลัง ออก และแก้ไข ใน (7) ให้ข้อห้ามที่เป็น ส.ส. และ ส.ว. ออก เนื่องจากกังวลว่าเมื่อเริ่มเป็นส.ส. ก็ไม่อาจเสนอตั้งรัฐมนตรีได้ , มาตรา 184 ว่าด้วยการให้ปลัดกระทรวงรักษาราชการแทนรัฐมนตรีประจำกระทรวง ได้แก้ไข โดยมีสาระสำคัญ คือ ปลัดกระทรวงจะรักษาการรัฐมนตรีประจำกระทรวงได้ก็ต่อเมื่อไม่มีรัฐมนตรีเหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ และกรณีที่ครม. ที่ต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หรือปลัดกระทรวงที่รักษาแทนรัฐมนตี สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น โดยมีเหตุผล คือ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง กรณีที่ให้ปลัดกระทรวงฐานะตำแหน่งสูงสุดฝ่ายข้าราชการประจำ และยังให้ครองตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายการเมืองอีกเท่ากับเป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่มีวามรับผิดชอบใดๆ ในทางการเมือง เหมือนกับนักการเมือง ทั้งนี้มีข้อเสนอให้ ครม. ที่พ้นจากตำแหน่งอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่ควรบัญญัติให้ลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่ง เช่น ตาย ลาออกจากการรักษาการ จนไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ ครม. ที่เหลืออยู่ จึงให้ปลัดกระทรวงร่วมรักษาราชการแทน

มาตรา 193 ว่าด้วยหนังสือสัญญาที่ต้องให้ความเห็นชอบจากรัฐสภา ได้ปรับแก้ โดยมีสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับหนังสือสัญญาที่เกิดกับการเปิดเสรีทางการค้าหรือเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกหรือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หรือที่มีบทกำหนดกฎเกณฑ์การใช้หรือแบ่งสรรคผลประดยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินทางปัญญา และตัดในส่วนของบทบัญญัติให้มีการทำกฎหมายว่าด้วยหนังสือสัญญา ที่ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท กรอบการเจรจา และการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา ที่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม, มาตรา 198 ว่าด้วยให้ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการบริหารแผ่นดิน ได้ตัดในส่วนที่กำหนดให้ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการย่อมต้องรับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมืองในฐานะที่เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น, มาตรา 201 ว่าด้วยการทำงบประมาณแผ่นดิน ได้เพิ่มวรรคใหม่โดยกำหนดให้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีและร่างพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมต้องแสดงงบประมาณที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยมีการกระจายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนและเพื่อการพัฒนาอย่างเสมอภาค , มาตรา 207 ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนด้วยระบบคุณธรรม ได้ตัดออกทั้งมาตรา, มาตรา 209 ว่าด้วยการบังคับให้การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ออกทั้งมาตรา โดยมีเหตุผลให้นำไปบัญญัติไว้ในกฎหมายระดับรอง และต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าระบบและวิธีใดเหมาะสมที่สุด หากพบว่าไม่เหมาะสมอาจอยู่ในวิสัยที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้

มาตรา 215 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่น และให้มีสมัชชาพลเมือง โดยได้ตัดในวรรคสามและวรรคสี่ว่าด้วยการกำหนดให้มีสมัชชาพลเมือออก เนื่องจากกังวลว่าจะเป็นองค์กรที่เพิ่มความขัดแย้งในสพื้นที่, มาตรา 218 ว่าด้วยกระบวนการยุติธรรรม ได้ตัดวรรคสองว่าด้วยการกำหนดกรอบเวลากระบวนการพิจารณาของศาลออก เนื่องจากไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ และอาจทำให้กลายเป็นความเคร่งครัดจนกระทบต่อการพิจารณาของศาลได้, มาตรา 229 ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มวรรคท้าย ว่า “ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงเจตนาขอพ้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไป เว้นแต่ขอลาออก” , มาตรา 230 ว่าด้วยคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ปรับที่มาของกรรมการฯ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา 240 ว่าด้วยกรณีการให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฏีกา แลได้กำหนดเพิ่มเติมว่า “เมื่อมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง”, มาตรา 248 ว่าด้วยข้อห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐทำการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ได้ตัดอกทั้งหมด เหตุผลคือ มาตราดังกล่าวครอบคลุมกว้างขวางมาก อาจใช้กลั่นแกล้งกันได้ ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ควรนำไปบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น, มาตราที่ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ปรับให้การสรรหาเหมือนกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และในกรณีที่สรรหากรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างให้ตัดในประเด็นผู้ที่มาแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่าที่วาระเหลืออยู่ของผู้ที่แทน ขณะที่อำนาจ ได้ขอเพิ่มขึ้นใหม่ เป็นมาตรา 266/1 เพื่อให้กกต. มีอำนาจก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง อาทิ การวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. และส.ว. โดยเมื่อมีคำวินิจฉัยให้กกต. ส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ให้พิจารณา กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่ ให้ดำเนินการตามคำสั่งและให้ถือว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด และให้อำนาจดักล่าวใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นด้วย ขณะที่มาตรา 268 ว่าด้วยคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ได้ปรับถ้อยคำให้เป็นว่า กกต. อาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐหรือแต่งตั้งให้คณะกรรมการทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น และดำเนินการออกเสียงประชามติเป็นคราวๆไป

ในกลุ่มมาตราว่าด้วยการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ได้ปรับชื่อหมวด ใหม่ เป็น “การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม และการสร้างความปรองดอง” และได้ตัดส่วนว่าด้วยความปรองดองที่มีอยู่เดิม และรายละเอียดการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่กำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 282 ถึง มาตรา 296 ออก เนื่องจากได้สร้างกลไกการปฏิรูปและการดำเนินยุทธศาตร์ชาติไว้แล้ว โดยการแก้ไขมีสาระ คือ มาตา 279 ว่าด้วยการสานต่องานปฏิรูป ได้แก้ไขให้ มีคณะกรรมการยุทธศาตร์ และการปรองดองแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกบอด้วยกรรมการและสมาชิก ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ได้แก่ 1. คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ จำนวน 20 คน ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ประธานรัฐสภา, นายกฯ, ประธานศาลฏีกา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, กรรมการจากผู้เคยเป็นประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา ซึ่งผู้เคยดำรงตำแหน่งนั้นๆ เลือกกันเองตำแหน่งละ 1 คน, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง 9 คน , 2.สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 120 คน โดยรายละเอียดให้กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ขณะที่อำนาจได้ปรับเพิ่มเติมจากร่างรัฐธรรมนูญ โดยเน้นให้นำแผนและขั้นตอนการออกกฎหมายและการปฏิบัติเพื่อการปฏิรูป ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และเพิ่มให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองมีหน้าที่กำหนดยุทธศสตร์การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง อำนวยการและดำเนินการให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และปรองดอง และให้ครม. และหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามยุทธศาสตร์นั้นๆ และมีอำนาจเสนอครม. เพื่อพิจารณาแนวทาง และมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการขจัดความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง ขณะที่การเสนอกฎหมายเพื่อการปฏิรูป ให้เสนอตรงต่อสภาผู้แทนราษฎรภร ,

ขณะที่ยังมีหลายมาตราที่ไม่ได้ปรับแก้ไขในถ้อยคำ แต่ได้ให้ความเห็นในการปรับปรุง ได้แก่ มาตราว่าด้วยที่มาส.ส. นั้นไม่มีการปรับแก้ไขในรายละเอียด แต่ขอให้ทบทวนหลักคิดในเจตนารมณ์ของมีส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามร่างรัฐธรรมนูญนี้มีประสงค์อย่างไร และควรใช้ระบบที่เคยใช้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะเหมาะสมกว่าหรือไม่ส่วนวิธีคิดคะแนนจะใช้วิธีคำนวนแบบใดเป็นอีกกรณีหนึ่งซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อยู่แล้ว ทั้งนี้เห็นว่ากรณีกำหนดให้ส.ส.แบบแบ่งเขต ให้มี 250 คน และแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 200- 220 คน ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน และให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเป็นระบบภาค จำนวน 6 ภาค ทำให้ส.ส.ทั้ง 2 ประเภทไม่แตกต่ากัน เพราะใช้พื้นที่เป็นหลักทำให้เกิดภาพส.ส.แบบแบ่งเขตจังหวัดและแบบแบ่งภาค และการกำหนดให้มีการส่งส.ส.แบบแบ่งแขต ไม่น้อยกว่าผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เท่ากับว่าผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อต้องหาเสียงในจังหวัดและภาคเหมือนผู้สมัครแบบแบ่งเขต,มาตรา 113 ว่าด้วยการำหนดให้ผู้ที่สมัครเป็น ส.ส. จะได้รับเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว ต้องชนะเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นส.ส.หรือไม่เลือกบัญชีใดด้วย ซึ่งไม่มีการปรับแก้ แต่มีประเด็นให้พิจารณา คือ หากไม่ได้รับเลือกแล้วจะทำอย่างไรต่อไป และทางปฏิบัติอาจเกิดกรณีพรรคการเมืองใหญ่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงมีแต่พรรคการเมือขนาดเล็กแข่งขันกัน และผู้ได้คะแนนสูงสุดได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด กรณีเช่นนี้จะทำอย่างไร การเปิดสภาผู้แทนราษฎร อาจไม่สามารถทำได้, มาตรา 145 ว่าด้วยการประชุมร่วมกัน ไม่มีข้อแก้ไข แต่มีข้อท้วงติงว่าให้แก้ไขว่าอะไรบ้างที่ต้องเสนอรัฐสภา