'ทูตเนปาล' ขอบคุณสื่อ-คนไทย ช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหว

'ทูตเนปาล' ขอบคุณสื่อ-คนไทย ช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหว

“ทูตเนปาล-ผช.เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช” ขอบคุณสื่อ-คนไทย ส่งความช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวเนปาล

ที่ห้องอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ ไทย ได้จัดราชดำเนินเสวนา หัวขัอ “For Friends in Nepal ”เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ทึ่เกี่ยวขัองและสื่อเกี่ยวกับการลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือและนำเสนอข่าวเกึ่ยวกับแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล นายขคนาถ อธิการี เอกอัครราชฑูตเนปาลประจำประเทศไทย กล่าวสรุปสถานการณ์ล่าสุดในการให้ความช่วยเหลือในเนปาลและบทบาทของนักข่าวว่า ตัวเลขล่าสุดจำนวนผู้เสียชีวิต 8,636 คน ในนี้มี 70 ชาวต่างชาติ โชคดีไม่มีคนไทย ส่วนผู้บาดเจ็บมีจำนวน16,808 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ซึ่งความเสียหายได้เห็นผ่านสื่อต่างๆ แล้ว โดยประเทศไทยได้ร่วมใจส่งความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมด็จพระราชินิ ตลอดจนพระบรมวงศ์ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับรัฐบาลไทย ที่ส่งทีมทหารลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือในเนปาล และหลายๆ องค์กรในประเทศไทยต่างจัดงานเพื่อเนปาล ขอขอบคุณน้ำใจของประเทศไทยที่ช่วยเหลือประเทศเนปาลเป็นอย่างดีเสมอมา ซึ่งบทบาทของสื่อช่วยอย่างมากในการรายงานข่าว สถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นถึงความโหดร้ายของหายนะในครั้งนี้ออกสู่สายตาประชาคมโลก สร้างความรับรู้ ข้อเท็จจริง ทั้งผ่านหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี และสื่อต่างๆจึงตัองขอขอบคุณอย่างยิ่ง

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมุมสากิโย ) ภิกษุชาวเนปาล ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เล่าประสบการณ์หลังจากการเยือนและให้ความช่วยเหลือในเนปาล ว่า เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งแผ่นดินไหวนี้เคยเกิดขึ้นในปี คศ.1934 หรือเมื่อ 82 ปีที่แล้วเกิด 8.0 ริกเตอร์ ไม่ต่างกันเลย มีผู้คนเสียชีวิตมากมายกว่า 8,000 คน ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 25 เม.ย นั้นก็ซ้ำรอยเดิม หมู่บ้านต่างๆ ในกรุงกาฏมาณฑุ ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมพังพินาศ ผู้คนหวาดผวา เพราะยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาตลอด ประชาชนที่รอดชีวิตต้องยึดถนนเป็นที่หลับนอน อาตมาเดินทางไปวันที่ 30 เม.ย. ผู้คนยังอยู่ในความโศกเศร้า คนตาย ก็จัดการเผาตามประเพณีชั้นวรรณะ ขณะที่บ้านที่เนปาลก็พังราบเป็นหน้ากลองเพราะการสร้างบ้านที่นี่เป็นเพียงการก่อสร้างด้วยอิฐ มีการลงเสา แต่ก็ไม่ได้สร้างอย่างถูกหลักวิศวกรรม โดยบ้านที่เสียหายมากคือบ้านที่อยู่แบบโบราณ สร้างด้วย อิฐ หิน ไม้ ไม่มีเสา ยังโชคดีที่เป็นวันหยุด ตามโรงเรียน มหาวิทยาลัย ไม่มีผู้คน แต่จุดที่เสียหายมากคือสถานที่ท่องเที่ยว

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนบทบาทของสื่อค่อนข้างเด่นชัด โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เพราะสามารถแชร์ได้ทันที ซึ่งไทยเป็นชาติที่แรกเข้าไปมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพระไทย สื่อไทย ทหารไทย แพทย์ไทย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือบทบาทของสื่อที่ทำให้ประเทศเนปาลเป็นไฮไลต์ในเรื่อการมอบความช่วยเหลือ โดยทีมแพทย์ไทยเข้าไปถึงสถานที่ใกล้ที่สุดกับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และส่งทีมออกไปตามพื้นที่ จนได้รับยกย่องจาก WHO ว่าทีมแพทย์ของไทยเป็นทีมที่ยอดที่สุด ส่วนสื่อทัองถิ่นก็มีบาทบาทในแง่ของการเปิดโปงความเป็นงานของนักการเมือง หรือรัฐบาล เพราะรัฐบาลก็ไม่พร้อมรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้ ทั้งที่ทั่วโลกพรัอมให้การช่วยเหลือแต่กลไกที่รัฐสร้างขึ้นมาไม่เอื้ออำนวย รวมถึงมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างกองทหารของสหรัฐฯ เข้ามา ทหารของอินเดียเข้ามา แล้วเนปาลตั้งคำถามว่าอาจจะมาสอดแนม จีนก็เข้ามา ขณะที่ไต้หวันก็จะเข้ามาแต่รัฐบาลเนปาลไม่ยอมรับ ทั้งๆ ที่ทุกฝ่ายมีเจตนาดีเข้ามาช่วยเหลือ 

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้สื่อยังแฉเรื่องความไม่โปร่งใสต่างๆ เช่น ทางจีนแจกเตนท์อย่างดี แต่ส่วนหนึ่งไปอยู่กับนักการเมืองที่ไม่ได้ลำบากมากนัก หลังสุดคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญคุยเรื่องแผ่นดินไหว ก็เอาผ้าใบมาแจกในสภา รัฐบาลไทยส่งช่วยเหลือไปมาก ตั้งอยู่ที่สถานฑูต ขณะเดียวกันของพระราชทานก็ติดตามไม่ได้ว่าลงไปที่ไหน บางครั้งก็พบว่าของบริจาคดีๆ ไปอยู่กับทหาร เครื่องกรองน้ำที่พระราชทาน ไปอยู่ที่ค่ายทหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือต้องไม่ขัดต่อวัฒนธรรม เพราะเรื่องวรรณะเป็นเรื่องสำคัญ ต้องระวังความกรุณาที่ถูกบิดเบือน ซี่งในเรื่องของการให้ต้องของขอบคุณประเทศไทย ที่มีการช่วยเหลือมากที่สุดประเทศหนึ่ง ที่ทุกฝ่ายใช้เครือข่ายประชาชนที่มีส่งความช่วยเหลือไปถึงประชาชนที่เดือดร้อนจริงๆ คาดว่า เนปาลจะใช้เวลาฟื้นๆประเทศได้ใน 2 ปี 

จากนั้นได้ให้สื่อมวลชนที่ลงพื้นที่รายงานข่าวแผ่นดินไหวที่เนปาลบอกเล่าประสบการณ์ ซึ่งในช่วงแรกทุกคนก็ประสบกับปัญหาเรื่องของการส่งข่าวมายังประเทศไทย เนื่องจากการสื่อสารมีปัญหา โดยเฉพาะการส่งภาพข่าวของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ อย่างไรก็ตามก็มีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้โทรศัพท์มือในการส่งข่าวและคลิปข่าว พร้อมกับสกู๊ปของนักข่าว นอกจากนี้สื่อมวลชนก็ได้มีการตั้งกรุ๊ปไลน์นักข่าวที่ไปทำข่าวที่เนปาลในชื่อของ”ไลน์มีเดียเนปาล” เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารของนักข่าว แบ่งปันข้อมูล ภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้น และเรื่องของการให้ความช่วยเหลือนักข่าวด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นช่องทางในการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งภายหลังเสวนา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากสื่อภาคสนามและองค์กรสื่อจำนวน 172,090 บาทเพื่อช่วยเหลือนักข่าวที่ประสบภัยในเนปาล ผ่านทางองค์กร Federation of Nepali Journalists (FNJ)