XD Effect – Buy at support

XD Effect – Buy at support

คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1588/1593 จุด แนวรับ 1573/1566 จุด ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวก

Market Outlook

คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวน กรอบ 1573-1593 จุด โมเมนตัมบวกจากภายนอก แต่เป็นลบจากปัจจัยในประเทศ (XD effect, การเพิ่มทุนของบจ., เศรษฐกิจชะลอตัวกว่าคาด) แนะนำ เลือกลงทุนที่แนวรับ


คาดทิศทางตลาดหุ้นวันนี้ ผันผวน แนวต้าน 1588/1593 จุด แนวรับ 1573/1566 จุด โดยตลาดหุ้นโลกมีโมเมนตัมบวก หลังวานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ จากนักลงทุนประเมินเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง จากรายงานตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชนหลังหักเงินเฟ้อ ออกมาเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค. ขณะที่ตัวเลข ISM ภาคการผลิต ออกมาต่ำลงในเดือน ก.พ. แต่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ที่บ่งชี้ถึงการขยายตัว ส่วนปัจจัยในประเทศ ยังขาดประเด็นหนุนใหม่ๆ รายงานเศรษฐกิจวานนี้ กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค. -0.52%YoY ใกล้เคียงคาดการณ์ (หนุนโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน เมย. มีสูงขึ้น) ขณะที่วันนี้มีการขึ้นเครื่องหมาย XD หุ้นใหญ่อย่าง PTT (5 บาท) ทั้งนี้ ภาพรวมของเดือนนี้เราคาดว่าดัชนีฯ ยังมีโอกาสของการปรับตัวขึ้น โดยรอดูกระแสเงินทุนจากอีซีบีที่จะเริ่มโครงการ QE ในเดือนนี้เป็นเดือนแรก (60 พันล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือน ก.ย. 58)


กลยุทธ์ลงทุน : แนะนำ Selective Buy 1.หุ้นกำไรดี แนะนำซื้อ TK GL JMART WORK RS 2.หุ้น Turn Around PACE THAI NOK ERW NWR เก็งกำไรรายวัน NWR SALEE TRT


ปัจจัยต่างประเทศ

ตลาดหุ้นสหรัฐ ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนี Dow Jones และ S&P500 เดินหน้าทำนิวไฮต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนี NASDAQ วานนี้สามารถปิดที่เหนือระดับ 5000 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี หลังจากที่เคยทำจุดสูงสุดเมื่อปี 2000 ช่วงฟองสบู่ดอทคอม โดยนักลงทุนประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังมีความแข็งแกร่ง หลังสหรัฐรายงานตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชนวานนี้ แม้ว่าตัวเลขรวมเดือน ม.ค. จะออกมาติดลบ 0.2% แต่ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ตามราคาน้ำมันที่ลดลง และหากไม่รวมผลของเงินเฟ้อการใช้จ่าย ภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น 0.3% นอกจากนั้น รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ม.ค.

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ดัชนี ISM ภาคการผลิตลดลงในเดือน ก.พ. สู่ระดับ 52.9 จาก 53.5 ในเดือน ม.ค. แม้เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี แต่ยังยังอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัว อย่างไรก็ดี จากรายงานของมาร์กิจ ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับการรายงานของ ISM โดยเดือน ก.พ. อยู่ที่ 55.1 เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.ซึ่งอยู่ที่ 53.9


ปัจจัยในประเทศ

เศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า ขณะที่เงินเฟ้อ 2 เดือนแรกติดลบ วานนี้กระทรวงพาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. ติดลบ 0.52% ส่งผลให้สองเดือนแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ติดลบ 0.47%YoY โดยกระทรวงพาญิชย์ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อของปีนี้มาอยู่ที่ 0.6-1.3% จากเดิมที่ 1.8-2.5% ขณะที่ KTZ คาดเงินเฟ้อปีนี้ที่ 1.4%


ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยต้นปี 58 ยังฟื้นตัวได้ช้า โดยตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ม.ค. ออกมาอ่อนแอทั้งการส่งออก การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชน โดยสาเหตุจากรายได้เกษตรกรที่หดตัวสูงยังส่งผลกดดันการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ดี เรามองว่าตัวเลขที่ออกมาเพียงเดือนเดียว ยังไม่สามารถบ่งชี้ภาพเศรษฐกิจของทั้งปีนี้ได้ และเรายังคาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นระยะถัดไป (ดูตารางคาดการณ์เศรษฐกิจในเล่ม) ทั้งนี้ ตัวเลขที่ของภาคการท่องเที่ยวออกมาเติบโตแข็งแกร่ง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเดือน ม.ค. เติบโตสูงถึง 15.9%YoY (แนะนำเก็งกำไรต่อเนื่อง NOK AAV AOT)


ทางเทคนิค  ดัชนีฯ ยังแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1570-1610 จุด โดยแนวรับบริเวณ 1570 จุดยังมีความแข็งแกร่ง จึงมองว่าดัชนีฯ มีโอกาสของการดีดตัวกลับไปบริเวณ 1600/1620 จุดได้อีก ขณะที่ยังคงมุมมองบวกต่อแนวโน้มระยะกลางและยาว แนวต้านหลักบริเวณ 1650 จุด