เปิดผลวิจัย'รัฐซื้อสื่อ'เผยปี56ใช้เงิน7,985ล.

เปิดผลวิจัย'รัฐซื้อสื่อ'เผยปี56ใช้เงิน7,985ล.

เปิดผลวิจัย"รัฐซื้อสื่อ"เผยปี2556 ใช้เงิน 7,985 ล้านบ. "ธนาคารออมสิน-สำนักนายกฯ" หน่วยงานใช้เงินมากสุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้จะมีการจะเปิดผลวิจัย ทีดีอาร์ไอ หัวข้อ "การซื้อสื่อของภาครัฐ" ของ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนายธิปไตร แสละวงศ์ นักวิชาการสถาบันเพื่อการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย โดยเนื้อหาสรุป ช่องทางที่รัฐเข้ามาแทรกแซงสื่อแบ่งเป็นสามช่องทางคือ 1.เป็นเจ้าของสื่อ 2.เป็นผู้ให้สัมปทานสื่อ และ 3.ซื้อสื่อ

ในส่วนที่รัฐเป็นเข้าของสื่อนั้น นั้นแบ่งเป็นที่ รัฐบริหารสื่อเอง คือ จากฟรีทีวีปัจจุบัน 6 ช่อง มี3 ช่องที่เป็นของรัฐ และ สถานีวิทยุ 314 คลื่นจากทั้งหมด 500 คลื่น และประเภทที่รัฐเป็นผู้ให้สัมปทาน

สำหรับการแทรกแซงสื่อนั้นในสื่อวิทยุและโทรทัศน์นั้น รัฐจะครอบงำได้ค่อนข้างมากจากการเป็นเจ้าของสถานี้ แต่การประมูลทีวีดิจิตอลทำให้อำนาจดังกล่าวน้อยลง ซึ่งในอนาคตการครอบงำจะยิ่งยากขึ้นเพราะมีการสิ้นสุดสัมปทาน มีการเปิดเสรีโทรทัศน์ เคเบิลและดาวเทียม รวมถึงการเกิดของสื่ออนไลน์

ขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์นั้นมีการแทรกแซงได้น้อยเพราะรัฐไม่ได้เมีธุรกิจสิ่งพิมพ์ของตัวเองจึงต้อง "ซื้อสื่อ"

ทั้งนี้จากการสำรวจการใช้จ่ายโฆษณาของรัฐปี 2556 พบการโฆษณาของรัฐจำนวน 7,985 ล้านบาท และแบ่งเป็นใช้จ่ายในหนังสือพิมพ์ 16% โรงภาพยนตร์ 18% โทรทัศน์ 50% วิทยุ 11% และอื่นๆ 5% ทั้งนี้หากเปรียบเทียบเม็ดเงินของภาพรวมของการโฆษณาจะพบว่า เอกชนใช้จ่ายในการโฆษณา 93% ขณะที่รัฐใช้จ่าย 7%

และเมื่อตรวจสอบหน่วยงานของรัฐที่ใช้จ่ายเงินค่าโฆษณาพบว่า รัฐวิสาหกิจมีสัดส่วน 48% กระทรวง 39% องค์กรอิสระ 9% กทม. 3% และจังหวัด 1%

โดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่จ่ายค่าโฆษณามากที่สุดแบ่งสัดส่วนประกอบด้วย ธนาคารออมสิน 18% อสมท. 12% ปตท. 10% ธนาคารกรุงไทย 9%การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 8% การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 7% การบินไทย 6% สำนักงานยาสูบ 4% การไฟฟ้านครหลวง 4% กสท. 4% และหน่วยงานอื่นอีก 48 แห่ง รวม 48%

ส่วนกระทรวงที่ใช้จ่ายมากที่สุดคือ สำนักนายกรัฐมนตรี 15% (506 ล้านบาท) กระทรวงอุตสาหกรรม 14% (468 ล้านบาท) และ กระทรวงกลาโหม 9% และหากดูในส่วนของสำนักนายกฯ พบว่าหน่วยงานที่ใช้งบประชาสัมพันธ์มากที่สุดคือ 1.กรมประชาสัมพันธ์ 215 ล้านบาท กอ.รมน. 40 ล้านบาท สำนักปลัดสำนักนายกฯ 35 ล้านบาท และอื่นๆ 217 ล้านบาท

หากเจาะที่สื่อหนังสือพิมพ์ พบว่ามีการใช้จ่าย 1,245 ล้านบาท โดยกระทรวงศึกษาธิการและ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ใช้สูงสุดคือ 7% ส่วนกระทรวงพลังงาน ปตท. กฟผ. และการบินไทย ใช้จ่ายหน่วยงานละ 5% ขณะที่ กสทช.ใช้ 4%

ทั้งนี้จากการสำรวจสัดส่วนการโฆษณาของรัฐที่เน้นนักการเมืองและข้าราชการ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เทียบกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่าสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์คิดเป็น 7% ขณะที่สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ คิดเป็น 18%

ในงานวิจัยยังมีข้อเสนอแนะว่า ควรออกกฎหมายป้องกันการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อหาเสียงส่วนตัว เช่น การห้ามมีรูป ชื่อ เสียงของนักการเมือง ข้าราชการสโลแกนหรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมอง ในสื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้เงินของรัฐ นอกจากนี้ยังเสนอแนว่าต้องมีการวางแผนงานประจำปีการใช้จ่ายงบประชาสัมพันธ์ รวมถึงต้องสรุปรายงานผลการดำเนินการประจำปีเปิดเผยต่อประชาชนผ่านเว็บไซตฺ โดยมีบทลงโทษหากหัวหน้าหน่วยงานปล่อยให้มีการฝ่าฝืนกฎหมาย

ผู้วิจัยยังเสนอให้มีการปรับปรถงกลไกการกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพอีกด้วย