"กะทิ" ไม่ใช่ผู้ร้าย

"กะทิ" ไม่ใช่ผู้ร้าย

หลายคนยังมีความเข้าใจที่ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบริโภค "กะทิ " ส่วนหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่า กะทิเป็น ผู้ก่อการร้าย ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ

หลายคนยังมีความเข้าใจที่ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบริโภค "กะทิ " ส่วนหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่า กะทิเป็น ผู้ก่อการร้าย ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ

หารู้ไม่ว่า ข้อเท็จจริง ซึ่งได้รับการพิสูจน์และยืนยันจาก นักโภชนาการ ระบุว่า กะทิ "ไม่ใช่"ผู้ร้าย ตรงกันข้ามกลับเป็นพระเอกเพราะมีต่อประโยชน์ต่อร่างกาย

ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สารอาหารในกะทิ มีหลายชนิด ทั้ง วิตามินแร่ธาตุ และอิเล็กโทรไลท์ รวมทั้งโพแทสเซียม แคลเซียม และคลอไรด์ไขมันอิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวถูกสร้างขึ้นจากกรดไขมันห่วงโซ่สั้นและห่วงโซ่กลางได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นพลังงานแทนการจัดเก็บเป็นไขมัน

ฉะนั้น แม้ว่าไขมันอิ่มตัวจะสูง แต่มะพร้าวสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ เพราะกรดไขมันที่มีขนาดปานกลาง ซึ่งถูกย่อยได้ง่ายและเคลื่อนย้ายได้สะดวก เมื่อบริโภคเข้าไปจะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้แล้วเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่

ดังนั้นผู้บริโภคกะทิจึงแข็งแรงเพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไป อีกทั้งยังไปกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น ก่อให้เกิดความร้อน จากผลของอุณหภูมิ Thermogenesis ซึ่งจะช่วยในการเผาผลาญอาหารที่บริโภคเข้าไปพร้อมกัน ให้เปลี่ยนเป็นพลังงานแทนที่จะไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย จึงเป็นที่มาว่า ทำไมกะทิ ถึงช่วยเรื่องลดน้ำหนักได้

นอกจากนี้ ห่วงโซ่กรดไขมันกลางในกะทิ ประกอบด้วยกรดลอริค ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านไวรัส ป้องกันแบคทีเรีย ป้องกันจุลินทรีย์และต้านเชื้อรา กะทิสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็เป็น ทางเลือกสำหรับผู้แพ้แลคโตสหรือแพ้นมจากสัตว์ อีกด้วย เพราะกะทิ สามารถใช้ประกอบอาหาร คาวหวาน ได้หลากหลายเมนู แต่การรับประทานที่มากเกินพอดี ก็จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ฉะนั้น ควรรับประทานแต่พอเหมาะพอดีเพื่อสุขภาพที่ดี

เมื่อรู้แล้ว อย่ากลัวการบริโภค กะทิ เพราะกะทิมีประโยชน์มากกว่าที่คิดนะคะ