งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9

งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9

งานแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยสุดยิ่งใหญ่ประจำปี 2561 เปิดให้เข้าชมแล้วถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงาน อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 9 จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ SACICT

  20180222161623976rere          

20180222161621411rere

ภายใต้แนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งปัญญา”  หรือ Thai Wisdom, True Treasure มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสการรับรู้ และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ด้วยพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้เข้าร่วมจัดแสดงผลงานมากกว่าปีก่อน ๆ ถึง 3 เท่า ภายในงานจัดแสดงผลงานของครูช่างระดับสุดยอดที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญาเชิงช่างจากทั่วประเทศมากกว่า 150 ราย

20180222162049358rere

          ภายในงานแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 3 โซนหลัก ได้แก่ โซนที่ 1. The Masters Gallery มีธีมว่า “จากเวหาจรดบาดาล” เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำป 2561 รวม 25 ราย และส่วนนิทรรศการ มรดกศิลป์ เพื่อเผยแพร่ผลงาน เกียรติประวัติ และถ่ายทอดแนวคิด แรงบันดาลใจในการทำงานของครูช่าง และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมากกว่า 30 ชิ้นงาน อาทิ กลองบานอ, งานแทงใบลาน, เทริด-หน้าพราน ฯลฯ

         โซนที่ 2. The Artisan’s Workshop ในธีม “หัตถกรรม...หัดทำมือ” ส่วนกิจกรรมและเวิร์คชอปงาของครูช่างแขนงต่าง ๆ จัดวันละ 6 รอบ มีอาทิ หน้ากากผีตาโขน, ร้อยลูกปัดมโนราห์, จักสานป่านศรนารายณ์ เป็นต้น

          โซนที่ 3. The Craftsmen Collections หรือ “ตลาดหัตถศิลป์” เป็นส่วนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ในสาขาต่าง ๆ กว่า 150 คูหา แบ่งเป็น 4 โซนจำหน่าย ประกอบด้วย โซน “เริงลม หรรษา” ประเภทการละเล่น, หนังตะลุง, เครื่องดนตรี โซน “ภูษา ธารา” ประเภทงานผ้า และโซน “แผ่นดินทอง” ประเภทหัตถศิลป์ชั้นสูง เครื่องทอง เครื่องเงิน และโซน “เพลินไพร” ประเภทงานไม้ หวาย จักสาน

20180222161849508rere

          นอกจากนี้ในวันเปิดงาน SACICT         ได้จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติและจัดแสดงผลงานของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2561 รวมจำนวน  25 ท่าน มีอาทิ ครูบัวไหล คณะปัญญา อายุ 88 ปี จากจังหวัดเชียงใหม่ ประเภทผลงาน “เครื่องกระดาษ งานหัตถกรรมโคมล้านนา” ด้วยฝีมือการใช้กรรไกรเพียงด้ามเดียว ตัดกระดาษเป็นลวดลายที่ละเอียดและคมชัด

นิทรรศการ มรดกศิลป์ 2re

          ครูคำใหม่ โยคะสิงห์ อายุ 84 ปี จ.กาฬสินธุ์ ประเภทเครื่องทอ งานหัตถกรรมผ้าไหมแพรวา ที่ได้พลิกฟื้นการทอผ้าไหมแพรวาที่เกือบจะสูญหายไป

          ครูบุญมี จันอุไรรัตน์ อายุ 80 ปี จ.นนทบุรี ประเภทงานโลหะ งานหัตถกรรมเครื่องลงยาสี ดั้งเดิมแบบโบราณหรือ “การลงยาสีร้อน” ซึ่งใกล้สูญหาย เหลืออยู่ไม่กี่คนในประเทศไทย

          ครูอรุณศิลป์ ดวงมูล อายุ 67 ปี จ.นาน ประเภทเครื่องไม้ งานหัตถกรรมเครื่องดนตรีไม้พื้นบ้านไทย มีชิ้นงานที่โดดเด่นคือ สะล้อ และปิน (ซึง) และยังมีความสามารถบรรเลงเพลงประกอบการขับซอ จนได้การยอมรับว่าเป็น “พ่อครูดนตรีแห่งลำน้ำน่าน”

          ครูนิเวศ แววสมณะ อายุ 46 ปี จากกรุงเทพมหานคร ผลงานงานหัตถกรรมหุ่นกระบอกไทย ที่ทำด้วยมือ หุ่นแต่ละตัวมีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย

          นายเมี้ยน สิงห์ทะเล อายุ 54 ปี จ.นครราชสีมา ประเภทเครื่องดิน งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ผลงานที่โดดเด่นคือ เครื่องปั้นดินเผารูปนกฮูก ที่มีความละเอียดอ่อนของลวดลายดูราวกับมีชีวิต

          นายชูเกียรติ เนียมทอง อายุ 41 ปี จ.จันทบุรี ประเภทเครื่องโลหะ งานหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง สืบทอดเทคนิคการทำแหวนกลไกและเครื่องทองมานานเกือบ 30 ปี และต่อยอดงานแหวนกลเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างเรื่องราวใหม่และคิดค้นแหวนกลดีไซน์หน้าแหวนใหม่ให้เป็นชื่อ-สกุล ให้ลูกค้าสามารถออกแบบได้ด้วยตัวเอง ไม่มีการทำซ้ำ เป็นวงเดียวที่ไม่เหมือนใคร

          ยังมีผลงานของครูช่างอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ล้วนผลิตผลงานชิ้นเอกที่หาชมยาก ไปชมผลงานของครูช่างของแผ่นดินไทย ที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญาเชิงช่างจากทั่วประเทศ ร่วมชื่นชมและสืบสานมรดกภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ตลอดไป  

ครูสรพล ถีระวงษ์ -ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2560- ด้านพัสตราภรณ์rere 20180222161626644rere          

  แหวนกลไก-ผลงานนายชูเกียรติ เนียมทอง-ทายาทช่างศิลป์ฯ ปั 2561re 20180222161847464re