ส.ส.ผู้เเทน(ผู้จัดการ) ปั้นดิน(เพ้อฝัน)ให้เป็นดาว(มาก)ไม่ได้

ส.ส.ผู้เเทน(ผู้จัดการ) ปั้นดิน(เพ้อฝัน)ให้เป็นดาว(มาก)ไม่ได้

การรณรงค์เลือกตั้งท้องถิ่นในแต่ละอำเภอ จังหวัด อาทิ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือสมาชิกสภา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกอบจ.

หรือแม้นายกเมืองพัทยา​ และสมาชิกสภาเมืองพัทยา​ (จังหวัดชลบุรี)​ จังหวัดใดๆ​ เป็นต้น​ อาจเห็นได้ชัดถึง​ "ความแตกต่าง" กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ หรือส.ส.​ ความแตกต่าง​ดังกล่าว ได้แก่​ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนภาครัฐท้องถิ่นในอำเภอ​ จังหวัดที่เสนอตนเข้าทำหน้าที่ในเขตเทศบาล​ หรืออำเภอ หรือจังหวัด​ *ไม่ (คิด) ขายฝัน* หรือนโยบายที่เป็นไปไม่ได้​ หรืออาจเสนอเพียงนโยบายที่สามารถทำได้จริงต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่น​ หรืออำเภอ​ หรือจังหวัดของตนเท่านั้น​ แตกต่างจากนโยบายของผู้สมัครผู้แทนราษฎร​ หรือส.ส.​ ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร​ หรือนิติบัญญัติ​ ตราพระราชบัญญัติที่จำเป็นออกมาบังคับใช้​ และการทำหน้าที่เลือกบุคคล​ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี​  และรัฐมนตรี​ ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน​ (งบประมาณรายจ่าย)​ ของประเทศ​ รวมถึงการเข้าชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ของฝ่ายค้าน​ ยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี​ หรือคณะรัฐมนตรี​ทั้งคณะ หรือรัฐมนตรี​ รายหนึ่ง​ รายใดเป็นการเฉพาะ​ เมื่อพบเห็นการบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวง​ ทบวง​ กรม​ ที่อาจส่อไปในทางทุจริต​ หรือประพฤติมิชอบ​ สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติ​ และประชาชน​ เป็นต้น​ ดังนั้น​ การเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่น​ เทศบาล​ หรืออำเภอ​ จังหวัด​ จึงเป็นการแข่งขัน​ ช่วงชิงอำนาจ​  และการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดแต่ละจังหวัด​ อาจไม่เกิน​ 1​ พัน ถึง​ 2​ พัน​ หรือ​ 3​ หมื่นล้าน หรือ​ 5​ หมื่นล้านบาท​ เป็นต้น แต่การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร​ หรือส.ส.​ เป็นการบริหารนโยบาย​ และงบประมาณรายจ่ายของทุกจังหวัด​ ทั่วประเทศ​ มูลค่ามากกว่า​ 2​ -​ 3​ ล้านล้านบาทต่อปี​ เป็นต้น​ จึงเห็นได้ชัดว่าเหตุใด​ การเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่นของแต่ละอำเภอ​ จังหวัด​ จึงแตกต่างจากการเลือกผู้แทนราษฎรของทุกจังหวัดทั่วประเทศ

เมื่อถึงคราวให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ หรือส.ส.​ ระบบเขต​  และบัญชีรายชื่อ​ สามารถรณรงค์​ ประขาสัมพันธ์​ หาเสียง​ ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง​ หรือ ก.ก.ต.กำหนด​ เราๆท่านๆ​ จึงมักพบเห็น​ หรือได้ยินผู้สมัครผู้แทนดังกล่าว​ ต่างใช้กลยุทธ์​ นโยบาย​ (จูงใจ)​ ทั้งที่สามารถปฏิบัติ​ ทำได้จริง​ (ส่วนน้อย)​ และขายฝัน​ (เป็นไปไม่ได้​ ทำไม่ได้ส่วนใหญ่)​ จำนวนมาก​ เพียงเพื่อหวังให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครรายดังกล่าวเข้าไปเป็นผู้แทน​จังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ หรือสภาล่าง​ของประเทศไทย​ รวมทั้งบริหารภาษี​ ซึ่งเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าวแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง​ (เท่านั้น)​

พรรคการเมือง​ "จำนวนไม่น้อย" ​ขาย​ (ฝัน)​ เสนอนโยบายประชานิยม​ หรือบางพรรคการเมืองขาย​ เสนอนโยบายรัฐสวัสดิการ​ หรือบางพรรคการเมือง​ ขายเสนอนโยบายของรัฐบาล​ และคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน​ เพื่อสานงานเดิม​ สร้างงานใหม่​ หรือบางพรรคการเมือง​ ขาย​ เสนอนโยบายการตรวจสอบการทุจริตของนายกรัฐมนตรี​  และคณะรัฐมนตรี​ มุ่งหวังเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งผู้แทน​ หรือส.ส.​มากที่สุด​ เป็นต้น​ อย่างไรก็ตาม​ การทีพรรคการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง​ ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ สามารถลงแข่งขันผู้แทนราษฎรดังกล่าวข้างต้นได้​นั้น ท่านผู้อ่าน แฟนคอลัมน์​  ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้ง​ในวันที่​ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา เชื่อว่า หลายท่านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งของท่านอย่างเต็มที่​ "ไม่นอนหลับทับสิทธิ์" ตามนโยบาย​ ข้อเสนอของผู้สมัครของพรรคการเมืองแต่ละพรรค

อย่างไรก็ตาม​ ประเด็นข้างต้น​ อาจไม่แตกต่างจากระบบอาคารชุด​ คอนโดมิเนียม​ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด​ ได้แก่​  การเลือกตั้ง​ หรือแต่งตั้งผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด​ ซึ่งเป็นได้ ทั้งบุคคล​ หรือนิติบุคคล​ ตามมาตรา​ ๓๕ และมีคุณสมบัติ  และไม่มีลักษณะต้องห้าม​ ตามมาตรา​ 35/1ของพระราชบัญญัติอาคารชุด​ บุคคล​ หรือนิติบุคคล​ ซึ่งสามารถปฏิบัติ​หน้าที่ หรือดำรงตำแหน่ง​ ผู้จัดการของ นิติบุคคลอาคารชุดได้นั้น​ จำเป็นต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด​ ตามมาตรา​ 49(1) กล่าวคือ​ ต้องได้รับคะแนนเสียงของเจ้าของร่วม​ จำนวนไม่น้อยกว่า​ 1​ ใน​ 4​ ของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด​ หรือ​จำนวน​ 25% ของเจ้าของร่วมทั้งหมดในอาคารชุด

ยกตัวอย่างเช่น​ อาคารชุด​ ก​ มีห้องชุดจำนวนทั้งสิ้น​ 100​ ห้อง​ มีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแต่ละห้องชุด​ในทรัพย์ส่วนกลาง จำนวน​ 100​ อัตราส่วน​ คะแนนเสียงแต่งตั้ง​ หรือเลือกตั้งผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด​ ก​ ต้องได้รับไม่น้อยกว่า​ 25​ อัตราส่วน​ (ในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม)​ หากคะแนนเสียงมีจำนวนน้อยกว่า​ 25​ อัตราส่วน​ ย่อมไม่สามารถลงมติแต่งตั้งผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดได้​

ระบบอาคารชุด​ คอนโดมิเนียม​ หลายท่าน​ อาจได้เห็นประกาศการรับสมัคร​ บุคคล​ หรือนิติบุคคล​ ปฏิบัติหน้าที่​ หรือดำรงตำแหน่ง​ ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด​ "ไม่มากก็น้อย" (ส่วนใหญ่น้อย​ เพราะขาด​ หรือไม่มีผู้สมัคร)​ นิติบุคคลอาคารชุด​ บางโครงการ​ บางแห่ง​ มีงบประมาณรายรับ​ "ค่าส่วนกลาง" รายเดือนมากกว่า​ 10​ ล้านบาท​ หรือปีละ​ 120​ ล้านบาท​ บางแห่ง​ มีรายรับทางอื่น​ ซึ่งมิใช่ค่าส่วนกลางเพียงทางเดียว​ อาจได้รายรับดังกล่าวเพิ่มให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดอีกไม่น้อยกว่า​ 1 หรือ​ 2​ ล้านบาท​ หรือ​ 3​ ล้านบาทต่อเดือน​ หรือปีละ​ 12​ หรือ​ 36​ ล้านบาท​ เป็นต้น​ เมื่องบประมาณทั้งรายรับค่าส่วนกลาง​ และรายรับอื้นๆ​ รวมกันต่อปี​ มีมากกว่า​ 50​ หรือ​ 80 หรือ​ 100​ ล้านบาทต่อปี​ จึงได้พบเห็นผู้สมัคร​ ผู้จัดการ​ หลายคน​ อาจเป็นเจ้าของร่วม​ คู่สมรสของเจ้าของร่วม​ หรือบุคคล​ นิติบุคคลของผู้ประกอบการโครงการ​ "นอมินี" ของบุคคล​ หรือนิติบุคคล​ บางราย​ กำกับ​ อยู่เบื้องหลัง​ หรือข้างล่างเวที​ เป็นต้น

ถามว่าถ้ามีงบประมาณรายเดือน​ -​ ปี​ ไม่เกิน​ 5​  แสนบาท​ หรือ​ 1​ ล้านบาท​ หรือ​ 2​ ล้านบาท​ หรือ​ 5​ หรือ​ 10​ ล้านบาทต่อปี​ จะสามารถหาผู้สมัคร​ ผู้จัดการ​ ที่ดี​ ทั้งเก่ง​ มีความรู้​ ความสามารถ​ ประสบการณ์​ ซื่อสัตย์​ สุจริตได้หรือไม่​ ตอบท่านได้ทันที​ "หาไม่ได้" อีกทั้งหายากยิ่ง​  และเป็นไปได้ยากที่จะได้คนดี​ คนเก่ง​ ซื่อสัตย์​ สุจริต​ ปฏิบัติหน้าที่​ ผู้จัดการ​ แต่อย่างไรก็ดี​ ในบางโครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ ที่มีงบประมาณรายรับ​ -​ รายจ่ายดังกล่าวข้างต้น​ อาจมีผู้สมัคร​ เหตุเพราะอาจมุ่งหวังผลประโยชน์แอบแฝงอื่น​ หรือเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจบางรายที่มีห้องชุด "เหลือขาย" จำนวนมาก​ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม​ เหตุซึ่งนิติบุคคลอาคารชุด​ ทั่วไป​  ส่วนใหญ่ ขาด​ หรือไม่มีผู้สมัครผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด​ หรือมีผู้สมัคร​ "จำนวนน้อย" ถึงแม้นิติบุคคลอาคารชุดจะได้ประกาศ​ เผยแพร่การรับสมัครผู้จัดการอย่างเปิดเผย​ ก็ตาม​ ล้วนเกิดจากสาเหตุ​ (แตกต่างจากผู้แทนราษฎร)​ ดังต่อไปนี้

1.​ ขาดงบประมาณรายรับค่าส่วนกลาง​ หรืองบประมาณรายรับ​ -​ รายจ่าย​ สมดุลทั้งปี​ เช่นนี้แล้ว​ โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุดย่อมไม่สามารถปฏิรูป​ หรือพัฒนา​ ปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลาง​ หรือเพิ่มบริการที่มาก​ หรือดีกว่าเดิมได้

2.ค่าตอบแทน​ ค่าจ้าง​ เป็นเงินจำนวนน้อย​ ไม่คุ้มค่า​ หรือมีความเสี่ยง "คุก ตาราง" มากกว่าอาชีพอื่น และมากกว่าร้อยละ​ 90​ ของนิติบุคคลอาคารชุดทั่วประเทศ​ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันทั้งหมด

3.มีเจ้านาย​ "เป็นร้อย เป็นพันคน" ทั้งคณะกรรมการ​ เจ้าของร่วม​ ผู้ซื้อ​ ผู้ขายห้องชุด เหลือขาย​ คอยสั่งการ​ ควบคุม​ ดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตน​ ไม่สามารถรับ หรือทนแรงกดดันจากการปฏิบัติงานได้

4.หาอาชีพอื่นรองรับไม่ได้​ อาจใช้อาชีพผู้จัดการ​ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลาง จนกว่าจะได้อาชีพที่ดี​ มั่นคง​ รายได้ที่ดีกว่า เช่นนี้แล้ว​ นิติบุคคลอาคารชุด​ (ของท่าน)​ จะสามารถพัฒนา​ ก้าวหน้า​ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

5."เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง จะหากระดูกมาแขวนคอ" ด้วยเหตุใด ทำงาน​ หรือปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ​ นอกจากมีความเสี่ยง​ เกิดความเสียหายแก่ตนเองแล้ว​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "จำนวนไม่น้อย" ประกาศรับสมัคร​ "ผู้จัดการ" โดยไม่มีค้าจ้าง​ ค่าตอบแทนให้แก่ผู้จัดการ​ ต้องการเพียงผู้มีจิตสาธารณะ​ ไม่เห็นแก่ค่าจ้าง​ ค่าตอบแทน​ ถามว่าจะมีบุคคล​ หรือนิติบุคคลใด จะสมัครผู้จัดการ​ อย่างไรก็ดี​ หากมีผู้สมัคร​ ผู้จัดการ​ โดยไม่รับค่าจ้าง​ ค่าตอบแทน​ ท้ายที่สุด​ อาจมีความเสียหายแก่ส่วนรวม​ เพราะผู้จัดการรายดังกล่าว​ ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิก​ เจ้าของร่วม​ หรือสังคมส่วนรวม แต่มุ่งเน้นหาผลประโยชน์ในทางไม่ชอบ ไม่ถูกต้อง​ เหมาะสม​ ทั้งเบียดบังการใช้ประโยชน์ส่วนบุคคล​ ทรัพย์ส่วนกลาง​ สร้างอิทธิพล​ หลายท่าน​ อาจกล่าว​ ไม่มี​ อาจใช่​ อาจมีจำนวนน้อย​ แต่ส่วนใหญ่​ ไม่ใช่​ ผู้ซื้อ​ สมาชิก​ เจ้าของร่วมส่วนใหญ่​ ทราบ​ รู้ดี แต่ไม่อยากพูด​ เพราะประเด็น​ "ความสัมพันธ์ หรืออาจมีภัยถึงตัว โดยไม่จำเป็น"

โดย...

นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย และ

"ที่ปรึกษา" ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

[email protected]