สร้างความหมายให้องค์กร รับมือ ‘Corpsumer’

สร้างความหมายให้องค์กร  รับมือ ‘Corpsumer’

องค์กรที่จะยืนหยัดในยุคดิจิทัล และที่สำคัญตอบโจทย์ผู้บริโภคแบบ "Connected Consumer" คือ องค์กรที่มี “Purpose” ชัดเจน

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2560 พบว่า พฤติกรรมการใช้งานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 3 ชั่วโมง 41 นาทีต่อวัน

โดยเจนวายอายุ 18-37 ปี เป็นแชมป์การใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดติดกันเป็นปีที่ 4 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันนี้ คนไทยยังนิยมใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ พันทิป สูงมากถึง 3 ชม. 30 นาทีต่อวัน ขณะที่การรับชมวีดิโอสตรีมมิ่ง เช่น ยูทูป เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชม.35 นาทีต่อวัน ส่วนการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อพูดคุยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชม.ต่อวัน

ผลวิจัยจากกันตาร์ อินไซต์ ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคชาวไทยใช้เวลาบน โซเชียลมีเดียสูงเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ถูกนิยามว่าเป็นกลุ่ม “Connected Consumer” ที่ถูกแวดล้อมด้วยคอนเทนท์และข้อมูลจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ

เรียกได้ว่าตลอดเวลา เนื่องจากความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากกว่า 91% ของประชากรไทย เห็นได้จากการทวีตในแต่ละนาทีไม่ต่ำกว่า 4.8 แสนครั้ง จึงทำให้กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้คุ้นเคยที่จะ “Connected” กับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา

กลุ่ม Connected Consumer นี้ ชี้ถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ไปจนถึงประเด็นสำคัญที่องค์กรควรปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพราะอาจนำไปสู่แนวโน้มที่เรียกว่า “Connected Loneliness”

นั่นคือ ความรู้สึกของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมือง อยู่คนเดียว มองว่าความสัมพันธ์ในโซเชียลมีเดีย เป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวยตื้นเขิน จึงโหยหา “Meaningful Relation” ไปจนถึงแนวคิดของผู้บริโภคแบบ “Unstereotype” ที่พร้อมยอมรับตัวตนที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์มากขึ้น แตกต่างจากผู้บริโภคในยุคก่อนหน้านี้ ที่มีมุมมองในลักษณะที่เป็น “Stereotype Perfectionist” มากกว่า

เพราะฉะนั้นองค์กรที่จะยืนหยัดในยุคดิจิทัล และที่สำคัญตอบโจทย์ผู้บริโภคแบบ Connected Consumer คือ องค์กรที่มี “Purpose” ชัดเจน มีความจริงใจ พร้อมสร้างความหมายเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคที่มองหา Meaningful Relation และสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญองค์กรธุรกิจต้องมี Value หรือค่านิยมขององค์กรที่ชัดเจนอีกด้วย

วิธีสร้างความหมายให้กับองค์กรในยุค Corpsumer เมื่อ Corporate Value สำคัญพอๆกับ Product Value ในปีนี้จะพบว่าหลายๆ แบรนด์พยายามที่จะออกมายืนหยัดเพื่อบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์และยังคงรักษาการเติบโตให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่นักการตลาดจะหาประเด็นที่ว่านั้นพบ แต่ก็คุ้มค่าที่จะลองหาประเด็นสำหรับแบรนด์และเริ่มคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับผลกระทบของแบรนด์ต่อสังคมโดยรวม

อย่างไรก็ตาม อีกวิธีที่น่าสนใจเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ คือการสร้างความหมายให้กับแบรนด์ องค์กร ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีเอไอและแมชีนเลิร์นนิงต่างๆ เพื่อหาอินไซต์ของผู้บริโภคที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้บริโภคในยุคดิจิทัลไม่เพียงแต่สนใจใน Product value หรือคุณภาพของสินค้า แต่ยังสนใจ Corporate Value หรือจุดยืนและพันธสัญญาขององค์กรต่อสังคมโดยกว้างอีกด้วย

กลุ่มผู้บริโภคนี้ เรียกว่า Corpsumers คือ ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับชื่อเสียงและการกระทำขององค์กรต่อสังคม กล่าวคือที่ให้ความสนใจเรื่อง Corporate เป็นพิเศษ มากพอๆ กับคุณภาพของสินค้า 

โดยรายงานล่าสุดจาก MWWPR ชี้ว่า 1 ใน 3 ของประชาชนชาวสหรัฐ (100 ล้านคน) อายุ 18-80 ปี เป็นผู้บริโภคกลุ่ม Corpsumers และคาดว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะใหญ่กว่ากลุ่มมิลเลนเนียลอีกด้วย

ปัจจุบันการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่สามารถหาความรู้ได้จากสื่อหลากหลายที่มีอยู่รอบตัว สื่อการเรียนรู้ต่างๆ มีรูปแบบที่มีความน่าสนใจมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทำให้การเข้าถึงความรู้เหล่านั้นเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสและทางเลือกที่จะค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ และยิ่งถ้าสื่อการเรียนรู้นั้นสามารถให้ความเพลิดเพลินประกอบกับสอดแทรกสาระต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ทำให้ผู้เรียนรู้ได้มีการพัฒนาตนเองด้วยนั้น ก็จะยิ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ การมองหาจุดยืนเกี่ยวกับสังคมโดยรวม และเริ่มคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับผลกระทบขององค์กรต่อโลก เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะถ้ามีโอกาสที่จะสร้างสิ่งดีๆ ก็ควรจะทำตั้งแต่วันนี้ เชื่อว่าในระยะยาวจะคุ้มค่าอย่างแน่นอน