ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด/หุ้นแนะนำ

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด/หุ้นแนะนำ

ตลาดหุ้นไทยในรอบเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แกว่งตัวในกรอบจำกัด แต่ยังขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้

โดยสร้างจุดสูงไว้ที่ 1,667.014 และปรับตัวลงยืน 1,632 ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญด้านเทคนิคเคิลอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแกว่งตัวคือเรื่องของการประกาศผลประกอบการปี 2561 ที่ทยอยประกาศ เป็นไฮไลท์สำคัญของการแกว่งตัวรอบเดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เอเอสแอล จำกัด มีมุมมองการเคลื่อนไหวในช่วง 1 เดือนข้างหน้า หรือประมาณ 22 วันทำการข้างหน้า โดยปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญคือ

 1.การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง ระยะสั้นหรือแนวโน้มการเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยเดือน มี.ค. นี้ ฝ่ายวิเคราะห์ ASL คาดเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนให้กล้าที่จะถือครองหุ้นนานขึ้นหรือ กรณีของราคาหุ้นที่ปรับตัวลงแรง มีความมั่นใจที่จะเข้าซื้อถือ อีกกรณีคือ จากการเข้าพบผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในงานAnalyst Meeting จะเห็นแนวโน้มของแผนธุรกิจที่มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการปรับตัวลงของหุ้นในSET50จึง

2.สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เป็นปัจจัยหลักที่กดดันตลาดหุ้นทุกภูมิภาค ที่ผ่านมาโดยตัวเลขเศรษฐกิจทั้งของสหรัฐและจีน เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงผลกระทบทางลบต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศอย่างชัดเจน อีกทั้ง รายงานการประชุมของธนาคารกลางประเทศต่างๆ จะให้ผลกระทบนี้อยู่ในปัจจัยความเสี่ยงลำดับต้นๆ ดังนั้นทางออกที่สองฝ่ายประนีประนอมและตกลงกันได้ย่อมส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย

 3.การคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบของปี 2562 และการปรับประมาณการณ์หุ้นรายหลักทรัพย์ ผลประกอบการที่ทยอยประกาศออกมาในช่วงกลางเดือน ก.พ. เป็นต้นมา สร้างความผันผวนให้กับSETในทิศทางที่ปรับตัวลงซื้อ-ขึ้นขายอย่างมีนัยสำคัญ ฝ่ายฯคาดการปรับประมาณการแนวโน้มผลประกอบการปี 2562 มีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับดีขึ้นเนื่องจาก การลงทุนภาครัฐฯที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การลงทุนเพิ่มตามแผนธุรกิจของบริษัทฯจดทะเบียน แนวโน้มการค้าโลกที่คาดว่าจะดีขึ้น ส่งผลให้รายได้มีโอกาสปรับดีขึ้น

 4.อัตราแลกเปลี่ยน: ภาวะเงินบาทแข็งค่า ซึ่งกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร และทำให้รายได้จากการส่งออกที่กลับมาในรูปเงินบาทลดลง การแข็งค่าของค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อการส่งออกเกือบทุกอุตสาหกรรมแม้กระทั่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่งออกลดลง และโอกาส ที่จะทำได้ตามเป้าการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้ 5% ค่อนข้างยาก

ด้านกลยุทธ์การลงทุน แบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1. ผู้ประกอบการที่มีรายได้อิงกับสกุลเงินตราต่างประเทศมากสุด แต่ต้นทุนกลับอยู่ในรูปเงินบาทเป็นส่วนใหญ่ จึงน่าจะประสบปัญหาในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเช่นกลุ่มสื่อสาร กลุ่มเกษตร และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ 2. กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่า จะอยู่ในกลุ่มที่มีฐานรายได้ในรูปเงินบาทเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน ขณะที่มีต้นทุนการผลิต กลับอยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่นกลุ่มการบินเป็นต้น

5.อัตราดอกเบี้ย: เรามองว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในครึ่งหลังของปีนี้อีก 25 bps เป็น 2.00% ศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อ และเข้าใกล่สู่ระดับดุลยภาพ ประกอบกับป้องกันพฤติกรรม สวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงที่ต่ำกว่าที่ควร(underpricing of risks)

เมื่อพิจารณาจากความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกันมาพบว่า กนง. กังวลธุรกรรมของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น พัฒนาการของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย การปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ การขยายสินทรัพย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และทิศทางการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร เพิ่มเติมจากรายงานการประชุมในครั้งก่อน

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯ แนะนำคือ (อ้างอิงกับ ASL Monthly report Feb 2019)Agriculture-Food: Neutral Consumer Product: Neutral Services: Overweight Technology: Neutral Financial: Overweight Industrials: Neutral Resources: Neutral Property and Construction: Neutral สำหรับรายหลักทรัพย์ที่แนะนำ คือ THANI PTTGC IVL BDMS QH