CSR กับเทรนด์ในปี 2019

CSR กับเทรนด์ในปี 2019

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน เทรนด์ของ CSR ในระยะหลังมานี้มักให้ความสำคัญกับเรื่องของ “คุณค่า” หรือ Value

ซึ่งหมายถึงการที่องค์กรต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน หรือนักลงทุนเราลองมาดูกันค่ะว่าจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ เทรนด์ของCSRจะเป็นอย่างไรบ้างในปี2019และในอนาคต โดย “ซูซาน แมคเพอร์สัน วิเคราะห์ไว้ในเวบไซต์ของฟอร์บส์ โดยได้รวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ว่าเทรนด์ของCSRหรือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่างๆ จะเป็นอย่างไรในปี2019โดยมีสิ่งที่ค้นพบดังนี้

นักลงทุนจะสนใจ ESG มากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนจะให้ความสำคัญในมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล(ESG)มากขึ้น และเชื่อว่าเทรนด์นี้จะมีอย่างต่อเนื่องในปี2019และต่อไปในอนาคต และจะกลายเป็น “บรรทัดฐานใหม่” หรือNew normalของการลงทุน

โดย ทิม โมฮินซีอีโอของGlobal Reporting Index (GRI)กล่าวว่าจากผลการศึกษามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่านักลงทุนมากกว่า80%หันมาพิจารณาESGในการตัดสินใจลงทุน โดยปัจจุบันมีตัวเลขเม็ดเงินลงทุนสูงถึง22.89ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในพอร์ตการลงทุนทั่วโลกที่อยู่ภายใต้นโยบายการบริหารโดยอิงกับESGซึ่งเพิ่มขึ้นถึง25%จากปี2014

 จึงบอกได้ว่า นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสังคม และผลที่ได้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยปัจจุบันมีกองทุนประเภทEthical fundsเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมินที่ช่วยให้ภาคธุรกิจมีข้อมูลเกี่ยวกับCSRมากขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ โดยมีแนวโน้มว่าบริษัทที่ลงทุนในด้านการวัดผลโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ซูซาน ฟอลเลนเดอร์ Director of Corporate ResponsibilityของIntelให้มุมมองว่าองค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูลและการจัดอันดับโดยหน่วยงานภายนอกมากขึ้น ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันระหว่างผลการดำเนินงานด้านESGและผลกำไรของบริษัท

บอร์ดของบริษัทต่างๆ ก็ให้ความสำคัญกับ ผลกระทบทางสังคมมากขึ้น ด้วยความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นทั้งจากนักลงทุน ลูกค้าและพนักงาน ทำให้CSRกลายเป็นวาระสำคัญลำดับแรกๆ และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และกลายเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทชั้นนำต่างๆจึงตระหนักดีว่าองค์กรจำเป็นต้องมีนโยบายด้านESG

การบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างคือเรื่องที่ยังต้องดูแล (Diversity and Inclusion : D&I) โดยเซซิลี โจเซฟ Vice President of Corporate ResponsibilityจากSymantecกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวจะยังอยู่ในปีนี้โดยพนักงานจะยังคงเรียกร้องให้บริษัทจัดการในประเด็นของความหลากหลาย รวมถึงนักลงทุนก็จะมองประเด็นนี้ในการวัดความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร รวมถึงการดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงาน

ถึงทีเสียงข้างมากของ พนักงานบ้าง ไม่ใช่แค่เรื่องของความหลากหลายและความแตกต่างเท่ากันที่จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร แต่ปัจจุบันหลายบริษัทมีแนวโน้มที่จะกำหนดนโยบายหรือทิศทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพิจารณาจาก “Passion”หรือแรงผลักดันของพนักงานมากกว่าการเน้นการสร้างชื่อเสียงภายนอกให้องค์กรเพียงอย่างเดียว พนักงานโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ปัจจุบันต้องการทำงานให้บริษัทที่ “รู้จักให้” และพวกเขาจะตัดสินใจเองว่าจะมอบอะไรคืนกลับให้องค์กรหรือจะอาสาทำอะไรให้องค์กร ดังนั้นองค์กรจึงควรสำรวจพนักงานของตนและพยายามสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานแบบNon-profitเช่นดูว่าพนักงานสนใจหรือต้องการทำเรื่องใด และหาหน่วยงานการกุศลจากภายนอกที่สามารถตอบโจทย์นั้นได้

ยังต้องให้ความสำคัญกับ ความโปร่งใสแน่นอนว่าความโปร่งใสยังคงเป็นเรื่องที่นักลงทุนให้ความสำคัญ โดยต่อไปบริษัทจะต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสมากขึ้น และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร และจากการที่เรามีดัชนีสำคัญๆ อย่างเช่นDow Jones Sustainability Indexบริษัทต่างๆ จะถูกจัดอันดับด้านความโปร่งใสมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องรายงานความคืบหน้า และความท้าทายต่างๆ ในการกำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใl

อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การดูแลสิทธิมนุษยชน และการสร้างผลเชิงบวกให้แก่สังคมมากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ใช่เทรนด์ที่แค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปค่ะ