เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ???(2)

เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ???(2)

บทความในตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงนิยาม “ความเหลื่อมล้ำ” อันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นปัญหาที่ใหญ่ของประเทศ

จากความเหลื่อมล้ำทางสังคม(Social Inequality) และปัญหาความยากจน ที่ยากจะขจัดให้หมดสิ้นไปได้ โดยมีสิ่งที่พอกระทำได้ คือ การลดความมเข้มข้นของความเหลื่อมล้ำให้น้อยลงพอสมควร ซึ่งบทความตอนนี้ จะกล่าวถึงแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำที่ท้าทาย

แนวทางลดความเหลื่อมล้ำ

1.) สถานภาพความเหลื่อมล้ำทางการเมืองจะหมดไปได้ด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy Society) ราษฎรมีความเสมอภาค, สิทธิและเสรีภาพอย่างบริบูรณ์ ซึ่งหมายถึง ราษฎรหรือประชาชนเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการเลือกสรรผู้ที่จะมาปกครอง นอกจากนั้นจะต้องปลุกจิตสำนึกในการปกครองตนเองของราษฎร ในการป้องปรามมิให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดยึดอานาจและผูกขาดการปกครอง ไม่ว่าจะอ้างเพื่อประสงค์ใดก็ตาม

2.) การทำให้สังคมเป็น สังคมของผู้มีการศึกษา” (Educated Society) มิได้หมายความเพียงเป็นสังคมที่สมาชิกมีความรู้ในวิชาการต่างๆ เท่านั้น แต่จะต้องมีความรู้และความรอบรู้, มีธรรมะ, มีหลักคิดที่ถูกต้อง, มีวัฒนธรรมและการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะลดความเหลื่อมล้าทางสังคมได้อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่ทำได้และยั่งยืนจริงๆ คือการให้โอกาสทางการศึกษาของเยาวชน คนที่ไม่มีทรัพย์สินหากได้เรียนปริญญาตรี ก็จะใช้การศึกษาเป็นต้นทุนให้กับตัวเอง โดยที่รัฐให้สิ่งเหล่านี้ได้ แทนที่จะให้ประชาชนกู้ ถ้ารัฐจัดให้ทุกคนเรียนฟรีทั้งหมด แม้จะต้องใช้เวลาแต่ในระยะยาวจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นนโยบายที่ดี แต่ยังต้องพึ่งเงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค โดยรัฐบาลกำหนดว่าจะลงขันให้ปีละ 1,000 ล้านบาท เมื่อไม่ได้รับงบประมาณทั้งหมดอย่างชัดเจนเป็นประจำ จึงเป็นที่กังขาว่ากองทุนจะประสบความสำเร็จหรือไม่

3.) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีเป้าหมายเพื่อดูแลให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาและบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง แม้แต่โรคค่าใช้จ่ายสูง เจตนารมย์ “พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545” ไม่เพียงผลลัพธ์ด้านสุขภาพได้ลดจำนวนครัวเรือนที่เกิดวิกฤติทางการเงิน จากการรักษาพยาบาลมีความมั่นคงมากขึ้นไม่ต้องล้มละลาย แต่ความท้ำทายยังคงเป็นเรื่อง งบประมาณ รวมถึงการหาแนวทางเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับระบบ ซึ่งแนวโน้มรายจ่ายด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการปรับราคาของค่ายาและค่าสาธารณูปโภคตามภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย

4.) พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ถือเป็น “ธรรมนูญทางการค้า” เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าภายใต้กติกาเดียวกัน เพื่อการแข่งขันกันได้อย่างเสรีและเป็นธรรม “คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า” (กขค.) เป็นความหวังที่จะเกิดธรรมาภิบาลทางการค้าในตลาดขึ้น เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพ ด้านราคา และด้านนวัตกรรมของสินค้าและบริการ สถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจหลายประเภทยังอยู่ในลักษณะกึ่งผูกขาดที่รอการแก้ไข ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์, โทรคมนาคม, โรงพยาบาลเอกชน, งานรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่, การค้าปลีก เป็นต้น

5.) ปรับโครงสร้างภาษี เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เป็นแนวทาง เพิ่มรายได้รัฐจากการเก็บภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีจากฐานเงินได้ และจากฐานทรัพย์สินให้มากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งที่มาของงบประมาณนโยบายรัฐสวัสดิการสังคม ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นระบบภาษีแบบแยกส่วน (Multiple Income Tax System) ซึ่งกำหนดอัตราภาษีตามแหล่งที่มาของรายได้ต่างๆ กัน เช่น รายได้จากการทางานมีอัตราภาษี 35% ตามขั้นรายได้ รายได้จากดอกเบี้ยมีอัตราภาษี 15% และรายได้จากเงินปันผลมีอัตราภาษี 10% หากใช้ระบบภาษีแบบบูรณาการ คือ การรวมรายได้ทุกประเภทมารายงานเพื่อคำนวณภาษีในอัตราเดียวกันตามขั้นเงินได้สุทธิ รัฐบาลจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้มากกว่าเดิม

การปฏิรูปภาษีโดยเฉพาะภาษีมรดก ซึ่งมีปัญหาช่องโหว่ในทางกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติ ทาให้ผู้รับมรดกหลุดรอดไปจากระบบภาษีอย่างสิ้นเชิง ส่วน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเพิ่งผ่าน สนช. เมื่อ 16 พ.ย. 2561 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มการกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น คงต้องวัดตามดูว่าจะลดความเหลื่อมล้ำ หรือซ้ำเติมประชาชนที่เอื้อให้นายทุนทั้งหลาย มีโอกาสตักตวงและเก็บเกี่ยวที่ดิน “ราคาถูก” ที่ต้องถูกบังคับขายจากอัตราภาษีใหม่ได้ง่ายขึ้น

6.) นโยบายระบบการเงิน ลดความเหลื่อมล้ำของประเทศโดยใช้ดอกเบี้ย ค่าเงิน และมาตรการดูแลโครงสร้างเศรษฐกิจผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งสหกรณ์ออมทรัพย์ - เอสเอ็มอี รวมทั้งปรับโครงสร้างใหม่ระบบสถาบันการเงินให้เข้าถึงทุกชนชั้น

สำนักงานแก้จนจะสำเร็จ หรือ ล้มเหลว ???

ในเดือน ธ.ค.2561 รัฐบาล คสช. เห็นชอบให้จัดตั้งสานักงานบูรณาการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “สำนักงานแก้จน” โดยหน่วยงานนี้ตั้งเป้าหมายแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ภายใน 20 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ

ความท้าทาย คือ การเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาความยากจน ซึ่งมีความซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งภายใต้บริบทของสังคมไทย แต่การปกครองของรัฐบาล คสช. 5 ปี ที่ผ่านมา ประเทศยังไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถึงความไม่เสมอภาคสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์, การปฏิรูประบบภาษีอากร ยังไม่เป็นรูปธรรม การจัดสรรงบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ; การทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ลดลง ; การบังคับใช้กฎหมายที่จากัดการผูกขาดธุรกิจจากนายทุน การเข้าถึงทรัพยากร และการกีดกันทางการค้าไม่มีประสิทธิผล, การศึกษาที่ไม่สามารถพัฒนาคนให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากความยากจน หรือแม้แต่วัฒนธรรมและความเชื่อบางอย่างที่ครอบงาความคิด ล้วนแต่เป็นอุปสรรคในการลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน ประชาชนผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่จาเป็นต้องฝากความหวังไว้กับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ว่าจะมีความตั้งใจทางการเมืองหรือ “ความมุ่งมั่นทางการเมือง” (Political Will) ที่จะต้านแรงล๊อบบี้จากกลุ่มทุนทั้งหลายให้ได้(จบ)

โดย... 

ธีรวิทย์ จารุวัฒน์

รองเลขาธิการ พรรคเสรีรวมไทย