เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอน 1)

เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอน 1)

ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำทางสังคม(Social Inequality) และปัญหาความยากจน

เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจขจัดให้หมดสิ้นไปได้ แต่สิ่งที่พอกระทำได้ คือ การลดความเข้มข้นของความเหลื่อมล้ำให้น้อยลงตามสมควร ทว่านับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันความเหลื่อมล้ำนี้ก็ยังคงอยู่และทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบเศรษฐกิจของประเทศก่อให้เกิด “สังคมประชาธิปไตย” (Democracy Society) ; “สังคมของผู้มีการศึกษา” (Educated Society) ; “สวัสดิการสังคม” (Social Welfare) ; “การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม” (Fair Trade Practice) ; “การปรับโครงสร้างภาษี” (Tax Reforms) ; และการปลูกฝัง ”จิตสำนึกในการพึ่งพาตนเอง” (A Sense of Self-Reliance) เป็นมาตรการที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้มาก

ความเหลื่อมล้ำ คืออะไร

ทำความเข้าใจ ความเหลื่อมล้ำ” (Inequality) หมายถึง ความไม่เท่าเทียมกัน, ซึ่งเนื่องจากความไม่เท่าเทียมกัน ปรากฏในทุกๆ เรื่อง, ในทุกๆ พื้นที่, ในทุกๆ ภาคส่วน และในทุกๆ กาลเวลา ดังนั้น จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจจะขจัดให้หมดสิ้นไป ความเหลื่อมล้ำในสังคม จะเป็นผลเนื่องจากความเหลื่อมล้าทางการเมือง และความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง (Political Inequality) หมายถึง สถานภาพที่ในการเมือง การปกครอง มีทั้งผู้มีอานาจในการปกครอง และผู้อยู่ใต้อานาจการปกครอง ความเหลื่อมล้ำนี้จะหมดไป หากประเทศอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร บัญญัติให้ราษฎรมีความเสมอภาคมีสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic Inequality) หมายถึง ความไม่เท่าเทียมกันใน 3 ด้าน คือ

1.) ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้และทรัพย์สิน

2.) ความไม่เท่าเทียมกันในการบริโภค

3.) ความไม่เท่าเทียมกันในการตัดสินใจทาการผลิต และการแบ่งสรรมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากการผลิต

ความเหลื่อมล้านี้เป็นปรากฏการณ์ในเศรษฐกิจระบบทุนนิยมหรือตลาดเสรี (Market Economy) การขจัดจึงไม่สามารถกระทำได้ หากลดความเข้มข้นลงได้บ้าง จากนโยบายและมาตรการทางภาษี และรัฐกำหนดขอบเขตการทำงานของกลไกตลาดที่ชัดเจนและเหมาะสม ปฏิรูปกฎหมายแข่งขันทางการค้า เพื่อจัดการปัญหาผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้ ทาให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งส่งต่อความยากจนจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก

อาการเรื้อรังของโรคเหลื่อมล้ำที่กัดกินสังคมไทยมานาน

เมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการลดความเหลื่อมล้าทางสังคม พบว่าประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังคงประสบปัญหาการกระจายรายได้ แผนภาพข้างล่างแสดงค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ของรายได้ของประเทศไทย พ.ศ.2531-2560 จะเห็นว่าอาการ เรื้อรัง ของโรคเหลื่อมล้ำกัดกินสังคมไทยมานานหลายทศวรรษ ผลของความเหลื่อมล้ำสูงที่มีต่อคนระดับล่าง จะส่งผลไปสู่คนรุ่นลูกของพวกเขาในอีก 25 ปี ข้างหน้าด้วยเช่นเดียวกัน

เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอน 1)

(Gini Coefficient เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่ง ที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ หรือการกระจายความร่ำรวย โดยมีค่าระหว่าง 0 กับ 1 โดย 0 จะบอกว่าประเทศนั้นไม่มีความเหลื่อมล้ำ ในขณะที่ประเทศนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันสูงที่สุด)

ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกไปแล้ว ตามข้อมูลของ CS Global Wealth Report 2018 ที่ยกมาเมื่อเดือน ต.ค.2561 โดยเมื่อปี 2559 คนไทย 1% มีทรัพย์สินรวม 58.0% ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ แต่ปี 2561 คนไทย 1% มีทรัพย์สินรวมเพิ่มเป็น 66.9% กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ร่ารวยขึ้นอย่างมีนัยสาคัญจากการผูกขาด ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้ อาจเป็นมูลเหตุอันดับหนึ่งของความขัดแย้งในทางการเมือง การที่เรามีรัฐบาลแบบอำนาจเบ็ดเสร็จมาค่อนข้างยาวนาน ส่งผลให้เราไม่มีนโยบายใหม่ๆ ที่จะลดทอนความเหลื่อมล้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง จึงไม่ใช่เรื่องของการบังคับให้ทุกกลุ่มทุกคนรักและสามัคคีกัน เท่ากับการทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคนให้ลดแคบลง(ตอนจบ ฉบับวันที่ 31 ม.ค.2562)

โดย... 

ธีรวิทย์ จารุวัฒน์

รองเลขาธิการ พรรคเสรีรวมไทย