ไทยปลดใบเหลืองไอยูยูได้ ดีอย่างไร

ไทยปลดใบเหลืองไอยูยูได้ ดีอย่างไร

8 ม.ค. 2562 อียูประกาศปลดใบเหลืองไอยูยูให้แก่ประเทศไทย หลังจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายหรือไอยูยูของไทยแบบยกเครื่องใหม่

ทั้งระบบมานานกว่า 3 ปี ว่าแต่ปลดใบเหลืองได้แล้วดีอย่างไรกับไทย

ภาพลักษณ์ประเทศไทยดีขึ้น

คุณรู้ไหมว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะที่อียูเป็นผู้ซื้อสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน ตลาดอียูเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของไทย ไม่แพ้ที่ส่งไปสหรัฐฯ และในเอเชีย ผู้บริโภคยุโรปให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่าๆ กับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า

อียูได้ตั้งประกาศปฏิธานไว้อย่างแน่ชัดว่า จะไม่ซื้อหรือนำเข้าสินค้าที่มาจากแหล่งที่มีการทำประมงผิดกฎหมายหรือไอยูยู กล่าวคือสินค้าประมงจากประเทศที่สามต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎระเบียบไอยูยูของอียูจึงจะสามารถส่งไปขายยังตลาดยุโรปได้

ใบเหลืองจากอียูเมื่อหลายปีก่อน นับเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ไทยเริ่มต้นและเร่งเดินหน้าการปฏิรูปนโยบายประมงไทยเพื่อมุ่งเป้าหมายของการทำประมงอย่างยั่งยืน อยากเราลองมองว่า การมุ่งปฏิรูปนโยบายประมงไทยครั้งนี้ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อทำตามข้อเสนอแนะของอียูเท่านั้น (เพื่อให้ค้าขายและส่งออกไปอียูได้) แต่เราต้องมองเป้าหมายหลักเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลซึ่งเป็นของส่วนรวม และการมีนโยบายประมงที่มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อความยั่งยืนของไทยเป็นสำคัญ

แน่นอนใบเหลืองไอยูยูส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเล ดังนั้น การออกมาประกาศคำมั่นของรัฐบาลทันทีหลังจากได้ใบเหลืองจากอียูว่าเราจะมุ่งหน้าแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและร่วมกับอียูและประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังโดยไม่เมินเฉย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และการปฏิรูประบบประมงครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้น 

ผลิกโฉมประมงไทย มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

ในช่วงเวลากว่า 3 ปีของการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ได้ง่ายเลย การสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่องไปสู่ระบบการทำประมงเพื่อเป้าหมายของการสร้างความยั่งยืนและรักษาทรัพยากรทางทะเล ตั้งแต่การออกกฏหมายใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ กฎระเบียบใหม่ แน่นอนนำมาซึ่งผลกระทบและการเปลี่ยนวิถีชีวิต การทำมาหากิน การทำธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม ทุกคนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงไม่ต่างกัน

1) กฎหมายประมงฉบับใหม่ และนโยบายและระบบการบริหารจัดการประมงอย่างยั่งยืน

เป็นไปได้ไหมที่เราไม่ได้แก้ไขกฎหมายประมงมานาน 68 ปี ? กฎหมายประมงใหม่ได้แก่ พระราชบัญญัติ (พรบ.) การประมง พ.ศ. 2558 เป็นเหมือนการลอกคราบครั้งใหญ่ของวงการประมงไทย หลังใช้ พรบ.การประมง พศ. 2490 มานาน จึงนับเป็นกฎหมายที่มั่นใจว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบองค์รวมที่สามารถยุติปัญหาการประมงผิดกฎหมาย และสร้างมาตรฐานการทำประมงที่เสมอภาคทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน รวมทั้งมีสาระหลักที่ให้ความสำคัญกับนโยบายปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำได้

ไทยปลดใบเหลืองไอยูยูได้ ดีอย่างไร

ต้องขอบคุณใบเหลืองไอยูยูจากอียูที่ถือว่ามีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยเร่งการออกกฎหมายประมงฉบับใหม่ และแก้ไขจนเป็นไปตามข้อกำหนด พันธกรณี และความรับผิดชอบในเวทีระหว่างประเทศ

วันนี้เราสามารถพูดได้ว่าประเทศไทยมีกฎหมายประมงใหม่ที่ทันสมัย ไม่ล้าหลัง และเข้มข้นมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ นับเป็นการแสดงจุดยืนในฐานะผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลระดับโลกได้อย่างชัดเจน

2) มาตรการและระบบการควบคุมและเฝ้าระวังที่เข้มงวด

นอกจากนั้น ไทยได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมและจัดการทำประมงใหม่ทั้งระบบ อาทิ จัดตั้งศูนย์ Fisheries Monitoring Centre (FMC) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการการติดตามและตรวจสอบการทำประมง เพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย และจัดทำระบบ Monitoring, Control and Surveillance (MCS) ใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่มีทีมงานผู้ตรวจกว่า 4,000 ปฏิบัติงานทั้งที่ศูนย์บัญชาการและบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งการตรวจและติดตามเรือในทะเล ผ่านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ เรือไทยขนาด 30 ตันต้องติด Vessel Monitoring System (VMS) เพื่อให้สามารถติดตามดำแหน่งและพฤติกรรมของเรือในระหว่างการทำประมงได้

3) ตรวจสอบได้จากท้องทะเลไปถึงจานอาหาร แบบ “Sea to Plate”

ประเทศไทยได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมง หรือ Traceability จนนับได้ว่าดีเลิศ ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไทยสามารถติดตามและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าประมงตั้งแต่ เรือที่จับ เครื่องมือที่ใช้ สัตว์น้ำที่จับได้ ท่าเรือที่ออกไปและกลับมา ลูกเรือที่อยู่บนเรือ จนกระทั่งการนำสินค้าสัตว์นำขึ้นท่า ขนส่งไปสู่โรงงาน สต๊อคในโรงงาน จนนำไปการแปรรูป และการส่งออก ไปจนถึงผู้บริโภคในในประเทศและทั่วโลก เรียกได้ว่าระบบ Traceability ของไทยสามารถตรวจสอบได้จากท้องทะเลไปถึงจานอาหารของคุณเลยทีเดียว นั่นหมายถึง เราสามารถควบคุมการทำประมงและจับสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น จากเดิมที่เคยปล่อยให้ทำการประมงแบบเปิดมาเป็นเวลานาน  (ดูความคืบหน้าของไทยในภาพประกอบข้างล่าง)

ไทยปลดใบเหลืองไอยูยูได้ ดีอย่างไร  

มุ่งสู่อนาคต กับภารกิจของไทยเพื่อไปสู่ IUU Free Thailand และบทบาทใน ASEAN

รองนายกรัฐมนตรีฯ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในขณะเป็นตัวไทยของประเทศไทยมารับใบเขียวจากอียู ได้แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาไอยูยูต่อไป เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็น IUU Free Thailand ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับแผนงานความร่วมมือในอนาคตกับอียูเพื่อให้ไทยบรรลุการเป็นประเทศปลอดประมงไอยูยู หรือ ไอยูยูฟรีได้โดยสมบูรณ์ต่อไป รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงไอยูยูร่วมกัน 3 แผน คือ 1.การจัดตั้งคณะทำงานไทย-อียูต่อต้านการทำประมงไอยูยู 2.ตั้ งคณะทำงานร่วมอาเซียนเพื่อป้องกันและปราบปรามการทำประมงไอยูยู 3. ส่งเสริมการประมงปลอดจากสัตว์น้ำและสินค้าประมงจากการทำประมงไอยูยู

ขอเป็นกำลังใจให้ประเทศไทยในการเดินหน้าความสำเร็จนี้ต่อไป

ไทยปลดใบเหลืองไอยูยูได้ ดีอย่างไร

โดย... 

ดร. อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.eu หรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd