ความท้าทายในการกำกับ "Sharing Economy"

ความท้าทายในการกำกับ "Sharing Economy"

กฎหมายควรมีบทบาทอย่างไรในโลกยุค Sharing Economy? เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับนักกฎหมายว่า อะไรคือ จุดสมดุล

ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจในยุค Sharing Economy เนื่องจากหากการกำกับมีลักษณะเข้มข้นจนเกินไปก็อาจส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ไม่ให้เกิด ในทางตรงกันข้าม การกำกับดูแลที่น้อยเกินไปก็อาจส่งผลต่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค อะไรคือ Sharing Economy?

เรามักได้ยินนิยามของ Sharing Economy ว่าคือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ซึ่งการแบ่งปันใน ที่นี้ คือ การแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ให้ผู้อื่นได้เข้าใช้และก่อให้เกิดประโยชน์หรือรายได้ในเชิงธุรกิจ (Sharing surplus resources) แต่การแบ่งปันที่ว่า เป็นการแบ่งปันให้อีกฝ่าย (ผู้รับบริการ) โดยอาศัยการทำงานของเทคโนโลยี หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลาง (เช่น การให้บริการผ่าน Website หรือ Application) อันเป็นการสร้าง Online/Sharing Platform ที่เชื่อมต่อผู้ให้บริการ และผู้รับบริการเข้าไว้ด้วยกัน และก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสาร ค้าขาย หรือให้บริการในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ดังกล่าว 

Sharing Economy ในมุมกฎหมาย 

การเข้าใช้และเข้าถึงทรัพยากรโดยไม่จำเป็นต้องมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์นั้น เช่น การให้บริการ Dockless Bike Sharing หรือ จักรยานให้เช่าแบบไร้สถานี โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการได้โดยการดูแผนที่ใน Application ว่ามีจักรยานให้เช่าจอดอยู่ที่ใดบ้าง จากนั้นเมื่อทำการ จ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์ จะปลดล็อกจักรยานคันดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ได้ทันที ปัจจุบันบริษัทที่ ให้บริการ เช่น Jump (ถือหุ้นโดย Uber), ofo และ Mobike เป็นต้น นอกจากนี้ สำหรับผู้ให้บริการ การประกอบธุรกิจ Sharing Economy ก็อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้าง Assets ใดๆ ใหม่ หรือบางกรณีอาจทำได้โดยไม่ผ่านช่องทางการกำกับดูแลของ กฎหมายปัจจุบันที่มีอยู่ เช่น การให้บริการหาที่พัก/โรงแรมออนไลน์ ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุน สร้างที่พัก/โรงแรม โดยมีหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างเจ้าของ Asset และผู้รับบริการ หรือบริษัท RideSharing ต่างๆ สามารถให้บริการด้านคมนาคมได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อยานพาหนะเป็นของ ตัวเอง และผู้ขับ ที่ App ของ Ride-Sharing ได้นำเสนอให้กับผู้รับบริการนั้น กฎหมายในหลาย ประเทศมองว่าเป็นการให้บริการที่ไม่ได้ license ที่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อให้บริการประชาชนในรูปแบบรถสาธารณะ เช่นเดียวกันกับผู้ให้เช่าที่พักผ่าน App ในข้างต้น ก็อาจผิดกฎหมายในหลายประเทศ เนื่องจากการให้เช่าห้องพักรายวัน จำเป็นต้องได้ license เป็นการเฉพาะ แยกต่างหากจากการทำสัญญาเช่าทั่วไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความท้าทายของกฎหมาย

ความท้าทายของกฎหมายนั้นมีอยู่มากในการประกอบธุรกิจแบบ Sharing Economy ผู้เขียน ขอหยิบยกในบางประเด็น ดังนี้

1.ประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคและความรับผิดจากการให้บริการ เป็นประเด็นสำคัญของ Regulators ทั่วโลก กล่าวคือ การประกอบธุรกิจบางประเภทจำเป็นต้องได้ license จากภาครัฐ เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการให้บริการและแนวทางการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจแบบ Sharing Economy อาจไม่มี license จึงไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรฐานดังกล่าว แต่กลับสามารถให้บริการในลักษณะเดียวกันได้โดยทันที เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดในรูปแบบ Sharing platform ที่ทำได้ไม่ยากนัก

ดังนั้น จึงมีข้อสังเกตว่า หากมีปัญหาเรื่องความรับผิดจากการให้บริการเกิดขึ้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น กรณีของ Ride-Sharing ระหว่างผู้ให้บริการ Sharing Platform หรือ คนขับที่ App จัดหามาให้จะเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีต่างๆ ซึ่งหากมีอุบัติเหตุจากการให้บริการ แต่ Sharing Platform สามารถปัดความรับผิดได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในเชิง Competitive Advantage เนื่องจากตัว Platform ไม่ได้แบกรับต้นทุนที่แท้จริงในการดำเนินธุรกิจ

2.ประเด็นเรื่องการแข่งขันทางการค้า (Unfair Competition) สืบเนื่องจากประเด็นใน ข้อ 1. นักกฎหมายในหลายประเทศได้ยกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจเดิมกับผู้ประกอบธุรกิจแบบ Sharing Economy ในบางประเทศ เช่น อิตาลี ได้มีการบัญญัติกฎหมาย Sharing Economy Act เพื่อให้ผู้ประกอบการผ่าน Platform เข้าสู่ระบบจดทะเบียนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน และมีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ที่มีการแก้ไขกฎหมาย Road Traffic เพื่อเพิ่มหลักการในเรื่องการขึ้นทะเบียน และกำหนดให้การใช้รถร่วมกันแบบ Car Pools สามารถทำได้โดยถูกฎหมายและไม่ต้องขอ License เพิ่มเติม หากผู้ขับให้บริการ Carpool Service ไม่เกินวันละ 2 ครั้ง ส่งผลให้ธุรกิจ Carpool ในสิงคโปร์มักทำร่วมกันในกลุ่มคนที่ใช้เส้นทางเดียวกันเพื่อไปทำงาน

3.ประเด็นเรื่องเรื่อง Privacy และ Security กล่าวคือ การทำธุรกิจแบบ Sharing Economy นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้รับบริการได้ให้ข้อมูลจำนวนมากกับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะจากการสมัคร ลงทะเบียนในการใช้บริการในครั้งแรก หรือจากการให้ Feedback หลังจากการใช้บริการ ดังนั้น ประเด็นด้านความปลอดภัยและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้บริการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ผู้ใช้บริการไม่อาจมองข้าม

กำกับมากไปก็ไม่เกิด 

ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น กำกับอย่างไรให้พอเหมาะจึงเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น จีน เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2019 ที่ผ่านมาได้มีการออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลผู้ให้บริการขับรถยนต์ผ่าน ระบบ Application กล่าวคือ ได้มีการสร้างระบบ Double Licensee โดย license ใบแรก คือ ใบขับขี่ และใบที่สองคือ license ที่รัฐบาลท้องถิ่นจะออกให้กับผู้ขับ (ติดกับกระจกหน้ารถ) เพื่อให้ สามารถให้บริการอย่างเช่นรถสาธารณะได้ ซึ่ง license ใบที่สองนี้ไม่ต่างไปจากใบอนุญาตในการ ประกอบธุรกิจ เนื่องจากผู้ขับต้องเสียค่าธรรมเนียมและมีการจ่ายค่าประกันเพิ่มเติม รวมถึงปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามแต่ละท้องที่จะก าหนด ซึ่งการออกหลักเกณฑ์เช่นว่านี้ ส่งผลต่อการลดลงของ จ านวนธุรกิจ Ride-Sharing ในจีนเป็นอย่างมาก

ท้ายที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าจุดที่สมดุลของการกำกับดูแล คือ การออกกฎหมายที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม เป็นไปไม่ได้ที่โลกจะหมุนกลับไปยุค Brick-and-Mortar ในแบบเดิม หากภาครัฐยังอยากกำกับการประกอบธุรกิจแบบ Sharing Economy ก็จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ในเชิงต้นทุนและประโยชน์ให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Costs) ที่มักเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกำกับดูแล

 [ บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ]