10 เรื่องที่ต้องรู้ในการจัดพอร์ตลงทุนปี 2562

10 เรื่องที่ต้องรู้ในการจัดพอร์ตลงทุนปี 2562

คณะกรรมการการลงทุนของฟินโนมีนา (FINNOMENA) ได้กำหนดชื่อธีมการลงทุนสำหรับปี 2562

คือ “Toward Maximum Diversification - มุ่งสู่การกระจายการลงทุนระดับสูงสุด” เรามองว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกจะขยายตัวในระดับที่ลดลงจากปี 2018กำไรบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตในระดับที่น้อยกว่าช่วง 1 - 2ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจและผลประกอบการโดยรวมยังคงมีการขยายตัวทำให้มีโอกาสน้อยที่ตลาดทุนโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต (Financial Crisis)

สำหรับตลาดทุนปี 2562 ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Sideway คือผันผวนในกรอบกว้าง ๆ เราจึงแนะนำให้มีการกระจายการลงทุนในระดับสูงสุดเพื่อลดความผันผวนของพอร์ทการลงทุนโดยรวมลงและช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว โดยมีเรื่องที่น่าสนใจ 10 ประเด็น ดังนี้

1. Yield Play Theme กลับมาอีกครั้งเมื่อสหรัฐฯ ใกล้จบวงจรการขึ้นดอกเบี้ย

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED เริ่มมีสัญญาณ Dovish มากขึ้น โดยทาง FINNOMENA IC คาดว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 - 2 ครั้งในปี 2019 และจะเป็นการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้

2. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังโต แต่จะโตในอัตราที่ลดลง (Soft Landing)

ในปี 2561 สหรัฐฯ มีนโยบายปรับลดการเก็บภาษีภาคเอกชน การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และตลาดแรงงานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวด้วยอัตราที่สูง

แต่ในปี 2562 จะไม่มีนโยบายลดการเก็บภาษีดังกล่าว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้น และสงครามการค้า อย่างไรก็ตามตัวเเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง บ่งชี้ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯจะขยายตัวในระดับที่น้อยกว่าเดิม

3. Harmful Political - ประเด็นการเมืองยังสร้างความกังวลให้ตลาดทั่วโลก

ภูมิภาคยุโรปยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งจากกรณี Brexit, การเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อย, การบังคับใช้ระเบียบทางการคลัง และการขยายตัวของแนวคิดชาตินิยมที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในปีหน้า จึงยังคงไม่แนะลงทุน

ในขณะที่ประเด็นสงครามการค้า แม้จะมีปัจจัยบวกในการเลื่อนเก็บภาษีสินค้านำเข้า 90 วัน แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่สหรัฐฯ และจีนจะหาข้อสรุปและยุติประเด็นดังกล่าวอย่างเด็ดขาด

4. Valuation ของตลาดหุ้น Asia ex Japan และตลาดหุ้นจีน กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

ตลาดหุ้น Asia ex. Japan มีการปรับฐานมากพอสมควรแล้วในปี 2018 ทำให้ระดับ Valuation ถูกลงเมื่อเทียบกับในอดีต เมื่อประกอบกับอัตราการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ที่มากกว่าตลาดพัฒนาแล้ว และความพยายามสร้่างเสถียรภาพทางการเงินด้วยการเปลี่ยนสัดส่วนเงินทุนสำรองไปยังทองคำ ส่งผลให้ตลาดAsia Ex. Japan มีความน่าสนใจ

5. Pre-election rally (ถ้ามี) เป็นจังหวะทำกำไรตลาดหุ้นไทย

จากสถิติที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นไทยทำผลงานได้ดีในช่วงก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามด้วยระดับ Valuation ที่ค่อนข้างแพง และระดับ Earning Growth ของปี 2562 ที่ระดับต่ำกว่า 10% ทำให้เรามีมุมมองที่จะขายทำกำไรตลาดหุ้นไทยหากมี Pre-election Rally เกิดขึ้น

6. แรงกดดันเงินเฟ้อคลี่คลายหลังราคาน้ำมันปรับตัวลง

FINNOMENA IC มองว่าราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 50-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อน้อยลง ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่น้อยลงจะส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกไม่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และสามารถหันมาใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (Dovish) ได้มากขึ้น

8. ค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าสูง

ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งในปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเด็นสงครามการค้าส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าก็เป็นตัวกระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเช่นกัน โดยในปี 2562 เรามองว่าประเด็น Trade War จะชะลอความรุนแรลงง ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย FED ที่จะขึ้นช้าลง มีโอกาสสูงที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าในปี 2019

9. ความผันผวนปลุกทองคำให้น่าลงทุน (Overweight)

ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2561 ราคาทองคำถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ แต่ในครึ่งปีหลังราคาทองเริ่มกลับมาสร้างฐานและขยับตัวสูงขึ้น เมื่อประกอบกับปริมาณการถือครองทองคำผ่านกองทุน ETF และ ธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทองคำมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน

10. Absolute Return Strategy (Overweight)

กองทุนรวม Absolute Return ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนแบบไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดการลงทุนใด ๆ จากสถานะ Long/Short เพื่อค้ากำไรส่วนต่าง เป็นอีกกลยุทธ์ที่เราแนะนำลงทุน เพื่อกระจายการลงทุนระดับสูงสุด

11. กองทุนอสังหาฯ และโครงสร้างพื้นฐาน (Overweight)

ภาวะตลาดที่ยังมีความผันผวนสูงจากเหตุปัจจัยข้างต้น เราจึงแนะนำให้เพิ่ม น้ำหนักการลงทุนใน กองทุนอสังหาฯ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ REITs เนื่องจากความกังวลในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยลง จากโอกาสรับปันผลสม่ำเสมอ ในระดับที่ชนะเงินเฟ้อได้ (5-7%)