การขอรับ สิทธิบัตร

การขอรับ สิทธิบัตร

สิทธิบัตรคืออะไร ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ให้ความหมายของสิทธิบัตรไว้ว่า สิทธิบัตร คือ

หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากความหมายของสิทธิบัตรดังกล่าว ทำให้เห็นถึงประโยชน์ของการขอรับสิทธิบัตร คือ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อได้รับสิทธิบัตรแล้วจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย คือ เจ้าของหนังสือสิทธิบัตรมีสิทธิในการผลิต การใช้ ขายมีไว้เพื่อขายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือที่ผลิตตามกรรมวิธีที่ได้รับสิทธิบัตร สำหรับบุคคลอื่นไม่มีสิทธิทำเช่นเจ้าของสิทธิบัตรได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของหนังสือสิทธิบัตร ถ้าฝ่าฝืนก็จะเป็นผู้ละเมิดสิทธิบัตร มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา

การประดิษฐ์ที่จะขอทธิบัตรได้

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเข้าองค์ประกอบ 3 ประการคือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนสูงขึ้น และ สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสากรรมได้

การประดิษฐ์ขึ้นใหม่คืออย่างไร การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏแพร่หลายอยู่แล้ว หรือที่มีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว รวมทั้งงานที่มีการเผยแพร่ในที่ต่างๆ มาแล้ว คดีตัวอย่างเช่น คดีการประดิษฐ์ที่มีสารประกอบกราวเครือ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ามีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดทางสิ่งพิมพ์มาตั้งแต่ ปี 2474 จึงไม่ใช่เป็นการผลิตขึ้นใหม่ และไม่ใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนสูงขึ้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่4783/2549) อีกคดีหนึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกหัวเสาเข็มข้อพิพาท ไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ (คำพิพากษษศาลฎีกาที่2703/2546)

การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่บัญญัติในมาตรา 9 มี 5 อนุมาตรา คือ (1) จุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช (2) หลักเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (3)ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ) วิธีการวินิจฉัย บำบัด รักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ ( (5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีอานามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

การขอรับ สิทธิบัตร

อย่างไรก็ตาม แม้สารสกัดจากพืชหรือสัตว์จะไม่ได้รับการคุ้มครองคือไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ แต่ถ้านำสารสกัดนั้นเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามกรรมวิธีที่ประดิษฐ์ขึ้น ก็ไม่มีบทบัญญัติให้กรรมวิธีการผลิตที่ใช้สารสกัดจากพืชในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ (เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่1764/2549)

คุณสมบัติของผู้ขอรับสิทธิบัตร

บุคคลที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในมาตรา14 คือมีสัญชาติไทยถ้าเป็นนิติบุคคลต้องมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในประเทศไทย หรือมีสัญชาติของประเทศภาคีสนธิสัญญาร่วมมือทางสิทธิบัตร หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยอมให้คนไทยหรือนิติบุคคลที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยขอรับบสิทธิบัตรในประเทศนั้นได้ หรือมีภูมิลำเนาหรือกำลังประกอบธุรกิจในประเทศไทย

แอบขอรับสิทธิบัตรหรืองุบงิบออกสิทธิบัตรได้หรือไม่

ในการขอรับสิทธิบัตร หากผลการตรวจสอบเบื้องต้น เห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์นั้นได้รับการคุ้มครอง ต้องมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฑกระทรวง คือการประกาศโฆษณาในเว็บไซ้ท์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเปิดช่องให้บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือเห็นว่า คำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช้สิทธิคัดค้านได้ ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การขอรับสิทธิบัตรจึงไม่อาจแอบทำหรืองุบงิบออกสิทธิบัตรได้

ได้รับสิทธิบัตรจากต่างประเทศแล้ว ต้องขอรับสิทธิบัตรของไทยหรือไม่

ผู้ได้รับสิทธิบัตรจากต่างประเทศสำหรับการประดิษฐ์แม้จากประเทศภาคีสมาชิกสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หากต้องการได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย ต้องยื่นคำขอระหว่างประเทศเพื่อขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย ซึ่งมีขั้นตอนในการอำนวยความสะดวกให้บางประการ แต่ก็ไม่มีข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร2522 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่1764/2549)

สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์

เมื่อมีการออกสิทธิบัตรปละผู้ขอได้รับสิทธิบัตรไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าการออกสิทธิบัตรเป็นอันเสร็จเด็ดขาด หากในภายหลังพบว่าการออกสิทธิบัตรนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังมีช่องทางฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ของมาตรา34 ของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรมาตรา 54 ที่บัญญัติว่า “ สิทธิบัตรใดได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์

ความไม่สมบูรณ์ตามวรรคหนึ่งบุคคลใดจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการาการจะฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นก็ได้ “

ตามบทบัญญัติดังกล่าวบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงสามารถฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ ซึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัยไว้ เช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546วินิจฉัยว่า การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1)เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (2)เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ(3)เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรข้อพิพาทไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ที่เป็นข้อพิพาทจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ เพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่4783/2549 วินิจฉัยว่า การประดิษฐ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือ มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี2474 ก่อนที่จะมีการขอสิทธิบัตรที่พิพาทในคดีนี้ การขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้ การประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นฯธรรมดาที่บุคคลอื่นใช้ผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม หรืออื่นฯได้ คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยา เครื่องสำอางจากกวาวเครือ หากสิทธิบัตรที่พิพาทมีผลสมบูรณ์ โจทก์อาจถูกจำกัดสิทธิในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรที่พิพาทได้ เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์