นวัตกรรมทางจิต : สุขภาวะทางปัญญาเพื่อการพัฒนาสังคม

นวัตกรรมทางจิต : สุขภาวะทางปัญญาเพื่อการพัฒนาสังคม

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนา ที่ผู้ขียนได้นำเสนอปริญญานิพนธ์ต่อมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ ด้วยเล่งเห็นว่า

 การศึกษาในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาคน องค์ความรู้ต่างๆ ควรจะมีการค้นหาโดยเฉพาะปรัชญาหลักคิดทางการศึกษาของโลกตะวันออก ในนามพุทธปรัชญา บางครั้งเราลืมหรือลดความสำคัญ ทำให้หลักคิดพุทธปรัชญาทางการศึกษาไม่พัฒนาเชิงวิจัย ประมวลเหตุผลดังกล่าวจึงเกิดการวิจัยนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลักสติปัฏฐาน และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบในแต่ละด้านไปพัฒนาเป็นนวัตกรรม ชุดกิจกรรมพัฒนา และประเมินผลการทดลองใช้นวัตกรรม เมื่อกล่าวถึง หลักสติปัฏฐาน ขอขยายความอย่างง่ายเพื่อความเข้าใจ คือการมีสติเฝ้าสังเกต ทางการศึกษาเรียกว่าการประเมินผลพฤติกรรม (ละเอียดสุดทุกขณะจิต) ซึ่งมีฐานหลักประกอบด้วย ทางกาย ความรู้สึก (เวทนา) ความคิด (จิต) และธรรม (ปัญญา) 

ปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กับพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งสังเกตเห็นและแฝงเร้นแทรกซ้อนอยู่ วิธีการโดยวิเคราะห์องค์ประกอบแล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามจากตัวแปรด้าน กาย เวทนา จิต ธรรม ให้ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาอย่างไร โดยใช้หลักการพัฒนา (ภาวนา 4) ประกอบการสร้างแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมบริการจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 5 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ธุรกิจบัณฑิตย์ ศรีปทุม รังสิต และวิทยาลัยดุสิตธานี ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้จำนวน 343 คน 

จากการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบ หลักสติปัฏฐาน (ผู้วิจัยขอใช้ว่า นวัตกรรมทางจิต ) พบว่า เป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง เพราะเป็นกระบวนทางวิจัย (โพชฌงค์) โดยเริ่มจากสติ สติเป็นปัจจัยหลักแทรกและฝังตัวทำหน้าที่ร่วมกับพฤติกรรมทางกายและความคิด ความฉลาดทางอารมณ์ อนึ่งนั้นความคิด (จิต) เป็นเครื่องมือในการวิจัย มีความเป็นนามธรรมจึงมีความยากในการสร้างเครื่องมือมาวัดพอสมควร จากการศึกษาพบว่า หลักสติปัฏฐานเป็นรูปแบบอบรม ฝึกฝน หรือการบริหารจิตที่ถูกต้อง (เป็นทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ) เป็นวิธีวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในทุกระระดับ ในทุกยุคทุกสมัย ตราบเท่าที่มนุษย์ยังต้องอาศัยปัญญา ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่างขับเคลื่อนสังคม

จากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า สุขภาวะทางปัญญาตามหลักสติปัฎฐานมีค่าไอเกน (Eigenvalue) มากกว่า 1.00 โดยด้านกาย สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้มากที่สุดร้อยละ 31.45 ส่วนความรู้สึก (เวทนา) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.66 ด้านจิต (ความคิด) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.00 และด้านธรรม (ปัญญา) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.71 โดยทุกองค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 47.83 ซึ่งอธิบายได้ว่า มนุษย์แสดงพฤติกรรม (กาย) ภายใต้ความรู้สึกเป็นด้านหลักในชีวิตประจำวันซึ่งสังเกตเห็นได้ง่าย ดังนั้นกิจกรรมใดที่เกี่ยวกับความรู้สึก จึงได้รับความตอบสนองเร็ว ความสุขมักตอบสนองในด้านนี้เป็นด้านหลัก ส่วนจิตในฐานะเป็นศูนย์รวมรองรับความรู้สึกต่างๆ จากความจริงการระบบการศึกษา หรือความจริงของชิวิตประจำวัน มักเน้นวัตถุ หรือเครื่องมือศึกษาอยู่ที่วัตถุภายนอก (กาย) อาการที่จิตรองรับความรู้สึกต่างๆ แล้วแปรผลเป็นพฤติกรรมนั้น จึงมีอาการไหวไหลตามความรู้สึกต่าง ความสุขมักอิงกับความรู้สึกโดยมีสิ่งเร้าคอยเป็นอาหารกระตุ้น การได้ครอบครองสิ่งเร้า เป็นตัวชี้วัดว่า สุข อาการจึงไหลหรือขึ้นลงตามสิ่งเร้า ในทางตรงกันข้าม หากจิตมีการบริหาร โดยมีสติเป็นเครื่องมือคอยเฝ้าตามระวัง จิตจะตื่นรู้คอยประเมินผลรายงานจิต มีท่าทีหันหัวขบวนไม่ไหลตามความรู้สึก การบริหารจิตให้มีพลังพร้อมดึงปัญญา (ธรรม) มาขับเคลื่อนพฤติกรรม สังคม และประเทศนั้น เป็นความท้าทาย เพราะอาการที่จิตมีโปรตีนทางธรรม เป็นกระบวนการของจิตและปัญญาเสริมส่งระหว่างกัน จึงเป็นจิตตื่นรู้ และเป็นตัวชี้วัดสุขภาวะของมนุษย์

สติปัฏฐาน จึงเป็นนวัตกรรมทางจิต ที่ผู้วิจัยพัฒนาเป็นรูปแบบชุดกิจกรรมบริหารจิต (พัฒนา) ได้ทดลองใช้กับกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เพื่อยืนยันว่า สติปัฏฐานเป็นนวัตกรรมทางจิตที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างแท้จริง สอดคล้องสังคมยุค 4.0 การพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน เป็นมรรควิธีสร้างสุขภาวะแก่มนุษยชาติ เป็นได้ทั้งในส่วนของการพัฒนาคุณภาพของอารมณ์ (EQ) และปัญญา (IQ) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสุขภาวะทางปัญญาด้วยหลักสติปัฏฐานหลังทดลองใช้กิกรรมที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( =1.63df=1 p=.20 GFI=0.99 AGFI=0.97 CFI=0.99 RMSEA=0.04 RMR=0.00 CN=1393.36) ซึ่งทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาด้วยหลักสติปัฏฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของของสุขภาวะทางปัญญาหลังใช้ชุดกิจกรรมทั้งโดยรวมและทุกด้านคือ ด้านกาย ด้านความรู้สึก (เวทนา) ด้านจิต (ความคิด) และด้านธรรม (ปัญญา) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

โดย... 

ผศ.ดร.ชมพู โกติรัมย์

วิทยาลัยดุสิตธานี