นโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมืองท่องเที่ยว (ตอนที่ 2)

นโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมืองท่องเที่ยว (ตอนที่ 2)

ในบทความครั้งที่แล้วได้กล่าวถึง การจัดกลุ่มเมืองท่องเที่ยวตามประสิทธิภาพของการจัดการท่องเที่ยว

ดยการใช้ดัชนีที่วัดศักยภาพ ด้านดีมานด์และซัพพลาย บนพื้นฐานของตัวแปรทั้งสิ้น 72 ตัวชี้วัด เมื่อได้ศักยภาพแล้วใช้วิธีศึกษา Data Envelopment Analysis (DEA) หาประสิทธิภาพเพื่อดูว่าแต่ละจังหวัดใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน และจังหวัดใดควรเน้นการใช้นโยบายเจ้าบ้าน (Supply) จังหวัดใดควรใช้นโยบายตลาดเพื่อกระตุ้นดีมานด์ (Demand) ผลปรากฏดังตาราง ดังที่เคยเสนอผล 2 กลุ่มแรกไปแล้ว

นโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมืองท่องเที่ยว (ตอนที่ 2)

กลุ่มที่ 3 เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสามารถตอบรับกับตลาดในประเทศ และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีทั้งหมด 8 จังหวัด (ดูตารางที่ 1) กลุ่มนี้ใช้นโยบายเช่นเดียวกับที่หนึ่ง คือ เฝ้าระวังในระยะสั้นและเตรียมเพิ่มขีดความสามารถด้านการรองรับ โดยเฉพาะด้านการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในระยะยาว

กลุ่มที่ 4 จังหวัดที่มีศักยภาพเหมาะกับตลาดไทย แต่ยังอาจเพิ่มรายได้ได้อีกจากการกระตุ้นตลาด กลุ่มนี้มี 17 จังหวัด (ดูตารางที่ 1) เป็นกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาทต่อปี แต่ยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างการรองรับอยู่บ้าง ตัวอย่างที่โดดเด่น เช่น เพชรบูรณ์ ตาก พิษณุโลก พัทลุง จันทบุรี เลย สุพรรณบุรี พะเยา เป็นต้น

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่ต้องเน้นการใช้กำลังรองรับที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น มี 5 จังหวัดด้วยกัน ที่โดดเด่น ได้แก่ ลำปาง สุโขทัย และสมุทรปราการ ที่ยังมีปัญหาการใช้สาธารณูปโภค การรองรับของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ไม่เต็มศักยภาพ ทั้งนี้อาจเกิดจากคอขวดการเชื่อมต่อระหว่างห่วงโซ่ หรือปัญหาเชิงสถาบัน เป็นต้น ในจังหวัดสมุทรปราการนั้น มีสาธารณูปโภคด้านการขนส่งทางอากาศดีมาก แต่จะต้องเพิ่มกลยุทธ์ด้านการเชื่อต่อทางบกเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด หรือการอนุญาตให้นักท่องเที่ยว Transit ออกไปนอกสนามบิน ตลอดจนการสร้างสิ่งดึงดูดใจและการรักษาสิ่งแวดล้อมและการรองรับด้านที่พักให้มากขึ้นอีกด้วย ส่วนลำปาง ต้องยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล และเพิ่มการรองรับของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

กลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ทางนโยบายเจ้าบ้านและนโยบายตลาดไปพร้อมๆ กัน แต่ควรเน้นด้านการจัดการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ มี 26 จังหวัด (ดูตารางที่ 1) ในกลุ่มนี้จะมีจังหวัดที่เป็นปริมณฑลของกรุงเทพมหานครถึง 6 จังหวัด

การศึกษาในครั้งนี้ก็ยืนยันได้ว่า การวางนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองต้องห้าม...พลาด และเมืองต้องห้าม...พลาด พลัส ของรัฐบาลนั้นมีความเหมาะสมกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของเมืองรอง เพราะนโยบายเมืองต้องห้าม...พลาด และเมืองต้องห้าม...พลาด พลัส เป็นนโยบายตลาด ซึ่งในการศึกษาของเราพบว่าจังหวัดเหล่านี้ (* และ **) อยู่ในกลุ่มที่ 4 และกลุ่มที่ 6 ซึ่งต้องใช้นโยบายตลาด

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ยังมิได้วิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของการทำนโยบายส่งเสริมรายพื้นที่ และผู้วางนโยบายอีกครั้งหนึ่ง การโปรโมทการท่องเที่ยวยุค 4.0 ต้องอาศัยทั้งข้อมูล การวิเคราะห์ และประสบการณ์เชื่อมโยงกันจึงจะไปถึงเป้าหมาย