ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แนวคิดใหม่ในแบบ Coro Field 

ท่องเที่ยวเชิงเกษตร แนวคิดใหม่ในแบบ Coro Field 

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการบริหารจัดการกิจกรรมการเกษตรให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ทางการเกษตร

และชื่นชมทัศนียภาพที่โดดเด่น หรือเป็นรูปแบบที่มีลักษณะดียวกับการท่องเที่ยวฟาร์ม (Farm Tourism)

รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับการท่องฟาร์มเกษตรเพิ่มมากขึ้น แต่ในปัจจุบันยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในยุคปัจุบันได้ จึงเป็นที่มาให้ คุณมิตรดนัย สถาวรมณี และคุณพันดนัย สถาวรมณี ซึ่งมีประสบการณ์ในการเกษตรมาจากเดิมที่ธุรกิจทางบ้านทำเกี่ยวกับปุ๋ย จึงตั้งใจอยากทำฟาร์มในวิถีของตนเอง ซึ่งใช้วิถีทันสมัยด้วยการใช้โรงเรือนเพาะปลูก มีการนำระบบอัฉริยะเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการภายในฟาร์ม เพื่อให้เกิประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในปัจจุบันในมีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น

โดยกลยุทธ์ที่ทาง Coro Field ใช้ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นเอกลักษณ์ที่สอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพโดยเริ่มจาก

หนึ่ง มุ่งเน้นการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจด้านกษตร และด้วยเหตุนี้จึงตั้งชื่อฟาร์มว่า โคโร ฟิลด์ (Coro Field) ที่มาจากหลักความคิดว่า Coro หมายถึง “เวลา” และ Field หมายถึง “ทุ่งกว้าง” ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นการปลูกแล้วขาย แต่ต้องการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาดื่มด่ำในทุ้งกว้าง หรือหมายถึง สนามสีเขียวที่จะทำให้เวลาของคุณเดินช้าลง ตามสโลแกน “เราไม่ได้แค่ปลูก แต่เราสร้างแรงบันดาลใจ” จึงถือว่าฟาร์มแห่งนี้ครบเครื่องมากกว่าฟาร์มทั่วไป

สอง การให้ความสำคัญผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและคนในการทำงานร่วมกัน Coro Field มีนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมมาใช้ร่วมกับความรู้ด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาโรงเพาะปลูก อีกทั้งยังการอบรมพนักงานทุกคนในฟาร์มให้เคารพต้นไม้ทุกต้น ให้เคารพกระทั้งต้นหญ้า อีกทั้งห้ามพนักงานเรียกต้นไม้ว่า “มัน” และห้ามมีการปล่อยให้เหี่ยวแห้งเด็ดขาด จึงทำให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฟาร์มท่องเที่ยวร่วมกัน

สาม การสร้างตลาดและสร้างมูลค่าทางการตลาด โดย การเริ่มทำสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มีใครทำ และเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ มีการเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรที่น่าสนใจและทันสมัย โดยจะไม่มองว่าต้นไม้และผลไม้ที่ปลูกในฟาร์มเป็นเพียงต้นไม้ แต่มองเป็นเหมือนการเลี้ยงเด็กเล็กที่ต้องใช้ความดูแลเอาใจใส่ ต้องมีพี่เลี้ยงที่ดูแลเป็นอย่างดี ด้วยความใส่ใจ อีกทั้งกระบวนการเยี่ยมชมฟาร์มเมื่อนักท่องเที่ยวต้องการเข้าเยี่ยมชมในแปลงปลูกต้องมีการเปลี่ยนชุด เปลี่ยนรองเท้า และผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนด้วย ทำให้ผู้เยี่ยมชมฟาร์มเข้าใจถึงความใส่ที่ฟาร์มมีให้ต้นไม้ทุกต้น

สี่ การสร้างความรู้ควบคู่กับประสบการณ์ โดยมีการจัดกิจกรรมภายในฟาร์ม ซึ่งกิจกรรมในการให้ความรู้ด้านการเพาะปลูกเป็นอีกอันหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ และเข้าใจถึงคุณค่าของสินค้าด้านการเกษตรเพิ่มมากขึ้นด้วย

ห้า แตกต่างผ่านทาง แนวคิด Limited edition โดยที่ Coro Field มีหลักการเลือกชนิดของพืชเพื่อมาปลูกที่ฟาร์มมีสองข้อหลักๆคือ เลือกปลูกพืชที่ชอบ และสองต้องเป็นพืชที่ทำได้จริงปลูกได้ต่อเนื่องและไม่ใช่ว่าใครก็ปลูกได้

หก สร้างเรื่องราว Coro Field เลือกที่จะสร้างแบรนด์ผ่านทาง CEO Branding โดยมีรูปแบบการโฆษณาฟาร์มโดยใช้วิถีการเล่าเรื่องผ่านประวัติของเจ้าของฟาร์ม ซึ่งคือคุณมิตรดนัย สถาวรมณี และคุณพันดนัย สถาวรมณี ทั้งสองท่านเป็นพี่สองที่ร่วมกันก่อตั้งฟาร์มนี้ขึ้นมา โดยการเล่าเรื่องจะมีชื่อเรือกว่า “Coro Brother” ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และคุ้นเคยใกล้ชิดกับ Coro Field

กรณีศึกษา Coro Field สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวใหม่ โดยอาศัยความรู้ด้านการเกษตรกรรมและประสบการณ์มาผสมผสานกับนวัตกรรม โดยใช้จุดแข็งขององค์ความรู้ด้านการเกษตร มาให้สร้างคุณค่าผ่านทางการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เน้นการจัดกิจกรรมให้มีรูปแบบที่ตอบโจทย์เฉพาะลูกค้าที่สนใจให้เข้าถึงได้และได้รับประโยชน์ทั้งด้านวิศวกรรมการเกษตรและความเพลิดเพลินในการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน

------------------

เครดิตกรณีศึกษา Coro Field โดยคุณ สิริญา ไตรโชค นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการธุรกิจ (ตรีควบโท) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล