กฎหมายและเทคโนโลยีทางการเงิน 2019 (I)

กฎหมายและเทคโนโลยีทางการเงิน 2019 (I)

สำหรับผู้เขียน ในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่กฎหมายได้รับอิทธิผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จึงไม่แปลกที่เราได้เห็นการปรับปรุง

เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมในยุคเศรษฐกิดิจิทัล

ฉบับนี้ผู้เขียนจึงตั้งใจรวบรวมทิศทางของกฎหมายและเทคโนโลยีทางการเงินในปี 2019 ดังนี้

1.“Sharing Economy ยังคงไปต่อและจะหลอมรวมภาคการเงินเข้าเป็นส่วนหนึ่ง” ในช่วงปีที่ผ่านมา Sharing economy หรือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่อาศัยการทำงานของเทคโนโลยีหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อความต้องการระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเข้าไว้ด้วยกัน (เช่น การให้บริการผ่าน website หรือ Application ต่าง ๆ) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หลายธุรกิจที่ผ่านมา สามารถสร้างรายได้มหาศาลโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้าง assets ใดๆ ใหม่ เช่น Airbnb ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างโรงแรม หรือ Uber บริษัทที่ให้บริการเครือข่ายคมนาคมขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อยานพาหนะเป็นของตัวเอง

หนึ่งในสาเหตุที่ธุรกิจภายใต้แนวคิดแบบ Sharing economy เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องเคลื่อนตัวไม่เร็วเท่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลายธุรกิจสามารถเข้าไปในตลาดได้ก่อนที่ภาครัฐจะกำหนดกฎระเบียบเพื่อกำกับดูแล

ดั้งนั้น ธุรกิจภายใต้คอนเซ็ปต์ Sharing Economy จึงเป็นธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) และสร้างโอกาสให้มีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามาทดลองตลาดได้เสมอ (Low barrier to entry) ผู้เขียนเชื่อว่าในปี 2019 จะเห็นความร่วมมือแบบข้าม Sector ระหว่างกลุ่มธุรกิจเดิมกับกลุ่มธุรกิจการเงิน (Cross-sector Collaboration) เช่น ในปีที่ผ่าน Grab ได้เปิด Financial Platform โดยทำสัญญาร่วมค้า (JV) กับบริษัทสินเชื่อในญี่ปุ่นและบริษัทประกันภัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการด้านการเงินแบบครบวงจรผ่าน Application และล่าสุด Grab ยังร่วมมือกับธนาคารในประเทศไทยเพื่อพัฒนา Application ที่ใช้ในการชำระเงินและธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกัน

2.“รูปแบบของ Mobile E-payment จะถูกพัฒนาเพื่อให้แทรกซึมเข้าถึง lifestyle ของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น” กล่าวคือ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยตลอดปี 2018 ชี้ให้เห็นว่ายอดการใช้ Mobile payment เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และมีบัญชีเงินฝากจำนวนมากที่ลงทะเบียนสมัครใช้บริการ Mobile banking เช่นเดียวกัน ยอดการใช้ E-wallet มีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ให้บริการในปัจจุบันได้ลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ลง และสร้างแรงจูงใจโดยการเพิ่มโปรโมชั่นให้มากขึ้น โดยความร่วมมือแบบ Cross-sector ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น ความร่วมมือของ Line-Rabbit-AIS

อย่างไรก็ดี ในทางกลับกัน ยอดการทำธุรกรรมผ่านสาขาของธนาคาร,ตู้ ATM, Internet banking และตู้เติมเงิน ได้มีปริมาณที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับผู้เขียน เชื่อว่าในปี 2019 รูปแบบและช่องทางของ E-payment จะหลากหลายมากขึ้น เราจะได้เห็นการพัฒนาต่อยอดของระบบ QR Payment (หรือ QR Code) ที่ใช้แยกรายธนาคาร ในปัจจุบัน ถูกพัฒนาให้ใช้ข้ามธนาคารได้ และการพัฒนาไปสู่ระบบการชำระเงินแบบ QR Credit Card ที่ผู้ใช้สามารถสแกนชำระเงินผ่านระบบ QR ได้โดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรเครดิต

นอกจากนี้ ช่องทางการชำระเงินแบบใหม่ ๆ เช่น Voice payment หรือการทำธุรกรรมทางการเงินโดยวิธีการสั่งการด้วยเสียงจะเริ่มมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร Santander ในอังกฤษ และ ธนาคาร Oversea-Chinese Banking Corporation (OCBC) ของสิงคโปร์ที่ได้พัฒนาช่องทางการชำระเงิน โอนเงิน และตรวจสอบยอดการใช้จ่ายของบัตรเครดิต โดยวิธีการสั่งการด้วยเสียงผ่านบน Siri และ iMessage

ดังนั้น สิ่งที่จะได้เห็นในปี 2019 คือ การพัฒนาของผู้ให้บริการทางการเงินที่จะ Blend-In การให้บริการเข้าไปในชีวิตประจำวันของผู้รับบริการให้ได้มากที่สุด ด้วยการแทรกซึม platform ของธนาคารไว้กับระบบปฏิบัติการบนมือถือ หรือ Application ต่าง ๆ เพื่อลดการเปลี่ยนหน้าจอไปมาเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินใน Application ของธนาคารที่แยกออกมาต่างหากอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3.AI จะมีบทบาทที่หลากหลาย และเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจการเงินในยุค Big data” ในปีผ่านมาบทบาทที่เด่นชัดของ AI คือ การช่วยให้ธุรกิจการเงินเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ดังนั้น หน้าที่หลักของ AI คือ การทำหน้าที่เป็นระบบหลังบ้านของสถาบันการเงินในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในด้านต่าง ๆ

 ตัวอย่างเช่น AI-Based loan Screening ของกลุ่มธุรกิจการเงิน Mitsubishi UFJ ที่จะใช้ AI เพื่อทำ Credit scoring ในการให้สินเชื่อกับ SME ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากในระยะแรก ข้อมูลทางการเงินบางอย่างอาจยังไม่ปรากฎชัดใน financial statements ดังนั้น AI จึงมีหน้าที่หาข้อมูลอื่น ๆ ของ SME ประกอบ (เช่น ข้อมูล cash flows, ข้อการจ่ายเงินเดือนและบิลของ SME) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อ

นอกจากนี้ บทบาทของ AI ในอนาคตจะไม่จำกัดอยู่ที่การทำ Credit rating/scoring เพียงเท่านั้น แต่จะขยายผลไปถึงการทำงานในลักษณะ Prediction analytics ที่สถาบันการเงินและองค์กรธุรกิจจะนำ AI มาใช้เพื่อป้องกันการทำทุจริตทางการเงิน (Fraud Analytics) ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า AI จะถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมอันต้องสงสัยของทั้งพนักงานและลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ

ตัวอย่างเช่น บริษัท Hitachi-Omron Terminal Solutions ของญี่ปุ่น จะนำ AI-based ATM เพื่อป้องกันการทำทุจริตผ่านตู้ ATM มาใช้ในปี 2019 โดย ATM ดังกล่าวได้มีการติดกล้องจำนวนมากเพื่อจับภาพและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ โดยหากผู้ใช้มีพฤติกรรมอันต้องสงสัย เช่น มีการปิดบังใบหน้า (แว่นตา/หน้ากาก) หรือใช้โทรศัพท์ในขณะกด ATM ระบบจะทำการระงับธุรกรรมในทันที

โดยฟังก์ชั่นที่สำคัญของ AI-Based ATM คือ การใส่ระบบเรียนรู้ (Self-learning) และระบบตัดสินใจด้วยตนเองไว้ใน ATM ทุกเครื่อง เพื่อให้ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้รายก่อน ๆ และนำมาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ว่าในกรณีใดบ้างที่ ตู้ ATM ควรระงับหรืออนุญาตในการทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM ได้

ดังนั้น ด้วย AI ตู้ ATM ในอนาคตจึงเป็นมากกว่าตู้ ATM ธรรมดาที่มีระบบปฏิบัติการตามคำสั่งเพียงชั้นเดียวอย่างเช่นในปัจจุบัน โดยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการทุจริตในทางการเงินได้อีกประการหนึ่งด้วย

ในส่วนของ Trend ที่เหลือนั้น ผู้เขียนจะอธิบายต่อในฉบับหน้า … TBC

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน]