แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียู เชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป

แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียู เชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป

สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ Connecting Europe and Asia: the EU Strategy เมื่อ 19 ก.ย. 2561 มีเป้าหมายเพื่อ

สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียและยุโรป อาจเรียกได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ Connectivity ฉบับแรกของยุโรปต่อภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นผลักกัน concept เรื่อง sustainable connectivity เป็นสำคัญ

ยุโรปออกยุทธศาสตร์ Connectivity ฉบับนี้มาเพื่ออะไร และมีเป้าหมายอะไรในเอเชีย?

แม้ยุโรปไม่ได้ประกาศออกมาตรงๆ ว่ายุทธศาสตร์ฉบับนี้เป็นแผนตอบรับต่อบทบาทและอิทธิพลของจีนในภูมิภาคผ่านนโยบาย Belt and Road Initiative ของประธานาธิบดี Xi Jinping (ซึ่งถูกมองว่าเป็นโยบายด้านการเมืองการต่างประเทศแบบหนึ่ง แม้จะไม่ได้ประกาศออกมาตรงๆ เช่นกัน)

แต่นักวิเคราะห์ก็เห็นด้วยว่า ยุโรปไม่สามารถเพิกเผยต่อบทบาทและอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียและในโลกที่กำลังแผยแพร่ผ่านนโยบาย Belt and Road Initiative แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียูฉบับนี้จึงมีขึ้นเพื่อต้านทานบทบาทของจีนดังกล่าว และวางแผนว่ายุโรปจะมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียได้อย่างไร

Sustainable connectivity ในมุมมองของยุโรป

แน่นอนเมื่อพูดถึงความเชื่อมโยง เรามันจะนึกถึงเรื่องการสร้างระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมระหว่างกันก่อน ในโลกปัจจุบันการเชื่อมโยงคงไม่ใช่แค่ผ่านถนน การบิน การถไฟ การเดินเรือ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกของการไหลเวียนของสินค้า บริการ ในระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก แต่ยุโรปมีมุมมองเรื่องการเชื่อโยงที่กว้างขวางไปกว่านั้น คือรวมไปถึงเรื่องการสร้งเครือข่ายด้านพลังงาน ด้านดิจิตอล และด้านทรัพยากรมนุษย์

แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียู เชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป

นาง Federica Mogherini ตำแหน่ง High Representative on Foreign Policy หรือเทียบเท่ารัฐมนตรีต่างประเทศของยุโรป เมื่อกล่าวเปิดตัวยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นการเชื่อมโยงกันอย่างความยั่งยืนหรือ sustainable connectivity ในมุมมองของยุโรป ให้ความสำคัญกับเรื่องกรอบกฎระเบียบที่โปร่งใสและอำนวยความสะดวกต่อการค้าการลงทุน บรรยากาศที่ส่งเสริมการทำธรุกิจ มีความรับผิดชอบด้านการเงิน และส่งเสริมตลาดเสรีแบบเปิด ที่สำคัญใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม นาง Federica Mogherini มองว่าหากเราสามารถสร้างความเชื่อมโยงที่ยั่งยืนนี้ได้ ประชาชนของเราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสทางการศึกษา และเกิดการแลกเปลี่ยนด้านวิจัยและวัฒนธธรรมระหว่างสองภูมิภาค

ยุโรปให้ความมั่นใจว่า ยุโรปพร้อมเดินหน้าส่งเสริม sustainable connectivity โดยยกตัวอย่างโครงการใหญ่ๆ ที่ยุโรปให้การสนับสนุนอยู่แล้วในเอเชียเพื่อสร้างความเชื่อมโยงดังกล่าว และพร้อมเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความเชื่องโยงด้านการคมนาคม ด้านพลังงาน ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านดิจิตอล ซึ่งมีส่วนในการสร้างความเชื่องโยงระหว่างสังคมและภูมิภาคทั้งสอง โดยเน้นความแข็งแร่งของยุโรป 4 ประกาศ ได้แก่ 1) ยุโรปที่เป็นตลาดเดียว 2) ประสบการณ์ในการเชื่อมโยงเครือข่ายข้ามพรมแดน 3) การสร้างพันธมิตร ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี และ 4) กรอบการเงินที่พร้อมสำหรับการขยายการลงทุน

ทั้งนี้ ยุโรปพร้อมจะรวบรวมทรัพยากรด้านการเงินสำหรับโครงการใหญ่ต่างๆ จากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับพหุพาคี และภาคเอกชนต่างๆ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความสำเร็จของแผนการของประธานคณะกรรมาธิการยุโรป Junker ที่มีโอกาสในการเคลื่อนย้ายการลงทุนได้มากถึง 500 billion ยูโร และแผนการลงทุนในต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรือ EU's External Investment Plan ที่สามารถเคลื่อนย้ายการลงทุนได้ถึง 44 billion ยูโร งบประมาณเหล่านี้ สื่อถึงความมุ่งมั่นของยุโรปในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในยุโรปและนอกภูมิภาค

จุดเริ่มต้นสำคัญของโอกาสการสร้างความเชื่องระหว่างเอเชียและยุโรปน่าจะเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำ Asia-Europe Meeting (ASEM) ครั้งต่อไป 18-19 ต.ค. ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งพร้อมไปกับการพบปะกันของผู้นำก็มีการสร้างความเชื่อมโยงผ่านการประชุมของกลุ่มอื่นๆ พร้อมกันด้วย

แผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียู เชื่อมโยงเอเชีย-ยุโรป

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรของรัฐสภา ใน 10th Asia-Europe Parliamentary Partnership Meeting (ASEP10) กลุ่มสื่อมวลชน ใน 9th ASEF Editors' Roundtable (ASEFERT9) กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาใน 3rd ASEF Young Leaders Summit (ASEFYLS3) กลุ่มสหภาพแรงงาน ใน Asia-Europe Labour Forum (AELF) กลุ่มนักวิจัยด้านเศรษฐกิจ ใน 15th Asia Europe Economic Forum (AEEF15) กลุ่มนักธุรกิจและบริษัทเอกชนใน 15th Asia-Europe Business Forum (AEBF15) กลุ่มภาคประชาสังคมและนักเคลื่อนไหว ใน 12th Asia-Europe Peoples Forum (AEPF12) ที่สำคัญงานด้านวัฒนธรรม ASEM Cultural Festival ที่จัด ณ กรุงบรัสเซสล์จะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของสองภูมิภาค หรือ People-to-People ให้แน่นแฟ้นขึ้น เพราะการเชื่อมโยงและการสร้างความเข้าอกเข้าใจกันในลักษณะ soft connectivity เป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสและความเชื่อมโยงในด้านอื่นๆ ของสองภูมิภาค ที่ยิ่งต้องเร่งสร้างให้เน้นแฟ้นขึ้นในกระโลกโลกปัจจุบัน