นักการเมืองกับการใช้โซเชียลมีเดีย

นักการเมืองกับการใช้โซเชียลมีเดีย

ประเทศไทย มีประชาชนที่ใช้อินเทอร์เนต 45,189,944 ราย ข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)

(ข้อมูล ณ วันที่ 6 ก.ค. 2561) มี การใช้ social media ยอดนิยม คือ youtube 98.8% ฉิดเฉียวไลน์ 98.6% เฟซบุ๊ค 69.0% เมสเซนเจอร์ 88.4% อินสตราแกรม 67.2% พันทิพ 64.2% ทวิตเตอร์ 43.0% และ วอทแอป 10.6% (ข้อมูลจากสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือสพธอ. ณ วันที่ 25 ก.ค. 2561) 

เห็นได้ว่า ดิจิทัล ทูลส์ มีบทบาทสําคัญในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ “นักการเมือง” ก็เป็นกลุ่มประชากรหนึ่งที่มีความจําเป็นในการเชื่อมโยงกับประชาชนในการที่จะทราบ ข้อมูล ปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นจริง

ดังนั้น นักการเมือง จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือ เครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับประชาชนในเขตที่ตนอาสาเข้ามารับใช้ หลัง่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา บวกกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีประกาศคลายล็อก ให้พรรคการเมืองทํากิจกรรมการเมืองได้บางส่วน 

ที่บอกว่าบางส่วน เพราะว่ายังจํากัดบางเรื่องเช่น คําสั่งข้อที่ 6 ห้ามหาเสียงผ่านโซเชียลมีเดีย ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่คงต้องถกเถียงกัน แต่อีกด้านของบรรยากาศทางการเือง ก็ทําให้กลุ่มการเมืองเริ่มเตรียมตัวเข้าสู่การเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก เนื่องจากห่างหายการเลือกตั้งไปนานร่วม 8 ปี โดยมี Platform ของโซเชียลที่นักการเมืองไทยเราใช้มาก เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ ยูทูป ทวิตเตอร์ 

เมื่อใช้โปรแกรม SocialBakers ที่ฝรั่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า ซึ่งสามารถนํามาใช้ได้ในทางการเมือง Digital Politics ว่าผู้สมัครคู่แข่งได้ทําอะไรไปบ้าง ทําให้เรารู้ว่าเรา ควรจะต้องปรับปรุงอะไร และเมื่อสแกนดูอันดับว่า นักการเมืองไทยแต่ละท่านมียอดผู้ติดตามในการใช้โซเชียลแต่ละแพลตฟอร์มจํานวนเท่าไร (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.ย. 2561) 10 อันดับแรกปรากฏว่า เพจของอดีตนายกยิ่งลักษณ์ มีผู้ติดตามมากที่สุด จํานวน 6 ล้านเศษ ตามด้วยเพจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.7 ล้านและท่านอื่น ๆ ตามลําดับ

ทั้งนี้ หากดูจากข้อมูลจะพบว่า มีแต่เพจของนักการเมืองส่วนบุคคล ส่วนเพจของพรรคประชาธิปัตย์ก็ติดอยู่ใน Top 10 ในลําดับที่ 5 มีผู้ติดตาม ถึง 680,336 คน ผมจึงไปค้นหาเพจของพรรคคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย พบมีผู้ติดตามอยู่ 122,721 คน ตามภาพ ส่วนอันดับ 8 และ 9 ที่ไม่เห็นในตารางเพราะผมได้ตัดออกไป เนื่องจากเป็นเพจที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการเมือง

ทั้งนี้ การที่จะให้เพจของตนมีผู้ติดตามได้มากและยังคงติดตามต่อไปได้นั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ contents หรือเนื้อหาในเพจนั่นเอง ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ทําให้มีผู้ติดตามเพจเช่น ความชอบเป็นการส่วนตัว หรือ นําเสนอสิ่งที่ผู้ติดตามสนใจ นโยบายทางการเมืองที่ถูกใจและความสมํ่าเสมอของการโพสต์เป็นต้น ติดตามอันดับของนักการเมืองไทยที่เกี่ยวกับไลน์@ - YouTube – Twitter

นักการเมืองกับการใช้โซเชียลมีเดีย

อีกด้าน เมื่อศึกษาผู้นําประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ กลับเกิดคำถามว่าทําไมสมเด็จ ฮุนเซน ผู้นําพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งทั้งประเทศ มีประชากรเพียง 16 ล้านคน มีตัวเลขผู้มีสิทธิออกเสียง 8 ล้านกว่าคน แต่ทําไมสมเด็จฮุนเซน จึงสามารถสร้างผู้ติดตามในเฟซบุ๊คถึง 10 กว่าล้านคนได้ ซึ่งเมื่อเราเข้าไปดูเนื้อหาในเพจ ก็นับได้ว่าแอดมินเพจทําได้ดีกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการโพสต์ข้อความ วีดีโอ มีการเข้าชมพร้อมทั้งการแชร์ที่มีอัตราสูง เมื่อดูจํานวนประชากรเทียบกับไทยที่มีประชากรถึง 65 ล้านกว่า มีผู้ใช้อินเตอร์เนตมากกว่า 45 ล้านราย

ยอดรวมจำนวนผู้ติดตามของสมเด็จฮุนเซน สูงกว่าเกือบ 21 เท่า ส่วนเนื้อหาและรูปแบบการโพสต์(ของเดือน มิ.ย.2561) ของสมเด็จฮุนเซน 170 โพสต์ แต่ของพล.อ.ประยุทธ์ 1 โพสต์ ส่วนจำนวนการมีปฏิสัมพันธ์ เช่นการกดไลค์  คอมเม้นท์หรือการแชร์ต่อจำนวนผู้ติดตามต่อ 1,000 ราย ของสมเด็จฮุนเซน มี 200.74 ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นศูนย์ 

เรื่องนี้ก็ต้องฝากผู้เกี่ยวข้องนําไปพิจารณาเนื่องจากดูงบประมาณตั้งไว้สําหรับการประชาสัมพันธ์สูง แต่ผลลัพธ์ข้างต้น ซึ่งเฟซบุ๊คเพจก็เป็นเพียง 1 ในหลายแพลตฟอร์มยังทําได้แค่นี้ ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง หน้าตาของประเทศควรใส่ใจให้มากกว่านี้

 

ดร.สุรินทร์ บำรุงผล
เจ้าของและผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนไทยแลนด์ดิจิทัลเวิลด์