บริษัทจดทะเบียนฯกับการทำ ICO

บริษัทจดทะเบียนฯกับการทำ ICO

   บริษัทฯจดทะเบียนจะมีเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นและมีต้นทุนดำเนินการที่ต่ำลง   

ด้วยจุดเริ่มต้นและคอนเซบท์ของการทำ ICO ถูกออกแบบมาเพื่อระดมทุนให้กับบริษัทขนาดเล็กหรือสตาร์ทอัพเป็นหลักแต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นออกมาทำ ICO ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะบริษัทฯในประเทศไทย

เนื่องจากพรก.สินทรัพย์ดิจิทัลที่ประกาศใช้เป็นที่เรียบร้อยโดยสำนักงานกลต.ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่ากฎเกณฑ์ต่างๆค่อนข้างเอื้อต่อการที่บริษัทขนาดใหญ่จะเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนจากการที่ใช้พรบ.หลักทรัพย์เป็นต้นแบบในการออกกฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ซึ่งมีความละเอียดและขั้นตอนในการยื่นขอระดมทุนมากกว่าวิธีการทำ ICO ในปัจจุบันนอกจากนี้ยังมีเกณฑ์เรื่องของมูลค่าระดมทุนที่ทำได้ไม่เกิน4เท่าของทุนจดทะเบียนและการจำกัดว่าต้องเป็นกิจการที่มีรายได้อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

ลองมาดูกันว่าปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนฯมีเครื่องมือในการระดมทุนอย่างไรบ้างและการทำ ICO จะตอบโจทย์ได้หรือไม่

หากอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้หรือว่าตั๋วบีอีจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าที่ปรึกษาทางการเงินรวมถึงต้นทุนเรื่องของดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ผู้ถือหุ้นกู้ตามการจัดอันดับเรทติ้งแต่หากเลือกจะระดมทุนเพิ่มเติมด้วยการทำ ICO จะไม่มีต้นทุนในเรื่องของดอกเบี้ยจะเสียเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการระดมทุนเท่านั้น

รวมถึงการขายหุ้นเพิ่มทุนทั้งแบบ RO และ PP ซึ่งปกติจะเกิด Dilution Effect ด้านลบเช่นต้องรบกวนผู้ถือหุ้นมาช่วยซื้อหุ้นเพิ่มและต้องเสียสัดส่วนของหุ้นไปหากไม่ได้ชำระหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนแต่หากทำ ICO ก็เพียงแค่เสนอขาย Token ให้กับบุคคลในวงจำกัดหรือทั่วไปจะไม่เกิด Dilution Effect

นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนยังมีทางเลือกในการออก ICO ในรูปแบบ Securities Token หรือมีสินทรัพย์หนุนหลังได้โดยเฉพาะบริษัทฯที่อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้แทนกอง REIT ได้แม้ขั้นตอนการระดมทุนจะยากกว่าแบบ Utilities Token แต่ข้อได้เปรียบในเรื่องเงินทุนและประสบการณ์ของบริษัทฯจดทะเบียนไม่น่าจะเป็นอุปสรรคมากนัก

จากที่กล่าวมานี้เห็นได้ว่าบริษัทฯจดทะเบียนจะมีเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นแถมยังมีต้นทุนดำเนินการที่ต่ำลงไม่นับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีการนำTokenไปใช้ใน Eco System ทางธุรกิจของตัวเองในต่างประเทศเราเริ่มเห็นบริษัทขนาดใหญ่เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในธุรกิจของตัวเองมากขึ้นแม้จะยังไม่ขยายไปถึงการใช้ Crypto ก็ตามแต่เชื่อได้ว่าประเทศไทยเองก็น่าเดินไปในทิศทางเดียวกันจากการที่มีกฎหมายรองรับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเป็นทางการ

ขณะเดียวกันธุรกิจตัวกลางซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือว่า Exchange ก็ได้รับความสนใจจากบริษัทหลักทรัพย์หรือนายหน้าซื้อขายหุ้นด้วยเช่นกันประเทศไทยจึงน่าจะเป็นศูนย์กลางของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ไม่ยาก 

อย่างไรก็ตามโดยเจตนาของการระดมทุนแบบ ICO คือช่องทางการขยายธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีเงินทุนและทรัพยากรจำกัดหากประเทศไทยจะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทางการควรจะเข้ามาสนับสนุนให้สตาร์ทอัพได้ใช้เครื่องมือดังกล่าวให้ได้ประโยชน์ด้วย

ด้วยกฎระเบียบแบบแผนปฎิบัติต่างๆที่เน้นการระดมทุนที่มีคุณภาพไม่ใช่หวังมาหลอกลวงระยะสั้นผมเชื่อว่าสำนักงานกลต.ได้เดินมาถูกทางแล้วขอเพียงเพิ่มแนวทางการสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาประเทศไทยน่าจะขึ้นชั้นเป็น ICO Heaven แห่งหนึ่งของโลกได้ครับ