โค่นป่า“ใจแผ่นดิน” วิกฤติน้ำเขื่อนแก่งกระจาน

โค่นป่า“ใจแผ่นดิน”  วิกฤติน้ำเขื่อนแก่งกระจาน

น้ำป่า ไหลลงสู่เขื่อนแก่งกระจานอย่างรวดเร็ว นอกจากปัจจัยเรื่องพายุ และร่องมรสุม ยังพบว่า ลึกเข้าไปถึง “ใจแผ่นดิน”

ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ถูกโค่นทำลาย โดยชนกลุ่มน้อย เมื่อฝนตกลงมา น้ำป่าจึงไหลลงมาอย่างรวดเร็ว

การโค่นป่าจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญของวิกฤติน้ำเขื่อนแก่งกระจาน ให้คนเมืองเพชรบุรี ต้องรับเคราะห์

จากการบินสำรวจเริ่มจากบ้านโป่งลึก-บางกลอย จุดนี้จะเห็นสะพานแขวนโป่งลึก ที่นี่คือชุมชน บ้านโป่งลึกบางกลอย” ของผู้เฒ่าคออี้

ผ่านขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปที่ผาใหญ่ ห้วยเต่าดำ เริ่มพบการบุกรุก พบเพิงพักสองจุด จุดแรก อยู่กลางแปลงบุกรุก จุดสอง ดูจากหลักค่า เพิ่งจะปลูกใหม่ นักบินต้องบินวน จึงจะมองเห็นกระท่อม ซ่อนอยู่ใต้ต้นไม้

จากห้วยเต่าดำ บินขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือ ที่เรียกว่า ใจแผ่นดิน” จะเห็นป่าบริเวณนี้ เป็น “ไผ่ป่า นั่นคือเป็นบริเวณพื้นที่ ที่มีการเข้ามาบุกรุก ปลูก ข้าว พริก และกัญชา จะเห็นว่า ป่าไม่มีการใช้ซ้ำ

พฤติกรรม คือ เข้ามาเปิดป่า แล้วปลูกเพิงพัก ไว้พักแค่เพียงฤดูกาลเพาะปลูก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว จะอพยพไปที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า แล้วโค่นป่าเปิดพื้นที่ใหม่ ตามมาด้วยการเผาต้นไม้ใหญ่ที่โคนลง ทำแบบนี้เป็นวัฏจักร ตัวการที่ทำให้ป่าเสื่อมโทรม

บริเวณป่าต้นน้ำแก่งกระจาน จึงไม่เหลือสภาพป่าดิบชื้น ดิบเขา แหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของคนเพชรบุรีและคนประจวบคีรีขันธ์

นอกจาก ใจแผ่นดิน ยังพบ 5 จุดบุกรุก อยู่ต่ำลงมา ทางใต้ คือ ห้วยสามแพ่ง จุดนี้ใกล้ชายแดนไม่ถึง 1 กิโลเมตร

จากภาพ “ป่า” ถูกเจาะเป็นแผล สภาพต้นไม้ถูกโค่น มันเป็นเช่นเดียวกัน เหมือนทุกๆ ปี และทุกๆ แปลง แสดงให้เห็นว่า ป่าที่มีคนกลุ่มหนึ่งอ้างว่า อยู่แบบชาวปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง หรือ กะหร่าง นั้น ไม่ใช่อีกต่อไป

ภาพต่างๆ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นี่คือการเข้ามาบุกรุก โคนป่าเพื่อปลูกพืช และแอบเข้ามา ใช้พื้นที่ป่า ในประเทศไทย อย่างผิดกฎหมาย มิใช่ ข้ออ้างเป็นที่ทำกินดั้งเดิม อีกแล้ว

สิ้นสงสัยเสียทีว่า สาเหตุน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะน้ำป่าไหลลงสู่เขื่อนได้รวดเร็ว มาจากป่าถูกบุกรุก การเปิดพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ในเขตป่าต้นน้ำเพชรบุรี ฝนที่ตกลงมา แม้จะไม่มาก การที่ป่าถูกเปิด ป่าจึงไม่สามารถ เก็บ ซับน้ำ ไว้ได้ เมื่อฝนตก น้ำฝน จึงไหลลงตามแม่น้ำเพชร เข้าเขื่อนอย่างรวดเร็ว จนปริมาณน้ำเข้าเติมเต็มน้ำเขื่อนเร็วกว่าปกติ

โดย... รักษ์ มนตรี