กทปส.ส่งเสริมวิทยุกระจายเสียงเอเอ็ม ข้อมูลข่าวสารเพื่อชนเผ่า

กทปส.ส่งเสริมวิทยุกระจายเสียงเอเอ็ม ข้อมูลข่าวสารเพื่อชนเผ่า

ทบาทสำคัญในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม คือ การดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ครอบคลุมและทั่วทุกพื้นที่

รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การพัฒนาบุคลาการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) สนับสนุน โครงการพัฒนาการสื่อสารการส่งกระจายเสียงวิทยุภาคภาษาชนเผ่า7 ชนเผ่า ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ดำเนินงานโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่(สวท.เชียงใหม่) ผ่านระบบA.M. 1476กิโลเฮิรตซ์ (KHz) ภาคภาษาชนเผ่า 

วัตถุประสงค์สำคัญ คือเพื่อพัฒนาเนื้อหารายการวิทยุภาคภาษาชนเผ่า ส่งเสริมและคุ้มครองผู้ด้อยโอกาสทางสังคมที่อยู่ตามพื้นที่สูงให้มีโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการพัฒนาผู้จัดรายการภาคภาษาชนเผ่าให้มีความสร้างสรรค์ในการจัดรายการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง มีมาตรฐานทางจริยธรรม เปิดพื้นที่สื่อให้ประชาชนทุกชนเผ่าได้แสดงความคิดเห็น เผยแพร่วิถีวัฒนธรรม ประเพณีชนเผ่าสู่สาธารณะ รวมทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพช่องทางการสื่อสารตามนโยบายรัฐบาลผ่านวิทยุกระจายเสียงระบบA.M. 1476กิโลเฮิรตซ์ (KHz) เพื่อให้ประชาชน ทั้ง 7 ชนเผ่าประกอบด้วย ม้ง (แม้ว) เมี่ยน (เย้า) ลีซู (ลีซอ) ปเกอญอ (กะเหรี่ยง) อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) และไทใหญ่ รวมทั้งอีก 2 ชนเผ่า ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คือ ประหล่อง และคะฉิ่นให้ได้รับบริการด้านการกระจายเสียงอย่างทั่วถึง และขยายผลการรับฟังทางช่องทางสื่อสมัยใหม่ หรือออนไลน์ไปยังพื้นที่อื่นๆ 

สำหรับ สวท.เชียงใหม่ ในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์ ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ.2511 ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ เพื่อทำหน้าที่สื่อสารและสร้างความเข้าใจกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยบนภูเขา ตามแนวชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย โดยรัฐบาลสหรัฐสนับสนุนเครื่องส่งกำลังสูงถึง 100 กิโลวัตต์ ส่งกระจายเสียงระบบAM ความถี่ 1476 KHz ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนม่า จีนตอนใต้ลาว และเวียตนาม ซึ่งในยุคเริ่มต้น สวท.เชียงใหม่ ถือเป็นสถานีวิทยุเพื่อชาวเขาแห่งแรกในภาคพื้นเอเชียที่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานและองค์กรระหว่างประเทศ ออกอากาศ 3 ภาษา ได้แก่ ม้ง เมี่ยน และกระเหรี่ยง ต่อมาได้ขยายการออกอากาศเพื่อให้ได้ครอบคลุม ทั้ง 7 ภาษาชนเผ่า ที่มีในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ม้ง เมี่ยน ลีซูกระเหรี่ยง อาข่า ลาหู่ และไทใหญ่ ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 1 ล้านคน 

วิทยุภาคภาษาชนเผ่า สวท.เชียงใหม่ จึงกลายเป็นจุดศึกษาและแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งด้านการส่งกระจายเสียงภาษาชนเผ่าและการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารกลายเป็นปัจจัยสำคัญในทุกระดับ ท่ามกลางวิถีทางสังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลาย

กทปส.ส่งเสริมวิทยุกระจายเสียงเอเอ็ม ข้อมูลข่าวสารเพื่อชนเผ่า

แต่ จากสภาพของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ที่ใช้งานมานานกว่า 40 ปี และมีเพียงเครื่องเดียว เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ คลื่นกระจายเสียงลดต่ำไปมาก จากที่เคยส่งกระจายเสียงออกอากาศสูงถึง 100 กิโลวัตต์ ปัจจุบันลดลง 50 กิโลวัตต์ บางช่วงกำลังส่งลดลงเหลือเพียง 30-40 กิโลวัตต์เท่านั้น รวมถึงในบางครั้ง เครื่องส่งคลื่นก็ขัดข้องชำรุดใช้งานไม่ได้ เกิดจุดบอดในการรับฟังรายการในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อการรับฟังข่าวสารที่เป็นประโยชน์ของประชาชนอย่างมาก

กทปส. เล็งเห็นว่า การสื่อสารของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่อาศัยในพื้นแผ่นดินไทย ในฐานะประชาชนคนไทยหรือคนชายขอบยังเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วยข้อจำกัดด้านภูมิประเทศที่อยู่ห่างไกลกว่า 60% ที่ไม่รู้ภาษาไทยทำให้คนเหล่านี้เข้าไม่ถึงบริการสาธารณะต่างๆขณะเดียวกันการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อกระแสหลักที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งยังมีบางสื่อนำเสนอข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงลบ สร้างอคติทางเชื้อชาติและยังกล่าวหากลุ่มชาติพันธุ์เป็นอันตรายต่อความมั่นของประเทศ ดังนั้น การเข้ามาให้ทุนสนับสนุนของ กทปส. จึงมีความจำเป็นในการทดแทนเครื่องเก่าที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน

 นางสาวกนกรัตน์ ปัญญา นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สวท.เชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า“การเผยแพร่ข่าวสารทางวิทยุภาคภาษาชนเผ่าของสวท. เชียงใหม่ ระบุว่าการสำรวจและสอบถามกลุ่มชนเผ่าหลังได้รับการสนับสนุน ที่นอกจาการกระจายคลื่นสามารถส่งไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งลาวเชียงตุงและเมียนมาแล้ว ยังพบว่า หากวันใดที่พวกเขาไม่ได้เสียงดีเจหรือฟังรายการ เหมือนไม่ได้กินข้าวไปหนึ่งมื้อ เหมือนขาดอะไรไปในชีวิตประจำวัน อย่างคนเฒ่าคนแก่ใครพูดอะไรจะไม่เชื่อแต่เมื่อฟังจากรายการและดีเจกลุ่มนี้เชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างดี  ส่วนผู้ฟังภาษาไทใหญ่ในภาคเหนือ ที่มีประมาณ 100,000 กว่าคน แต่ยังไม่รวมถึงที่อยู่และฟังในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างรัฐชาน เมียนมา จีน มาเลเซียซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาสามารถรับฟังผ่านช่องทางออนไลน์จากทางเว็บไซต์ของ สวท.เชียงใหม่ รวมถึงฟังผ่านรายการสดทางเพจรายการในเฟซบุ๊ค ซึ่งช่องทางดังกล่าวจะมีเพียงกลุ่มเด็กรุ่นใหม่เท่านั้นที่เข้ารับฟังได้ แต่คนรุ่นเก่าและไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ตามบ้านยังคงยืนยันการรับฟังรายการผ่านทางวิทยุภาคภาษาชนเผ่าของสวท. เชียงใหม่”

 สำหรับโครงการพัฒนาการสื่อสารการส่งกระจายเสียงวิทยุภาคภาษาชนเผ่า ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นโครงการที่ สวท.เชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กทปส. ภายใต้ 4 กิจกรรม ทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มทักษะการผลิตรายการวิทยุภาคภาษาชนเผ่าให้กับผู้จัดรายการและเครือข่าย9กลุ่มชาติพันธุ์ การพัฒนาระบบการส่งกระจายเสียงเพื่อให้พี่น้องชนเผ่าได้รับการบริการที่คลอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งทางระบบ on line และระบบA.M.1476 รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารให้ทั่วถึงและยั่งยืนต่อไป

โดย... กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)