โทษประหารชีวิต..ในพุทธศาสนา !!

โทษประหารชีวิต..ในพุทธศาสนา !!

เจริญพรสัตบุรุษผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระสัทธรรม .. กระแสสังคมในโลกที่เวิ้งว้างไร้แก่นสาร มีเรื่องราวให้พูดคุยถกแถลงกันไม่เคยหมดสิ้น

ดังเรื่องพระห้ามรับ .. ให้รับทองเงิน หรือยินดีที่มีผู้รับเก็บรักษาไว้แทนตน ยังไม่ทันปิดสรุป เรื่องประหารหรือไม่ควรประหารชีวิตก็เกิดขึ้นมาแทนอย่างรวดเร็ว เล่นเอาสาธุชนทั้งหลายมึนงงกับฤทธิ์เดชโลกยุคไอที

วันนี้มีคาปรารภเข้ามาจากสาธุชนท่านหนึ่งเกี่ยวกับกระแสเรื่องโทษประหารชีวิต ที่กาลังมาแรงแซงเรื่องพระ หลังจากว่างเว้นมานาน ๙ ปี จึงมีทั้งกระแสต่อต้านว่า รุนแรง ป่าเถื่อน โหดร้าย และเป็นการถอยหลังทางสิทธิมนุษยชน และกระแสตอบรับอย่างสะใจ... โดยมีความเห็นว่า ถูกแล้ว ดีแล้ว ต่อการลงโทษประหารชีวิต คนชั่วๆ จะได้หมดไป แถมฝากคาพูดถึงอีกฝ่ายว่า... หากใครอยากได้สิทธิมนุษยชนนัก ก็เอานักโทษไปเลี้ยงที่บ้านด้วยสิ..!!!

อาตมาจึงปุจฉากลับไปว่า แล้วโยมมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ! ....ก็ได้รับคาตอบกลับมาว่า คงต้องมองเรื่องดังกล่าวอย่างกลางๆ คือ ไม่โน้มเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้ยอมรับในโทษประหารชีวิตว่าเป็นทางออกที่ดี แต่เมื่อมองโดยรวมของประเทศเราที่ยังเลือกที่จะมีกฎหมายโทษประหารชีวิตอยู่ ก็ต้องมีเหตุผลว่า เพื่อป้องกันสังคมส่วนใหญ่ให้ดารงอยู่ในสันติสุข จึงยังคงกฎหมายในเรื่องประหารชีวิตไว้ ซึ่งคงต้องเคารพในกฎหมาย แต่ขั้นตอนการพิจารณาคดีเพื่อนาไปสู่การชี้โทษประหารชีวิตนั้น ผู้มีหน้าที่ทางกฎหมายควรจะต้องมีหลักการพิจารณาที่ละเอียดมากขึ้น ต้องมองดูอย่างถี่ถ้วนในทุกด้านก่อนจะตัดสินใจสั่งประหารหรือไม่สั่งประหาร ซึ่งแม้โทษประหารชีวิตจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับการมีอยู่เพื่อการเลือกใช้ หากจาเป็นที่ต้องใช้ ก็ควรใช้อย่างมีคุณธรรมและความรอบรู้ ที่จะต้องมุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมภาคสังคมจริงๆ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการชาระความแค้น .. หรือเสียงเรียกร้องจากอารมณ์ที่เกลียดชังดังที่ปรากฏ สาหรับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องกล่าวอ้างกันนั้นในบริบทสังคมบ้านเรายังไม่เหมือนต่างประเทศ... แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสังคมมีความพร้อมมากขึ้น การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้คงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด.... ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างออกมาเอะอะโวยวายกัน มาชวนทะเลาะกัน จนเสียสติขาดปัญญา ควรสงบอารมณ์มองดูปัญหาอย่างมีสติปัญญา มาช่วยกันคิดหาทางเลือกอื่นให้กับสังคม หรือคิดมามาตรการป้องกันสังคมให้พ้นจากภัยทั้งปวง อันเกิดจากการกระทาด้วยน้ามือของคนในสังคมด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินไปจนถึงจุดดังกล่าว ...ดีกว่ามานั่งด่าว่ากันเองว่า ฝ่ายหนึ่งป่าเถื่อน .. อีกฝ่ายหนึ่งโลกสวย

อาตมาได้เจริญพรว่า ตามที่ศึกษามา ในพุทธศาสนาจะไม่ล่วงเข้าไปวิพากษ์กฎหมายของบ้านเมือง เพราะเป็นบัญญัติของทางโลกที่สมาชิกในสังคมต้องยอมรับ เพื่อการดารงอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งทางพุทธศาสนาให้การยอมรับในหลักการเป็นอยู่ที่ต้องสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อย่างมีเอกภาพ เพื่อสันติสุขของสมาชิกในสังคม... โดยพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที จึงสอดคล้องกับการ

บังคับใช้กฎหมายของทางโลกที่ยึดหลักเจตนาเป็นตัวบ่งชี้ของกรรม .. จะได้ผลดีชั่วจึงอยู่ที่เจตนาแห่งการกระทานั้นๆ แม้ที่สุดโทษสูงสุดอย่างประหารชีวิตทางกฎหมาย ก็ต้องพิจารณาเจตนาเป็นสาคัญ...

แม้ในพุทธศาสนาของเราก็มีการประหารชีวิตเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันโดยวิธีการประหาร ดังปรากฏเรื่องดังกล่าวในเกสีสูตร เมื่อพระพุทธองค์ทรงถามนายเกสีสารถีผู้ฝึกม้าว่า เธอฝึกหัดม้าอย่างไร ? นายเกสีกราบทูลว่า ฝึกม้าละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง หรือละม่อมและรุนแรงบ้าง และหากไม่สามารถฝึกหัดโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังกล่าวได้ ก็ฆ่าทิ้งเสีย เพื่อไม่ให้เป็นโทษแก่สกุลอาจารย์ของตน

นายเกสีได้กราบทูลถามว่า “พระพุทธองค์ ได้ชื่อว่า เป็นสารถีฝึกบุรุษอันเยี่ยม ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างไร”

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “เราฝึกแบบเธอ โดยละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ละม่อมและรุนแรงบ้าง ถ้าบุรุษที่เราฝึก ไม่เข้าถึงวิธีการฝึกวิธีใดวิธีหนึ่ง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย

นายเกสีได้ทูลถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นไม่ผิดศีลปาณาติปาตาหรือ...

พระพุทธองค์ตรัสตอบโดยสรุปว่า “พระตถาคตไม่สาคัญบุรุษที่ควรฝึก .. ควรว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป...” หมายถึง การชักสะพานออก ไม่สั่งสอนว่ากล่าวอีกต่อไป.. คือ การประหาร/ฆ่าในพระศาสนานี้..

เจริญพร