รู้จักช่องทางการตลาดออนไลน์ของจีน ตอน 3(จบ)

รู้จักช่องทางการตลาดออนไลน์ของจีน ตอน 3(จบ)

ท่านผู้อ่านที่เป็น FC ของคอลัมน์นี้ คงได้ทำความรู้จักช่องทางการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียและ Search Engine มาแล้ว วันนี้มาทำความรู้

 วันนี้มาทำความรู้จักช่องทางการตลาดออนไลน์ลำดับสุดท้ายกันค่ะ

5.สำหรับกลุ่มสุดท้ายเป็นผู้ให้บริการกลุ่มอื่นๆ ได้แก่

1Youku/Tudou/Qiyi เป็น VDO แบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ถูกแชร์ไว้บนช่องทาง Online VDO (เหมือน Youtube) จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถประชาสัมพันธ์เมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทาง Online VDO เหล่านี้ยังนิยมนำละครและภาพยนตร์ไทยมาให้บริการแก่ผู้ชมชาวจีน ดังนั้น หากมีการสร้างเนื้อหา และคัดเลือกผู้แสดงที่อยู่ในความสนใจของคนจีน ก็สามารถเลือกใช้ช่องทางนี้ในการประชาสัมพันธ์ โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำมากในการนำขึ้นระบบ

2.Wechat องค์กร (NEWS On Mobile) ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนเป็นจำนวนมาก ก่อนการเดินทางมาถึงประเทศไทยจะพึ่งพาอาศัยช่องทาง wechat องค์กรของสำนักข่าวต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นจากคนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นเครื่องมือในการติดตามข่าวสารสำคัญต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อวางแผนเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจกระทบต่อการวางแผนการท่องเที่ยวได้ เช่น เชียงใหม่ Times (清迈 Times) Siam flying Bird (暹罗飞鸟) เชียงใหม่ headline (清迈头条) และในข่าวสารที่เป็นข้อมูลต่างๆ ก็จะมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหรือบริษัทนำเที่ยวมานำเสนอบริการอยู่ในช่องข่าวออนไลน์เหล่านี้ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเลือกใช้บริการได้

3.Wantu (玩途)/Jimu (积木)/Huanyouji (环游记)/ชิงไม่กงเลี่ย (清迈攻略) เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจ Mobile OTA ในประเทศจีน ทำให้ startup business ขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากเลือกใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ในการสร้างธุรกิจ โดยเลือกใช้ประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่สร้างธุรกิจและสร้างชื่อเสียงให้กับนักท่องเที่ยวจีนเป็นที่รู้จัก และดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของตนไปใช้ เพราะบริษัทเหล่านี้จะมีทั้งการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ตลอดจนทริปการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเสนอขายแก่นักท่องเที่ยวจีน

โดยช่องทางประเภทอื่นๆ ที่ถูกใช้เพื่อทำการตลาดออนไลน์การท่องเที่ยวจีนได้แก่ 1.เว็บวีดิโอ ตัวอย่างเช่น Youku Tudou และ Qiyi ซึ่งให้บริการในลักษณะเดียวกันกับ Youtube ทำให้มีทั้งผู้ให้บริการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวนำเอาภาพถ่ายวีดิโอขึ้นมาวางไว้บนเว็บไซต์เหล่านี้เพื่อให้ผู้ชมเข้ามาชม และหลายรายการที่เป็นการถ่ายทำหรือประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวก็นิยมใช้ช่องทางนี้ในการเผยแพร่ 2.ช่องทางข่าวผ่าน Smart Phone Application โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านช่องทาง Wechat องค์กร ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีคนจีนที่พำนักในประเทศไทยสร้างช่องทางข่าวให้บริการแก่คนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย หรือให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามา พร้อมๆ กับการใช้เป็นช่องทางให้บริการด้านการท่องเที่ยว 3.OTA Mobile Application ของ Startup business จีนในประเทศไทย ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดขึ้นมาสำหรับให้นักบริการนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์สร้างความรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย (ตลาดปลายทาง) และทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวกลายเป็นสมาชิกของบริษัทตน และใช้บริการ application ของบริษัทต่อไปในอนาคตเมื่อวางแผนการท่องเที่ยวครั้งใหม่ ตัวอย่างของ startup business ที่เป็น OTA Mobile Application เช่น Wantu Jumu เป็นต้น ทั้งนี้การวางแผนการตลาดท่องเที่ยวออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์การตลาดตลอดห่วงโซ่กิจกรรมการท่องเที่ยว

  รู้จักช่องทางการตลาดออนไลน์ของจีน ตอน 3(จบ)

รูปที่ 1. แสดงวงล้อการจัดการการให้บริการลูกค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว (E-CRM) ที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจีนบริหารจัดการผ่านเว็บไซต์หรือ Mobile Application ต่างๆ ซึ่งพบว่ากระบวนการจะเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการแบ่งปันข้อมูล การให้คำแนะนำ การวางแผนการท่องเที่ยว การค้นหา การจับจอง กิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยว การเดินทาง และการให้คะแนนหรือแสดงความคิดเห็นภายหลังการท่องเที่ยว

ด้วยช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ผู้ประกอบการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในเป้าหมายของแต่ละช่องทางเพื่อนำไปสู่การเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันต้องวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ตลอดจนสร้างความน่าสนใจในกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่ม SoLoMo จีน ซึ่งปัจจุบันแนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ตลอดจนการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการคือเนื้อหาจากผู้สร้าง UGC (User-Generated Content) ที่อาศัยการค้นหาความต้องการจากข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่ถูกผลิตขึ้นโดยนักท่องเที่ยวที่นำเอาประสบการณ์ท่องเที่ยวของตน ในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ มาแลกเปลี่ยนอยู่บน Application ท่องเที่ยว รวมถึงการบอกเล่าความพึงพอใจของการใช้บริการต่างๆ ข้อมูลดังกล่าวนับเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว ตลอดจนปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่อไป

(ที่มา : ข้อมูลจาก ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ โครงการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจีนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 4.0 สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.))